CLS-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CLS-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "การจัดการคลังสินค้า"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยีบาร์โค้ด กรณีศึกษาธุรกิจจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) พุมรินทร์ พรหมเพชรปัจจุบันธุรกิจจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีสินค้ารวมทั้งหมด 2,053 SKU ความถี่ในการหยิบสินค้า 50 ออเดอร์ ๆ ละ 20-100 SKU ขึ้นไปต่อวัน จากการทำงานพบปัญหาการหยิบสินค้าที่ผิดพลาดและขาดการบันทึกข้อมูลที่ถูกต้อง ทำให้ผู้วิจัยศึกษาและทดลองการนำเทคโนโลยีบาร์โค้ด เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดความผิดพลาด และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า เพื่อลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน เพิ่มความแม่นยำถูกต้องและรวดเร็ว ใช้งานร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ STOCK DATABASE แบบ REAL TIME และโปรแกรม RECHECK FORM เอกสารตรวจนับสินค้าอัตโนมัติ ที่จัดเก็บข้อมูลในระบบ SERVER ขององค์กรทำหน้าที่เชื่อมโยงกระจายข้อมูลให้ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลแบบ REAL TIME ไปใช้ประโยชน์ได้ และตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ งานวิจัยนี้ได้นำโปรแกรม STOCK DATABASE แบบ REAL TIME มาปรับปรุงขั้นตอนการทำงานรูปแบบใหม่สามารถลดกระบวนการทำงาน ลดช่องว่างของกระบวนการทำงานให้สั่นลง ลดเวลาการทำงานจากเดิมใช้เวลา 60 นาที เมื่อปรับปรุงการทำงานใหม่ใช้เวลาเหลือเพียง 25 นาที ลดค่าใช้จ่ายในการหยิบสินค้าที่ผิดพลาดก่อนปรับปรุงผิดพลาดจำนวน 151 ครั้ง เป็นเงิน 100,797 บาท หลังปรับปรุงผิดพลาด 45 ครั้ง เป็นเงิน 45,563 บาท เฉลี่ยประหยัดค่าใช้ได้จ่าย 55.24 % ซึ่งประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีบาร์โค้ดมาพัฒนาในการบริหารจัดการคลังสินค้าที่มีความแม่นยำสูงเหมาะสำหรับธุรกิจเพิ่งเริ่มต้นที่มีขนาดเล็ก หรือธุรกิจ SME เพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในการให้บริการได้อย่างมืออาชีพรายการ ารวางผังคลังสินค้าสำเร็จรูปด้วย ABC ANALYSIS กรณีศึกษา โรงงานผลิตผนังสำเร็จรูป(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ทรงศักดิ์ อยู่นานการวิจัยเรื่อง การวางผังคลังสินค้าสำเร็จรูปด้วย ABCAnalysis กรณีศึกษา โรงงานผลิตผนังสำเร็จรูป เพื่อศึกษารูปแบบการจัดผังคลังสินค้าสำเร็จรูปด้วย ABCAnalysis เพื่อเสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าสำเร็จรูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้นำ เอาการวิเคราะห์แผนผังสาเหตุและผล การวางผังสินค้า และเทคนิคการแบ่งกลุ่มสินค้าแบบ ABC Analysis ซึ่งเป็นเครื่องมือในการจัดแบ่งประเภทสินค้าและเลือกวิธีจัดเรียงแบบเคลื่อนไหวเร็ว, เคลื่อนไหวปานกลาง และเคลื่อนไหวช้าโดยนำเอาปริมาณการผลิตปี พ.ศ.2561 มาทำ การวิจัย และทำการเปรียบเทียบระหว่างการจัดเก็บสินค้าแบบปัจจุบันกับการจัดเก็บสินค้าแบบใหม่ ผลการวิจัยพบว่า ในการเตรียมสินค้าแบบปัจจุบัน เวลาที่พนักงานใช้ในการหยิบสินค้าค่าเฉลี่ยแต่ละ แร็คเท่ากับ 6.3 นาที และเมื่อนำการจัดวางผังคลังสินค้าแบบใหม่พร้อมกับการจัดกลุ่มสินค้าแบบ ABC Analysis เข้าไปปรับปรุงทำให้ค่าเฉลี่ยในการหยิบสินค้าเพื่อการจัดส่งแต่ละ แร็คเท่ากับ 4.3 นาที ซึ่งลดลง 2 นาที ต่อหนึ่งแร็ค คิดเป็นร้อยละ 31.36 ทั้งนี้ปัญหาพนักงานหยิบสินค้าไม่ตรงตามเอกสารการส่ง สาเหตุเกิดจากการที่สินค้าวางรวมกันหลายๆ ชนิด หลังจากมีการจัดกลุ่มสินค้าและวางผังคลังสินค้า ไม่มีการหยิบสินค้าผิด ให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจและมีความ นอกจากนี้จากการวิจัยยังพบว่ารายการสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวช้า ซึ่งได้ถูกจัดแบ่งไว้ในกลุ่ม C บางรายการไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นระยะเวลาเกินกว่า 365 วัน กลายเป็นสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหวทั้งนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้จัดทำเป็นรายงานนำเสนอผู้บริหาร