โครงสร้างใหม่ (v.2)
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู โครงสร้างใหม่ (v.2) โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 192
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กล้องและการถ่ายภาพ : หอจัดแสดงการบันทึกความทรงจำกับภาพถ่าย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) นนท์ นามมงคลในปัจจุบันการถ่ายภาพนับเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เป็นการบันทึกช่วงเวลาสำคัญที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น ถ่านเพื่อย้ำเตือนความจำ หรือถ่ายเพื่อการทำงานเองก็ตาม กล้องถ่ายภาพที่มีอยู่ในปัจจุบันเองนั้นก็มีความหลากหลาย ความเข้าใจในเรื่องของกล้องถ่ายภาพและการถ่ายภาพของแต่ละบุคคลนั้นไม่เท่ากัน ด้วยข้อจำกัดของกล้องและการใช้งานที่เป้นเอกลักษณ์ก่อให้เกิดพฤติกรรมการถ่ายภาพที่แตกต่างและน่าสนใจ จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของกล้องแต่ละชนิดและขั้นตอนการบัทึกภาพ รวมถึงวิธีการได้มาซึ่งภาพถ่ายทำให้ได้มาซึ่งประเภทของกล้องและรูปแบบวิธีการถ่ายภาพที่มีการใช้งานปัจจุบัน เพื่อนำมาออกแบบพื้นที่ใช้งานและตัวอาคารเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพและถ่ายภาพได้รายการ การก่อรูปของสถาปัตยกรรมตามพฤติกรรมมนุษย์ : โครงการคอนโดมิเนียม สำหรับกลุ่มผู้ใช้ชีวิตคนเดียว(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ชลธิชา สิงห์ตุ้ยการศึกษาในเรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการก่อรูปสถาปัตยกรรมจากหลักการอยู่คนเดียวและความสงบต้องการออกแบบพื้นที่ให้เป็นประโยชน์ในด้านการพักผ่อนร่างกายและจิตใจ สำหรับผู้มีความจำเป็นในการอยู่อาศัยคนเดียว เนื่องจากปัญหาจากพฤติกรรมของมนุษย์และเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยวิธีการศึกษาจากแนวคิด หลักการ หรือองค์ประกอบสำคัญของนิกายเชนเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการคิดและพัฒนาทดลองการก่อรูปสถาปัตยกรรมจากนามธรรมและรูปธรรม และศึกษาข้อมูลรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีความส่วนตัวและได้คิดวิธีการออกแบบที่นำเรื่อง ธรรมชาติ ความเรียบง่าย ความสงบ ความว่าง ตัวแปรหรือปัจจัยที่ที่ก่อให้เกิดความเป็นส่วนตัวเพื่อผลต่อการรับรู้ภายนอกและภายใน คือ การลดทอนระดับทาคาร ที่กำบัง ระดับของตัวอาคาร ช่องเปิด ระยะเว้นช่องส่วนบุคคล เพื่อหาความเป็นส่วนตัวมาใช้ในโครงการรายการ การก่อรูปสถาปัตยกรรมจากนามธรรม : โครงการช่วงเวลาแห่งการผ่อนคลายอย่างเซน(Sripatum University, 2565) ชวิศา พุ่มจันทร์การศึกษาในเรื่องของหลักนิกายเซนมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการก่อรูปสถาปัตยกรรมจากหลักปรัชญา ZEN และต้องการออกแบบพื้นที่ที่เป็นประโยชน์ในด้านการผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ สำหรับผู้ที่มีสภาวะความเครียดและบุคคลทั่วไป เนื่องจากปัญหาความเครียดของคนในปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นรายการ การจัดการขยะจากการก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน(2554-09-24T03:14:40Z) โชคดี ยี่แพร่งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการจัดการขยะจากการก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในโครงการ ก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะจากการก่อสร้าง 2) ศึกษากระบวนการจัดการขยะจากการก่อสร้าง และ 3) นำเสนอแนวทางในการจัดการขยะของ โครงการก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ผู้จัดการโครงการ วิศวกรโครงการ วิศวกรควบคุมงาน หรือบุคคลที่รับรู้สถานการณ์หน้างาน จาก โครงการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทอาคารพักอาศัย ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล โดยมีกลุ่มตัวอย่างในส่วนของการสัมภาษณ์จำนวน 30 ตัวอย่าง และในส่วนการออกแบบ สอบถามจำนวน 61 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาสัดส่วนของขยะที่เกิดจากวัสดุก่อสร้างแต่ละชนิด และสัดส่วนของขยะจากวัสดุ ก่อสร้างในการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษ 1 อาคาร พบว่าวัสดุกลุ่มบรรจุภัณฑ์ของวัสดุต่างๆ และ วัสดุกลุ่มไม้รูปพรรณ เป็นวัสดุที่ก่อให้เกิดขยะจากกระบวนการก่อสร้างมากที่สุด การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะจากการก่อสร้าง พบว่าสภาพปัญหาที่ทำให้เกิดขยะใน กระบวนการก่อสร้างแยกได้เป็น 2 สาเหตุหลัก คือ สภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารโครงการ และ สภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายปฏิบัติงาน โดยสภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารโครงการมีสาเหตุ สำคัญที่ทำให้เกิดขยะจากการก่อสร้างคือ การสื่อสารกับส่วนปฏิบัติงานไม่ชัดเจน และการขาดการ วางแผนงานก่อสร้าง ส่วนสภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายปฏิบัติงานมีสาเหตุหลักที่สำคัญคือ คนงานขาด ทักษะในการทำงาน และการแก้ไขงานเนื่องจากผลงานไม่ได้มาตรฐาน II จากการออกแบบสอบถามผู้จัดการโครงการแต่ละโครงการถึงการให้ระดับความสำคัญของ ขั้นตอนในกระบวนการจัดการขยะ พบว่าขั้นตอนที่โครงการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษให้ ความสำคัญมากที่สุดคือ การศึกษาแบบก่อนลงมือทำงาน และการสั่งงานที่ชัดเจน จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารโครงการเกี่ยวกับแนวทางการจัดการขยะจากการก่อสร้าง พบว่า แนวทางการจัดการขยะจากการก่อสร้างมี 12 แนวทาง ซึ่งเมื่อนำมาทำแบบสอบถามผู้จัดการโครงการ พบว่าแนวทางที่นำมาปฏิบัติแล้วเกิดประสิทธิภาพในการจัดการขยะมากที่สุดคือ การจัดทำแผนงาน ก่อสร้าง และการศึกษาแบบก่อนลงมือทำงาน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการลดปริมาณขยะจาก การก่อสร้างรายการ การจัดการใช้เครื่องทำน้ำเย็นในลานน้ำแข็งเพื่อการประหยัดพลังงาน(2554-09-24T08:04:13Z) ธนาธิษณ์ ห้าวหาญวิทยานิพนธ์นี้ได้รับการศึกษาระบบการทำงานของลานน้ำแข็ง ศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว เพื่อนำผลการศึกษามาใช้ในการลดพลังงานไฟฟ้า โดยกระบวนการศึกษา จัดแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกคือการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบการทำงานของลานน้ำแข็งรายการ การตรวจสอบอาคารด้านสถาปัตยกรรมเพื่อวางแผนป้องกัน(2554-09-24T09:29:40Z) สนาน ตันเฮงอาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 เป็นอาหารใหญ่พิเศษสูง 36 ชั้น มีพื้นที่รวม 118,000 ตารางเมตร ขออนุญาตก่อสร้างปี 2537 เริ่มใช้งานปี 2543 เปิดใช้งานมาเป็นเวลา 10 ปี ดำเนินธุรกิจเป็นสำนักงานให้เช่ารายการ การตีความพื้นที่ปฏิบัติธรรมสู่ สถาปัตยกรรมเจริญสติ : พื้นที่ภาวนา สติปัฏฐาน คนเมือง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) พิทักษ์ แก้วเพ็ชรการปฏิบัติธรรม ในการความเชื่อทางพระพุทธศาสนาถือเป็นแนวทางที่นำไปสู่ความสุขที่เป้นนิรันดร์ ในปัจจุบัน การปฏิบัติธรรม กลับกลายเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวจากคนรุ่นใหม่ สาเหตุหนึ่งนั้นมาจากการเข้าใจในความหมายของคำว่า ปฏิบัติธรรม บิดเบือนไปจากหลัก คำสอนของพระพุทธเจ้า และการเข้าถึงยากด้วยระเบียบและวิธีการ ในการปฏิบัติตนในสถานที่นั้นๆ จากการศึกษาประเด็นงานที่สนใจ ที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติธรรม และไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่นำไปสู่ข้อสรุปของโครงการที่คนรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงและเข้าใจความหมายของการปฏิบัติธรรม ได้โดยผ่าน space ที่ผ่านการตีความและให้ความหมายเชิงสัญลักษณ์ ที่สามารถรับรู้ด้วย ตา หู จมูก ผิวสัมผัสเพื่อง่ายต่อการสื่อสารต่อคนรุ่นใหม่รายการ การตีความสถาปัตยกรรมไทลื้อแบบร่วมสมัย : ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมไทลื้อจังหวัดน่าน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ปราญชลี เมืองมูลสถาปัตยกรรมเดิมที่มีความงามเฉพาะและสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ที่มีความทันสมัยเพื่อให้มีสถาปัตยกรรมที่อยู่ร่วมกันได้ จึงได้รวมสองประเด็นที่นำมาซึ่งห้วข้อการตีความสถาปัตยกรรมไทลื้อแบบร่วมสมัย ศึกษาสถาปัตยกรรมของชาวไทลื้อ ทั้งรูปทรง การจัดผัง การใช้งานและวัสดุของอาคาร จึงเกิดแนวความคิดกับคำว่า "ยืดหยุ่น" ของงานสถาปัตยกรรมไทลื้อที่มีการปรับเปลี่ยนได้ ทั้งการสร้าง การใช้งานอาคาร และวัสดุที่ใช้ในการสร้าง โดยนำมาถ่ายทอดในการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบใหม่รายการ การถักทอและสถาปัตยกรรม : ศูนย์วัฒนธรรมภูไทย ผ้าไหมแพรวา(Sripatum University, 2565) แพรพลอย โคตมูลปริญญานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์กระบวนการทอผ้าเป็นศิลปะหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์ในสมัยโบราณทำขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพื่อใช้ในการนุ่งหุ่ม โดยใช้จากทรัพยากรธรรมชาติที่หาได้ มนุษย์รู้จักการทำเชือกและตาข่ายที่เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรม โดยนำพืชที่มีใยมาฟั่นให้เป็นเชือกแล้วนำมาผูก หรือถักเป็นตาข่าย จากการถักก็พัฒนาขึ้นมาเป็นการทอใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้ได้ลวดลายที่สวยงาม และมีความ ทนทาน ใช้ในพิธีต่าง ๆรายการ การทดลองความขัดแย้งในงานสถาปัตยกรรม : พื้นที่ขัดแย้งทางองค์ประกอบและวัฒนธรรม(Sripatum University, 2565) มะหะหมัดเอาฟา โอมณีความขัดแย้งและซับซ้อนในงานสถาปัตยกรรมเริ่มเลือนลางไปจากรูปแบบงานสถาปัตยกรรมกระแสหลักสมัยใหม่ที่มักจะไม่ให้ความสำคัญกับความซับซ้อนของการปะทะกันระหว่างสถาปัตยกรรมที่มีประวัติศาตร์กับรูปแบบสถาบัตยกรรมสมัยใหม่แต่กลับไปยกย่องสิ่งที่เรียบง่ายและเป็นพื้นฐานการลดทอนแบบมักง่ายและละเลยความหลากหลายที่รุ่มรวยซับซ้อนไปอย่างน่าเสียดายดังนั้นผู้เขียนจึงสนใจในการศึกษาค้นคว้า วิจัยและวิเคราะห์ประเด็นในการทดลองเชิงสถาปัตยกรรมที่ถอดรูปแบบความขัดแย้งในงานสถาปัตยกรรมจากอดีต เชื่อมโยงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมรายการ การทดลองพื้นที่เกษตรภายใต้ข้อจำกัดของเมือง : โครงการชุมชนเกษตรแนวตั้ง(Sripatum University, 2565) รังสิมันตุ์ สารตันการผลิตอาหารในเมืองยังเป็นข้อจำกัดหนึ่งที่เมืองในปัจจุบันยังไม่สามารถที่จะทำได้ ทำให้เมืองต้องนำเข้าอาหารจากชนบท และนั่นอาจทำให้ความสดของผักเริ่มลดลงมากขึ้นจากการเดินทาง อีกทั้งลักษณะที่อยู่อาศัยที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อเกษตรกรรมในเมือง ดังนั้นผู้เขียนจึงสนใจตัวอย่างรูปแบบของลักษณะการทำงานที่อยู่อาศัยในชุมชนเกษตรของชนบทเพื่อมาเป็นแนวทางในการออกแบบเมื่อเข้าสู่สังคมเมือง ว่าลักษณะของชุมชนเกษตรจะสามารถเปลี่ยนไปในลักษณะใดได้บ้างจากข้อจำกัดต่างๆ ของเมือง ผู้เขียนจึงสนใจในการศึกษาค้นคว้าและทดลองเชิงสถาปัตยกรรมในการออกแบบเพื่อหาแนวทางในการออกแบบลักษณะที่อยู่อาศัยที่เรียกว่าชุมชนเกษตรที่อยู่ในเมืองในรูปแบบของสถาปัตยกรรมรายการ การนาโปรแกรมประยุกต์ใช้บนโทรศัพท์เคลื่อนที่แอนดรอยด์ มาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยอานวยความ สะดวกในการสื่อสาร และ การควบคุมงานก่อสร้าง ผ่านทาง อินเทอร์เน็ต : กรณีศึกษาบริษัท อ.ชาวสวน คอนสตรัคชั่น จำกัด(2557-11-20T12:11:25Z) โอปอล ไพรสณฑ์การศึกษานี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ การทดลองการนาโปรแกรมประยุกต์ใช้บนโทรศัพท์เคลื่อนที่แอนดรอยด์ มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยอานวยความสะดวกในการสื่อสาร และ การควบคุมงานก่อสร้างผ่านทาง อินเทอร์เน็ต :กรณีศึกษาบริษัท อ.ชาวสวน คอนสตรัคชั่น จำกัด เพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังจากการนาโปรแกรมประยุกต์ มาใช้เพื่อหาแนวทางใหม่ในการลดค่าใช้จ่าย ลดเวลา และทาให้การบริหารงานก่อสร้างทาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยผู้ศึกษาเลือกที่จะเปิดให้ทางผู้ปฎิบัติงานผู้ศึกษาได้ทาการทดลองให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆคือ กรรมการผู้จัดการ, วิศวกร, สถาปนิกและโฟร์แมน ทาการทดลองใช้งานเพื่อเลือกเพียง 1 Application ที่ได้คะแนนสูงสุดไปทาการทดลองตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน โดยผู้ใช้งานต้องสร้างข้อมูลและกาหนดค่าต่างๆขึ้นมาเองในค่าน้าหนัก (Weight) โดยการกาหนดค่าน้าหนักของเกณฑ์การวิเคราะห์ เพื่อให้ใช้งานง่ายไม่สลับซับซ้อน เหมาะกับผู้ร่วมงานส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ การศึกษานี้ยังได้มีการเปรียบเทียบกับ โปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่แอนดรอยด์ ซึ่งหลักการทางานและวิธีการใช้งานของตัวซอฟต์แวร์ดังกล่าวใกล้เคียงกันและ เพื่อนาข้อมูลที่ทาการศึกษาไปเป็นฐานข้อมูลในการบริหารจัดการ จากการศึกษาทดลองพบว่าจากการเปรียบเทียบหัวข้อดังต่อไปนี้คือ 1. ความเหมาะสมด้านราคา 2. COORDINATION 3. ความสะดวกในการใช้งานของบุคลากรในองค์กร โดยมีที่มาจากความนิยมของผู้ใช้ การดาวน์โหลดใน App Store การเลือกใช้ Application ที่ใช้ในด้านการสื่อสารและใช้ในการประสานงาน 1. Teamviwer 2. Remote System Moniter และ 3. Join me viewer พบว่า Teamviwer เหมาะสมและ มีประสิทธิภาพดีกว่า การเลือกใช้ Application ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารและติดตามการทางานของผู้ควบคุมงาน 1.Tango 2.Line 3.Skype พบว่าSkypeมีความ เหมาะสมและ มีประสิทธิภาพดีกว่า และการเลือกใช้ Application ที่ใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของงานก่อสร้างโดยใช้กล้อง IP Camera และเครื่องบันทึก AVTECH H.264 4 Channel DVR ซึ่งเครื่องบันทึกข้อมูลซึ่งต้องใช้Application เฉพาะรุ่นจึงจะสามารถอ่านไฟล์จากเครื่องบันทึกได้คือ Application ที่ชื่อว่า Eagle Eyes ดังนั้นในหัวข้อนี้จึงจาเป็นที่จะต้องใช้ Eagle Eyes ในการศึกษาทดลอง จึงไม่ได้มีการเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์หา Application ที่มีความเหมาสมกับการศึกษาทดลองนี้ จาดการทดลองครั้งนี้สามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการการบริหารจัดการโครงการนั้นโดยสามารถลดปัญหาหน้างานได้ ลดค่าใช้จ่าย ลดเวลา และทาให้การบริหารงานก่อสร้างทาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยให้ทั้งผู้ทาการศึกษา และผู้ที่สนใจสามารถนาความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการบริหารโครงการได้จริง และเกิดประโยชน์ในสายงานการบริหารงานก่อสร้าง โดยสามารถเปรียบเทียบผลก่อนและหลังทาการศึกษาดังนี้ 1 ไซด์ /1 เดือน ลดจานวนการเข้าไซด์ 8 ครั้ง / เดือน ลดเวลา 16 ชั่วโมงในการเดินทาง ลดค่าใช้จ่าย 4000 บาท ต่อ 1 ไซด์ ลดCost ได้เท่ากับ 33.34% ซึ่งในการทางานจริงจะทาพร้อมกัน 4 ไซด์ ลดจานวนการเข้าไซด์ 32 ครั้ง ลดเวลา 64 ชั่วโมง ลดเวลา 64 ชั่วโมง ใน 1 เดือน ซึ่งเป็นการเพิ่มแนวทางใหม่ โดยการเลือกใช้ต้องคานึงถึงความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้ด้วยรายการ การนำระบบ BIM ในการจัดทำแบบก่อสร้างจริง ส่วนงานระบบอาคาร (M&E AS BUILT DRAWINGS) กรณีศึกษาโครงการโรงแรม เวฟพัทยา(2557-11-18T08:58:03Z) ปัญญาพล จันทร์ดอนการศึกษานี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ หารทดลองนำระบบ BIM มาใช้ในการจัดทำแบบก่อสร้างจริงส่วนงานระบบอาคาร (M&E As Built Drawings) กรณีศึกษาโครงการโรงแรมเวฟพัทยาโดยผู้ศึกษาเลือก Software ที่เปิดให้ดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี จึงเลือก Software ที่ชื่อว่า Tekla BIMsight มาใช้ทำการศึกษาทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเทคโนโลยี BIM มาใช้ในการจัดทำแบบก่อสร้างจริง ส่วนงานระบบอาคาร เฉพาะงานระบบสุขาภิบาลซึ่งจะทำให้ทราบถึงข้อดีข้อเสียของการใช้ Tekla BIMsight ในการจัดทำแบบก่อสร้างจริงซึ่งพบว่า TeklaBIMsight มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลางเนื่องจาก Tekla Structure ซึงเป็น Software ที่เป็นฐานข้อมูลของ TeklaBIMsight เป็น Software สำหรับงานโครงสร้างอาคาร โดยเฉพาะโครงสร้างเหล็กเพราะในตัว Software เองมีข้อมูลสำเร็จรูปของเหล็กอย่างครบถ้วน ซึ่งในส่วนของระบบสุขาภิบาลตัว Software ไม่ข้อมูลสำเร็จรูปรองรับผู้ใช้งาน โดยผู้ใช้งานต้องสร้างข้อมูลโดยกำหนดค่าต่างๆขึ้นมาเองในส่วนงานระบบสุขาภิบาลทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้งานในส่วนนี้ แต่ข้อดีคือ TeklaBIMsight ใช้งานง่ายไม่สลับซับซ้อน เหมาะกับการ Review เพื่อตรวจสอบส่วนต่างๆของงานสุขาภิบาล การแสดงผลของ TeklaBIMsight จะแสดงผลในรูปแบบ 3 มิติเพื่อประโยชน์ในการวัดระยะต่างๆอีกทั้งยังสามารถ Note บันทึกตำแหน่งภาพหรือจุดต่างๆที่ต้องการใน Models แล้วส่งข้อมูลที่ Note ไปยังผู้ร่วมงานส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งทำเกิดความสะดาวกและเข้าใจได้ง่ายต่อผู้ใช้งาน และยังสามารถใช้งานบนแท็บเล็ตภายใต้ Application ที่ชื่อว่าTeklaBIMsight Note ซึ่งจะช่วยเกิดความสะดวกรายการ การนำเอารายงานอุบัติเหตุในการทำงานก่อสร้างวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติและท่อส่งน้ำมันมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาการจัดการด้านความปลอดภัย(2554-09-24T05:21:41Z) ภากร วงตะธรรมการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุของอุบัติเหตุในงานก่อสร้างและเสนอแนะมาตรการ ป้องกันและเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุอย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล รายงานอุบัติเหตุในงานก่อสร้างด้านบุคลที่เกิดขึ้นของบริษัทข้ามชาติ ณ หน้างานก่อสร้างโครงการวาง ท่อส่งก๊าชธรรมชาติและท่อส่งน้ำมันและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีการเรื่อง Accident/Incident Investigation ของ International Loss Control Institute, Inc. is a part of Det Norske Veritas Industry A/S. Modern Safety Management USA.1996 เพื่อค้นหาปัญหาและกำหนดระบบการ จัดการด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่าในภาพร่วมของปัญหาที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุด้านบุคคลที่ต้องแก้ไข ด้วยการพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัยที่มีอยู่แล้ว จำนวน 5 ระบบได้แก่ ระบบ การ ส่งเสริมทั่วไป เช่น ระบบการสนทนาเรื่องความปลอดภัย ระบบบทความต่าง ๆ เกี่ยวกับความ ปลอดภัย ระบบธงหรือแผ่นป้ายความปลอดภัย, ระบบการวิเคราะห์และขั้นตอนปฏิบัติงาน, ระบบ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (ในส่วนของการบังคับใช้ให้เป็นไปตามข้อกำหนด), การตรวจสอบ และบำรุงรักษาตามแผน (การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน), ระบบการควบคุมด้านสุขภาพอนามัย ข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัย ในกรณีที่หน่วยงานที่มี โปรแกรมทางด้านความปลอดภัยอยู่แล้วควรทบทวน ทำการปรับปรุงวิเคราะห์ระบบให้มีประสิทธิภาพ ทันต่อเทคโนโลยีก่อสร้างเสมอ และ เมื่อนำระบบการจัดการทางด้านความปลอดภัยมาใช้แล้วจำเป็นที่ จะต้องเฝ้าติดตามและตรวจวัดเพื่อประเมินผลการปฎิบัติงานว่าเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่และการ ทำรายงานสอบสวนอุบัติเหตุ/เหตุการณ์ผิดปกติควรมีการตรวจสอบวัดคุณภาพของแบบฟอร์มของ รายงานสอบสวนอุบัติเหตุเพื่อเป็นประโยชน์ในการแก้ไข II การศึกษาครั้งนี้พบว่ารายงานการสอบสวนอุบัติเหตุมีรายละเอียดไม่เพียงพอ/แบบฟอร์ม รายงานอุบัติเหตุไม่ได้ปรับปรุงให้ทันสมัยเทียบกับทฤษฏีในวิชาการจัดการความปลอดภัยดังนั้นการ ตรวจสอบวัดคุณภาพของแบบฟอร์มของรายงานสอบสวนอุบัติเหตุเพื่อใช้เป็นข้อมูลในเปรียบเทียบ จะ ช่วยให้ การวิเคราะห์ถูกต้องแม่นยำขึ้นรายการ การบริหารก่อสร้างโครงการที่ไม่มีแบบก่อสร้างที่สมบูรณ์ กรณีศึกษา :โครงการไวน์ คอนเนคชั่นเดลี่ พรอมเมอนาดา เชียงใหม่(2557-11-19T09:23:02Z) ศราวุธ จาปานันท์งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารการก่อสร้างโครงการที่ไม่มีแบบก่อสร้างที่สมบูรณ์และเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารงานภายในโครงการ พร้อมทั้งศึกษาแนวทางวิธีการแก้ไขปัญหา โดยแบ่งลักษณะของการศึกษาการบริหารงานออกเป็น 4 หมวด คือ ศึกษาหลักการและเหตุผล ศึกษาแนวคิดในการบริหารโครงการ ศึกษาปัญหาและสาเหตุ รวมถึงเสนอแนะแนวทางการแก้ไขการปฏิบัติงานเพื่อลดปัญหาดังกล่าว การดาเนินวิธีการศึกษาเป็นการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเป็นบริษัทผู้รับผิดชอบโครงการไวน์ คอนเนคชั่น เดลี่ พรอมเมอนาดา เชียงใหม่ แบบเฉพาะเจาะจงจานวนทั้งสิ้น 4 บริษัท โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยาย โดยอาศัยการแจกแจงความถี่ประกอบการวิเคราะห์ และหาสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ ผลการวิจัยพบว่าโครงการที่ไม่มีแบบก่อสร้างที่สมบูรณ์นั้น ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในระดับสูง มีประสบการณ์ และความเข้าใจในการบริหาร มีทักษะ ความรู้ ความสามารถที่หลากหลาย โดยสามารถสรุปหลักการและแนวคิดของการบริหารงานได้เป็น 8 ด้าน ได้แก่ ด้านเวลาและแผนการดาเนินงาน ด้านงบประมาณ ด้านรูปแบบอาคารและความสวยงาม ด้านความสัมพันธ์กับที่ตั้งโครงการ ด้านความสัมพันธ์กับระบบการจัดการ ด้านประสิทธิภาพในการทางาน ด้านเทคนิคที่ใช้ในการก่อสร้าง ด้านความปลอดภัย และจากการวิจัยสามารถสรุปประเด็น I ของปัญหาและสาเหตุได้ทั้งสิ้น 5 ด้านได้แก่ ปัญหาด้านวัตถุประสงค์โครงการ ปัญหาด้านกายภาพและสภาพแวดล้อม ปัญหาด้านวิธีการและการจัดการ ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาด้านการติดต่อประสานงานข้อมูลและข่าวสาร ดังนั้นผลจากการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้ที่ควบคุมและจัดการ การบริหารโครงการจะต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญในเรื่องของทั้งด้านสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม และการจัดการอย่างดี เนื่องจากต้องอาศัยความสามารถในการคาดการณ์ และสอดประสานระบบงานส่วนต่างๆ ควบคู่กันไปในช่วงเวลาเดียวกัน ความเหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับประเภท และลักษณะของแต่ละโครงการเป็นสาคัญรายการ การบริหารจัดการพื้นที่อาคาร(ส่วนรับประทานอาหาร(2554-09-25T02:16:58Z) วิจิตรา ยวดยิ่งการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ การบริหารจัดการพื้นที่อาคารโรงอาหาร(ส่วนรับประทานอาหาร) คือการจัดการ(Management)พื้นที่ในส่วนนั่งรับประทานอาหาร (Dining space) และการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ให้ถูกต้องตรงกับลักษณะใช้งานรายการ การบริหารอาคารชุดพักอาศัยคอนโคมิเนียมระดับสูง กรณีศึกษา อาคารชุดอกัสตัน สุขุมวิท 22(2554-09-24T07:52:15Z) ตฤษนันท์ บุญมั่งการศึกษาเรื่องความพึงพอใจของผู้พักอาศัยอาคารชุดนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสิ่งที่ เป็นความพอใจ และไม่พอใจในสิ่งที่บริษัทผู้บริหารอาคารชุดได้ดำเนินการอยู่ เพื่อนำข้อมูลจากผู้ พักอาศัย มาปรับปรุงงานของการบริหารงานอาคารชุด ของบริษัท ABC จำกัด ให้เกิดการพัฒนา และก้าวหน้าโดยเฉพาะด้านบุคลากร และการสรรหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีนวัตกรรมที่ทันสมัยมา รองรับความต้องการของผู้พักอาศัยอาคารชุดรวมถึงการวางแผนการก่อสร้างและการจำหน่าย อาคารชุดในอนาคตซึ่งจะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อีกด้วยโดยมีแบบสัมภาษณ์ ผู้พักอาศัยอาคารชุดในเรื่องความพึงพอใจในด้านต่างๆ การเข้าร่วมกิจกรรม และการบริหารจัดการ อาคารชุดเป็นเครื่องมือในการศึกษา และขอบเขตการศึกษาครอบคลุมเฉพาะความต้องการความ คิดเห็นของผู้ที่ได้พักและอาศัยในอาคารชุดที่มีต่อ บริษัท ABC จำกัด ผู้บริหารงานอาคารให้เท่านั้น ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2553 กรอบแนวคิดในการศึกษา กำหนดแนวทฤษฎีของกลยุทธ์ระดับองค์กร กลยุทธ์ระดับธุรกิจ และกลยุทธ์ระดับหน้าที่ ใน การศึกษามุ่งเน้นเรื่องความต้องการ ความพึงพอใจ ความคิดเห็นต่อการบริหารงานอาคารชุดของ บริษัทผู้บริหารอาคารชุด ผลการศึกษาพบว่า ผู้พักอาศัยอาคารชุดมีความพึงพอใจกับการให้บริการ ของทีมงานฝ่ายจัดการอาคารชุดเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริการด้านต่างๆ ความเป็นผู้มี หัวใจในการบริการแก่ผู้พักอาศัยอาคารชุดทุกคนจากทีมงานฝ่ายจัดการ ตลอดจนการแจ้งกลับ ข่าวสารอย่างถูกต้องรวดเร็วแก่ผู้พักอาศัย จึงเกิดความเชื่อมั่นและไว้วางใจในการบริหารงาน ความ ปลอดภัยและความสะอาดก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้พักอาศัยต้องการมากเช่นกัน แม้แต่เรื่องการจัดห้อง สันทนาการ สระว่ายน้ำ ซึ่งผู้พักอาศัยก็ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก แต่สิ่งที่ยังเป็นปัญหาและ อุปสรรคสำคัญของงานบริหาร คือความร่วมมือจากผู้พักอาศัยอาคารชุดยังมีระดับที่ไม่มากนักใน การเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางฝ่ายบริหารจัดขึ้น สิ่งที่ควรนำเข้ามาเสริมในการบริหารจัดการคือ มี หน่วยงานลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) เพื่อเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสานกับผู้พักอาศัยอาคารชุดให้ เข้าร่วมกิจกรรมหรือการเข้าร่วมสรรหาความคิดในการบริการด้านต่างๆ ที่ผู้พักอาศัยมีความพึง พอใจสูงสุด ข้อเสนอแนะ บริษัทผู้บริหารงานอาคารชุด ควรนำข้อมูลเข้าเกี่ยวข้องกับ การจัดกิจกรรมเพื่อให้สัมพันธ์ต่อกลุ่มของผู้พักอาศัยให้มากที่สุด โดยคำนึงถึงอายุ เพศ อาชีพ ความ ต้องการ ระยะเวลาเดินทางจากบ้านไปทำงาน และจากที่ทำงานถึงบ้าน ซึ่งโดยสรุปคือ ด้านการ บริการ ต้องทำให้ตรงจุดที่ลูกค้าต้องการ ต้องให้บริการที่มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว ถูกต้อง รวมถึงการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานของบริษัท ผู้บริหารงานอาคารชุดได้มีความรู้ ความชำนาญ มากขึ้น และยังมีการเสริมทักษะด้านต่างๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อบริการผู้พักอาศัยอาคารชุดให้ได้ตรง ตามต้องการมากที่สุดใส่ข้อความ คำสำรายการ การประยุกต์ใช้ Enterprise Content Management (การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการข้อมูล) ในงานบริหารจัดการทรัพยากรอาคารกรณีศึกษา การบริหารจัดการการขอใช้สิทธิที่จอดรถ ของผู้พักอาศัยนิติบุคคลอาคารชุด(2557-11-16T05:15:41Z) ณัฏฐณิชา อัศวพลังกูลการศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ ได้ทำการศึกษาการออกแบบเว็บเพจ โดยมีวัตถุปะสงค์ เพื่อให้เหมาะสมกับการบริหารจัดการ งานบริหารทรัพยากรอาคารชุด ส่วนของเครื่องมือที่ช่วยในการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน, คุณสมบัติ และสิทธิของผู้ทำเรื่องขออนุมัตินำรถเข้าจอดในลานจอด สามารถช่วยให้การจัดการเกิดประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล ในด้านการติดต่อสื่อสาร และในด้านความถูกต้องของการอนุมัติสิทธิการใช้ลานจอด แนวทางในการออกแบบและจัดทำเว็บเพจ ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่า เทคโนโลยี ECM สามารถเข้ามาประยุกต์ได้อย่างลงตัว นั่นคือตอบโจทย์องค์ประกอบหลักๆ ได้แก่ 1.ด้านเอกสาร เพื่อบริหารการจัดเก็บและการเข้าถึงข้อมูล สำหรับองค์ประกอบหลักของการบริหารงานด้าน FM ในสองแกนหลัก คือ People และ Place ซึ่งค่อนข้างผูกอยู่กับเอกสารต่างๆ ค่อนข้างมาก 2.ด้านกระแสงานต่างๆ โดยในกระบวนการทำงานที่เกิดขึ้นจริง ในการบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับคอนโดมิเนียมนั้น กระแสงาน (workflow) ที่เป็นอยู่นั้น มักเป็นกระแสงานที่ต้องมีเอกสารเกี่ยวข้องเสมอ เช่น กระบวนการขอสติ๊กเกอร์จอดรถ ที่เป็นกรณีศึกษานี้ เป็นต้นรายการ การประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัยในอาคาร กรณีศึกษา อาคารสถานศึกษา 14 ชั้น(2554-09-24T07:44:56Z) ฐานันต์ วชิรศักดิ์ชัยการค้นคว้าอิสระนี้เป็นการประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัยในอาคาร โดยเลือก อาคารสถานศึกษา แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นกรณีศึกษา เนื่องด้วยเป็นอาคารที่ได้รับ ใบอนุญาตก่อสร้างในปี พ.ศ. 2532 ก่อนการบังคับใช้กฎกระทรวงฉบับที่ 33 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ พ.ศ. 2532 กฎกระทรวงฉบับที่ 33 เป็นกฎหมายควบคุมอาคารที่มีการกำหนดให้อาคารสูงและ อาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องจัดให้มีระบบป้องกันอัคคีภัยตามที่กฎหมายกำหนด ด้วยเหตุนี้ทำให้ อาคารกรณีศึกษา ไม่ได้จัดให้มีระบบป้องกันอัคคีภัยตามที่กฎหมายกำหนด ความปลอดภัยด้านอัคคีภัยถือว่าเป็นส่วนสำคัญและเป็นพื้นฐานในการบริหาร ทรัพยากรอาคาร เนื่องจากอัคคีภัยถือเป็นอุบัติภัยที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ทรัพย์สิน และ ชื่อเสียงอย่างสูง โดยเฉพาะอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งมีผู้ใช้อาคารเป็นจำนวนมาก การประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัยสำหรับอาคารกรณีศึกษา จะทำให้ทราบถึง ข้อบกพร่องในด้านการป้องกันอัคคีภัย นำไปสู่การวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขและปรับปรุง การศึกษานี้ได้นำเอาข้อกำหนดด้านการป้องกันอัคคีภัยตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (แก้ไขเพิ่มเติม โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 42 (พ.ศ. 2537) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 50 (พ.ศ. 2540)) มาจัดทำเป็น แบบสำรวจและประเมิน การเก็บข้อมูลดำเนินการ โดยสอบถามข้อมูลจากผู้จัดการอาคาร แบบ และเอกสารต่าง ๆ ของอาคาร และจากการสำรวจโดยตนเอง ข้อบกพร่องและจุดเสี่ยงที่พบจาก การสำรวจและประเมินจะนำมาวิเคราะห์หาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ และนำ วิเคราะห์แนวทางในการปรับปรุงต่อไป III ผลการสำรวจและประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของอาคารกรณีศึกษา พบ ข้อบกพร่องทั้งหมด 22 รายการ จากรายการที่ทำการสำรวจทั้งหมด 42 รายการ โดยเป็นสภาพที่ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมาย 19 รายการ และปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎหมายแต่ขณะทำ การสำรวจพบว่าอยู่ในสภาพที่ใช้การไม่ได้ 3 รายการ เมื่อได้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการแก้ไขปรับปรุงและเตรียมพร้อม รับมือเหตุอัคคีภัย ในการเสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงนั้น ได้คำนึงถึงความรุนแรงของผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุและความยากในการปรับปรุง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้จัดการอาคารและ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยในการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงให้อาคารมีความปลอดภัย ซึ่งความปลอดภัย ถือเป็นความต้องการพื้นฐานของผู้ใช้อาคาร และเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอในการ บริหารทรัพยากรอาคาร ในส่วนสุดท้าย ได้นำเสนอแนวทางในการจัดทำแผนการบริหารจัดการความปลอดภัย ด้านอัคคีภัย ซึ่งเป็นการกำหนดหน้าที่ของผู้รับผิดชอบ แผนการดำเนินงาน การตรวจสอบ และการ ติดตามประเมินผล ซึ่งผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปพัฒนาต่อเพื่อใช้เป็นแผนในการดำเนินงานสำหรับ อาคารในเรื่องการป้องกันอัคคีภัย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนรายการ การประเมินประสิทธิภาพทางหนีไฟ กรณีศึกษา อาคารสำนักงาน 32 ชั้น ย่านสุขุมวิท(2554-09-24T08:36:50Z) จิระศักดิ์ สะอาดการค้นคว้าอิสระนีเ้ป็นการประเมินประสทธิภาพทางหนีไฟ โดยเลือกอาคารประเภท สำนักงานที่ตัง้อยู่ย่านสุขุมวิท เป็นกรณีศึกษา เนื่องจากได้ขออนุญาตและก่อสร้างก่อนปีพ.ศ. 2535 ก่อนการบังคับใช้กฎกระทรวงฉบับที่ 33 ซึ่งเป็นกฎหมายควบคุมอาคารที่มีการกำหนดให้ อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องจัดให้มีระบบป้องกันอัคคีภัยตามที่กฎหมายกำหนด วัตถุประสงค์ในการตรวจสอบและประเมินประสิทธิภาพความปลอดของทางหนีไฟใน ครั้งนีเ้พื่อประเมินและตรวจสอบความถูกต้องของเส้นทางหนีไฟในอาคาร ตามกฏหมาย เพื่อให้รู้ ว่าอาคารที่สร้างขึน้ ถูกต้องตามกฏหมายในขณะนัน้ แต่ตอนนีมี้กฏหมายที่ใหม่กว่า ดีกว่าและมี ความปลอดภัยเมื่อศึกษาแล้วทำให้ผู้บริหารทรัพยากรอาคารได้ทราบจุดบกพร่องของเส้นทางหนี ไฟ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาปรับปรุงเพื่อที่จะรักษา ชื่อเสียง ความแข่งขันเรื่งความปลอดภัย เพื่อ ปกป้องและลดความเสี่ยงโดยสามารถปรับปรุงหรือพัฒนาเพื่อให้มีความปลอดภัยตามกฏหมาย ฉบับใหม่เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหารทรัพยากรอาคารสามารถนำไปประเมินเบือ้งต้นและทำการ ปรับปรุง ผลการสำรวจและประเมินประสิทธิภาพทางหนีไฟของ อาคารสำนักงาน ย่านสุขุมวิท พบไม่ผ่านทัง้หมด 14 รายการ จากรายการที่ทำการสำรวจทัง้หมด 35 รายการ โดยที่ผ่านเป็นไป ตามข้อกำหนดในกฎหมายมี 21 รายการ