LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย เรื่อง "กฎหมาย"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิของคู่สัญญา กรณีทรัพย์ที่เช่าซื้อสูญหาย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) วีรพัฒน์ พลศรีสัญญาเช่าซื้อเป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่งในบรรพ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยตามมาตรา 572 วรรคแรก สัญญาเช่าซื้อคือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่าที่ควร เช่าซื้อเป็นสัญญาที่นิยมทำกันแพร่หลายในสังคมปัจจุบัน แต่โดยเหตุที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับโดยตรงกับสัญญาเช่าซื้อเพียงไม่กี่มาตรา ทำให้ต้องนำหลักกฎหมายอื่นมาปรับใช้กับนิติสัมพันธ์ของสัญญาเช่าซื้อด้วย ผู้เขียนจึงได้ทำการวิจัยจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติว่าด้วยสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดธุรกิจที่ควบคุมสัญญาและลักษณะของสัญญา พ.ศ. 2542 รวมทั้งหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมสถานออกกำลังกาย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) เรืองยศ ขันสุวรรณวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจสถานออกกำลังกายในประเทศไทยและแนวความคิดทางกฎหมายในการควบคุมกำกับธุรกิจสถานออกกำลังกายและมาตรการทางกฎหมายของไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้บริการสถานออกกำลังกาย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย รวมทั้งเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหากฎหมายในการควบคุมกำกับธุรกิจสถานออกกำลังกายและการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้สถานออกกำลังกาย ทั้งนี้ เพื่อได้แนวทางในการตรากฎหมายควบคุมกำกับธุรกิจสถานออกกำลังกายและการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้สถานออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในอนาคต โดยวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยเป็นการศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูลจากหนังสือ บทความ เอกสาร และวารสารกฎหมาย รวมทั้งศึกษากฎหมายของไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ตลอดจนคำวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องรายการ ปัญหากฏหมายเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศของไทย : ศึกษากรณีการส่งมอบ(2555-11-21T07:24:36Z) สวรินทร์ เสาวคนธ์ปัจจุบันการซื้อขายสินค้ามิได้จำกัดเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาการทำให้มีการติดต่อซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ดังนี้ เมื่อเกิดปัญหาหรือเกิดการผิดสัญญาในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ และเมื่อมีข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลไม่ว่าของประเทศใด มักเกิดปัญหาเกี่ยวกับการนำกฏหมายมาปรับใช้แก่ข้อพิพาทดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมาธิการว่าด้วยกฏหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (UNCITRAL) และตัวแทนของประเทศต่างๆ จึงได้ร่วมกันยกร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (CISG) ขึ้น เพื่อให้การซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศมีความเป็นเอกภาพ อนึ่ง บทบัญญัติของ CISG ดังกล่าวยังได้รับรองสถานะของธรรมเนียมปฏิบัติของคู่สัญญา เช่น INCOTERMS ซึ่งเกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้าอันเป็นกรณีที่วิทยานิพนธ์ฉบับนี้หยิบยกขึ้นมาศึกษาด้วย...