LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย เรื่อง "กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัญหาการกำหนดโทษทางอาญาและมาตรการในการสลายการชุมนุม ตามกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) ประภาดา ชอบชื่นชมพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 (Public Assembly Act B.E. 2558 (2015)) กำหนดให้การชุมนุมสาธารณะเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ (National Security) ความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety) ความสงบเรียบร้อย (Public Order) หรือศีลธรรมอันดี (Good Moral) ตลอดจนสุขอนามัยของประชาชน (Public Sanitation) หรือความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะและไม่กระทบกระเทือนสิทธิ เสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น แม้รัฐจะได้มีการตราพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ขึ้นมาเพื่อบังคับใช้เกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขและหลักข้อปฏิบัติต่างๆในการชุมนุมสาธารณะของผู้เข้าร่วมชุมนุมให้อยู่ภายใต้พื้นฐานอันเป็นระเบียบแบบแผนเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเพื่อสำหรับใช้บังคับและไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติกฎหมายอันเกี่ยวกับการกำหนดบทลงโทษใต้บังคับพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มีปัญหาในกรณีที่การชุมนุมสาธารณะเป็นสิทธิและเสรีภาพที่ประชาชนพึงมีและได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ แต่มีการกำหนดโทษทางอาญาสำหรับประชาชนผู้กระทำความผิดในการชุมนุมในที่สาธารณะ อีกทั้งการบัญญัติให้ผู้จัดการชุมนุมจะต้องรับโทษในความผิดที่ตนเองไม่ได้กระทำผิดโดยตรง ยังอาจเป็นการขัดต่อหลักกฎหมายอาญา (Principle of Criminal Law) รวมถึงมาตรการและวิธีการในการสลายการชุมนุมที่ไม่มีความชัดเจนซึ่งรัฐมิได้ตราเป็นบทบัญญัติที่ชัดเจนทั้งนี้ ความผิดอันเกิดจากการชุมนุมสาธารณะ ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบสังคมที่ไม่ได้มีลักษณะอันร้ายแรง จึงสามารถใช้วิธีการกำหนดโทษทางปกครอง (Administrative Sanction) ได้ ซึ่งการกำหนดโทษทางอาญา (Punishment) เช่น การระวางโทษปรับ (Penalty) หากผู้ฝ่าฝืนไม่ชำระค่าปรับจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ เพราะค่าปรับทางอาญานั้นมีฐานความคิดอันแตกต่างจากโทษปรับทางปกครอง ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนโทษปรับทางปกครอง ก็อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครอง (Administrative Enforcement Measure) ได้อย่างไรก็ตามการใช้โทษปรับทางปกครองมาบังคับแทนการลงโทษทางอาญากับการชุมนุมสาธารณะนั้น ยังถือเป็นสร้างหลักเกณฑ์ที่เป็นพัฒนาการทางกฎหมายโดยที่ผู้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายจากการชุมนุมสาธารณะสามารถมีโอกาสที่จะปรับปรุงและแก้ไขตนเองได้ ซึ่งจะเป็นการดีกว่าการใช้วิธีการกำหนดโทษทางอาญา การใช้โทษปรับทางปกครองมาบัญญัติไว้ในบทกำหนดโทษแทนโทษทางอาญาในกฎหมายการชุมนุมสาธารณะโดยตราบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558นั้น อาจก่อให้เกิดความเหมาะสมมากกว่าการกำหนดระวางโทษทางอาญา และยังเป็นวิธีการใช้บังคับกฎหมายที่ทำให้ประชาชนให้การยอมรับและเคารพต่อกฎหมายได้ดีกว่าการใช้โทษทางอาญา นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลให้การใช้บังคับกฎหมายมีความยืดหยุ่นและนุ่มนวลในการปฏิบัติต่อประชาชนมากยิ่งขึ้น