BUS-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู BUS-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 42
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ The Effects of Marketing Mix on Social Commerce Store Brand Loyalty: A Case Study of Social Commerce in Thailand(Sripatum University, 2561-12-20) Ravipa AkrajindanonThis study attempts to study the effects of marketing mix on social commerce store brand loyalty in Thailand. A total of 250 usable samplings of social shopping customers are obtained. The findings reveal that the predictor variables of product (β = 0.478, t = 4.658, P = 0.000), price (β = 0.484, t = 4.787, P = 0.000), place (β = 0.476, t = 4.372, P = 0.000), are achieved significance at the 0.05 level, and promotion (β = 0.423, t = 4.576, P = 0.000) reach the 0.05 significant level. the regression equation for predicting the dependent variable from the independent variable is Social Commerce Store Brand Loyalty = 2.731 + 0.228 (Product) + 0.281 (Price) + 0.273 (Place) + 0.246 (Promotion).รายการ THE ELEMENTS OF MARKETING MIX AFFECTING THE REPURCHASE ELECTRONIC MARKETPLACE (E-MARKETPLACE) IN THAILAND(Sripatum University, 2560-12-14) Ravipa AkrajindanonThis study attempts to study the relationship between marketing mix and repurchase intention of online customers on e-marketplace in Thailand. A total of 400 usable samplings of e-marketplace customers are obtained. The findings reveal that the predictor variables of product (β = 0.375, t = 3.556, P = 0.001), price (β =0.448, t = 4.697, P = 0.000), place (β = 0.366, t = 4.227, P = 0.000), are achieved significance at the 0.05 level,while promotion (β = 0.024, t = 0.886, P = 0.569) does not reach the 0.05 significant level.รายการ Factors Affecting the Online Food Ordering Through Digital Application Platforms(Sripatum University, 2562-12-19) Ravipa AkrajindanonThis study attempts to study the relationship between marketing mix and online food ordering through digital application platforms in Thailand. A total of 400 usable samplings of e-marketplace customers are obtained. The findings reveal that the predictor variables of product (β = 0.204, t = 4.735, P = 0.000), price (β = 0.243, t = 7.957, P = 0.000), place (β = 0.176, t = 5.387, P = 0.000), and promotion (β = 0.211, t = 2.282, P = 0.000) are achieved significance at the 0.05 level.รายการ The leadership approaches and the prevention for turnover intentions(Sripatum University, 2561-12-20) Ravipa AkrajindanonThe objectives of this paper are to extend the existing knowledge regarding leadership, its definition, and core characteristics associated with the types of managers that make employees voluntarily leaving the company. Employees’ intention to leave the company is a serious issue that pressing concern to employers. This paper provides a clear understanding of the leadership approaches and the types of bosses that make employees run away. As it is said ‘people quit boss, not jobs’, this paper offers the recommendations on the aspect of leadership approaches for preventing turnover intentions.รายการ การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี(2553) ลดาวรรณ สว่างอารมณ์รายการ การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษารายวิชา MKT453 การจัดการช่องทางการตลาด โดยใช้กิจกรรมเชิงรุกแบบมีส่วนร่วม(การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566-06-13) ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิ่งแก้ว พรอภิรักษสกุลบทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ การวิจัยเชิงทดลอง (Pre-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษา กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบมีส่วนร่วม และทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษารายวิชา MKT453 การจัดการช่องทางการตลาดด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบมีส่วนร่วม มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2) ศึกษา การวัดและประเมินทักษะกระบวนการการทำงานเป็นทีมของนักศึกษา 3) เปรียบเทียบทักษะการทำงาน เป็นทีมของนักศึกษา ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบมีส่วนร่วมก่อน และหลังเรียน และ 4) ศึกษา ความสัมพันธ์และอิทธิพลของกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบมีส่วนร่วมที่มีผลต่อทักษะการทำงานเป็นทีม ของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจทุกคนที่ลงทะเบียนในรายวิชา MKT453การจัดการช่องทางการตลาด มหาวิทยาลัยศรีปทุม ภาคการศึกษาที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2565 ทั้งหมด จำนวน 93 คน ผลการวิจัยภาพรวม พบว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกแบบมีส่วนร่วมของนักศึกษา รายวิชา MKT453 การจัดการช่องทางการตลาดอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านภาพรวมทักษะการทำงาน เป็นทีมของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก เช่นกัน ด้านก่อนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการ ทำงานเป็นทีมของนักศึกษา โดยใช้กิจกรรมเชิงรุกแบบมีส่วนร่วม พบว่า ในภาพรวมคะแนนเฉลี่ยอยู่ ในระดับปานกลาง ส่วนด้านหลังการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษา โดยใช้กิจกรรมเชิงรุกแบบมีส่วนร่วม ด้านคะแนนเฉลี่ยการประเมินทักษะกระบวนการทำงานเป็นทีม ทั้ง 5ด้าน ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาโดยใช้ * อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม * Lecturer, Department of Digital Marketing Faculty of Business Administration Sripatum University Corresponding author. e-Mail: kingkeaw.po@spu.ac.th การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ประจำปี 2566 2023 SPUC National and International Conference 50 กิจกรรมเชิงรุกแบบมีส่วนร่วม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกระบวนการเรียนรู้ เชิงรุกแบบมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน (ทางบวก) อยู่ในระดับสูง กับทักษะการทำงาน เป็นทีมของนักศึกษา และผลการวิจัยยัง พบว่า กระบวนการจัดการการสอนเชิงรุกแบบมีส่วนร่วม มี อิทธิพลต่อทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก ABSTRACT This experimental research (Pre-experimental research) aimed to 1) Study the active participatory learning process and teamwork skills of MKT453 (Channel marketing management) students with an active participatory learning process at Sripatum University 2) Study the measurement and evaluation of teamwork process skills of the students 3) Compare teamwork skills of the students with a proactive, participatory learning process before and after class and 4) Study the relationship and the influence of active participative learning process on teamwork skills of the students. The samples used in this research were 93 students from the School of Business Administration who were enrolled in the MKT453 (Marketing channel management) in Semester 2 of Academic Year 2022. It was found that the process of proactive teaching and learning with participation of MKT453 (Marketing channel management) students was at a high level, and so were the overall student teamwork skills. Before teaching and learning to develop students' teamwork skills by using proactive and participatory activities, it was found that average scores were overall at a moderate level. The post teaching and learning to develop students' teamwork skills by using proactive and participatory activities and the average scores of the assessment of teamwork process skills in all 5 areas before and after teaching and learning to develop teamwork skills of students by using proactive and participatory activities were statistically significant different at the .05 level. And the active participatory learning process had a relationship in the same direction (positive way) at a high level. It was also found that with teamwork skills of students, proactive, participative teaching management process influenced students' teamwork skills at a high level.รายการ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีผลต่อการดำเนินงานการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของผู้ประกอบการไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2553-02-12) พรจันทร์ สุพรรณ์; วิชิต อู่อ้นรายการ การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี(Sripatum University, 2562-12) อรนิษฐ์ แสงทองสุขการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์(1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย เขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี (2) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุสัญชาติไทย ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นสมาชิกสมาคม ผู้สูงอายุ เขต กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.860 จำนวน 400 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที สถิติเอฟ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)รายการ การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในยุคสังคมออนไลน์ เขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานีและนนทบุรี(สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2563-06) อรนิษฐ์ แสงทองสุขการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์(1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในยุคสังคมออนไลน์ เขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี (2) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในยุคสังคมออนไลน์ เขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุสัญชาติไทย ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นสมาชิกสมาคม ผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.860 จำนวน 400 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที สถิติเอฟ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)รายการ การศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยเน้นการมีส่วนร่วม ของนักศึกษาในรายวิชา MGT388 ศาสตร์และศิลป์ในการสื่อสารทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี, 2566-06) อรนิษฐ์ แสงทองสุขการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยเน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษากลุ่มทดลองในรายวิชา MGT388 ศาสตร์และศิลป์ในการสื่อสารทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/ 80 2) เปรียบเทียบผลการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษา ก่อนและหลังเรียน กลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุม 3) ศึกษาระดับความเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ บูรณาการโดยเน้นการมีส่วนร่วม 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ และอิทธิพลของกระบวนการเรียนการสอน แบบบูรณาการ และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักศึกษา ที่มีผลต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ผลการวิจัยโดยภาพรวม พบว่า การจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยเน้นการมีส่วนร่วม สำหรับนักศึกษากลุ่มทดลองทั้ง 5 แผน นั้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 89.86/ 89.30 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ กำหนดไว้ 80/ 80 ด้านคะแนนเฉลี่ยภายหลังการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยเน้นการมีส่วนร่วม สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยเน้นการมีส่วนร่วม แตกต่างกันกับก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการจัดการ เรียนรู้ทั้ง 5 แผน ภายหลังการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยเน้นการมีส่วนร่วม สำหรับ นักศึกษากลุ่มทดลอง คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดย เน้นการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และด้านความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมดมีความสัมพันธ์ ในทิศทางเดียวกัน (ทางบวก) ส่วนผลการศึกษาอิทธิพล พบว่า กระบวนการเรียน การสอนแบบบูรณาการ และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักศึกษา ที่มีอิทธิพลต่อผลของการเรียนรู้ของนักศึกษารายการ การศึกษาระดับแรงสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตที่มีต่อความสุขของผ้สู ูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร(การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-10-27) ผศ.ดร.กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล; ดร.รัชตา กาญจนโรจน; ผศ.กิ่งแก้ว พรอภิรักษสกุล; อาจารย์ภาวิศา การัตนการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับของแรงสนับสนุนทางสังคม คุณภาพชีวิต และความสุขของผู้สูงอายุเขต กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบตัวแปรด้านส่วนบุคคลที่มีต่อความสุขของ ผู้สูง ผู้วิจัยกาหนดกลุ ํ ่มตัวอยางในการศึกษาวิจัยครั ่ ้งนี้ คือ ผู้สูงอายุสัญชาติไทย ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ที่เป็นสมาชิก สมาคมผู้สูงอายุเขตกรุ งเทพมหานคร จํานวน 384 คน ผู้วิจัยได้ทําการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการรวบรวม แบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นํามาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติเพื่อ การวิจัย โดยกาหนดระดับความมีนัยสําคัญ ํ 0.05 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ มีดังนี้ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ สําหรับค่านัยสําคัญ ทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์กาหนดไว้ที่ระดับ . ํ 05 ผลการวิจัย พบวา แรงสนับสนุนทางสังคม ของผู้ ่ สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานครอยูในระดับมาก ่ ด้านคุณภาพ ชีวิตของผู้สูงอายุในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ด้านความสุขของผู้สูงอายุ ในภาพรวมพบว่า ผู้สูงอายุ มีความสุขอยูในระดับน้อยกว ่ าคนทั ่ วไ่ ปตามดัชนีชี้วัดความสุขคนไทยรายการ การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน (IMC) ที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติในเมืองพัทยา(2553) ปรัชญาเมธี เทียนทองรายการ การเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุขด้วยการเตรียมความพร้อมในการเกษียณอายุ(การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 มหาวิทยาลัยศรีปทุม ออนไลน์ ประจำปี 2565, 2565-10-27) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์; ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุพงศ์ อวิรุทธา; ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี ฮะมะณี; อาจารย์เอื้อจิต ทัศนะภาคย์; วรุณศิริ ปราณีธรรมการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุถือเป็นการวางแผนชีวิตอย่างหนึ่งที่ควรต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในวัยทำงาน เพื่อให้สามารถปรับตัวต่อบทบาทที่เปลี่ยนแปลงภายหลังจากเกษียณอายุ และสามารถใช้ชีวิตภายหลังจากการเกษียณอายุอย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุ (2) นำเสนอแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุด้านต่าง ๆ ได้แก่ การเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจและรายได้ การเตรียมความพร้อมด้านที่อยู่อาศัย 3) การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพร่างกาย การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ และการเตรียมความพร้อมด้าน การใช้เวลารายการ ความพึงพอใจของผู้ซื้อสินค้าในตลาดสดยิ่งเจริญ สะพานใหม่ กรุงเทพมหานคร(2563-12-18) ผศ.ดร.ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์; ผศ.ดร.กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล; นลินรัตน์ รัตนพวงทอง; นันทิภา ทองไชย; ณัชชา อบอุ่นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ซื้อสินค้าในตลาดสดยิ่งเจริญ สะพานใหม่ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนที่มาใช้บริการที่ตลาดสดสะพานใหม่ จานวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างการแบบบังเอิญ (Accidental sampling) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมระดับความพึงพอใจในการใช้บริการ ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการตอบสนองลูกค้า ด้านการรับประกัน/ ความมั่นใจ ด้านรูปลักษณ์ ด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ด้านการดูแลเอาใจใส่ลูกค้าเป็นรายบุคคล ตามลาดับรายการ ความพึงพอใจในการใช้บริการธนาคารกรุงเทพ สาขา มหาวิทยาลัยศรีปทุม(2563-12-18) ผศ.ดร.กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล; ผศ.ดร.ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์; ภราดร ตาเดอิน; พุทธชาติ จาคา; รัชชานนท์ แดงมา; อดิศักดิ์ อรรถจินดาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการใช้บริการธนาคารกรุงเทพ สาขา มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้วิจัยกาหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยศรีปทุม จานวน 379 คน และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบบังเอิญ (Accidental sampling) ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทาการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นามาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกาหนดระดับความ มีนัยสาคัญ 0.05 ทั้งนี้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมระดับความพึงพอใจในการใช้บริการ ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านรูปลักษณ์ ด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ด้านการตอบสนองลูกค้า ด้านการรับประกัน/ความมั่นใจ ด้านการดูแลเอาใจใส่ลูกค้าเป็นรายบุคคล ตามลาดับรายการ ความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12-19) ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์, กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล, สุธินี มงคล, ปัทมา โกเมนท์จํารัส, บรินดา ศัลยวุฒิ, ศุภานัน แก้วพามา, นิภาพร โคตรชัย, ธันย์ชนก เขียวทรายมูลการศึกษาวิจัยเรื่องความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยงานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสํารวจ ซึ่งมุ่งเน้นทำการสํารวจสอบถามเฉพาะผู้ที่ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยกําหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนทั่วไปที่ใช้บริการ BTS ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 538 คน และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental sampling) ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกําหนดระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 ทั้งนี้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีดังนี้ ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ S.D.) สําหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวเิคราะห์ครั้งนี้กําหนดไว้ที่ระดับ .05 และ .01 ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับผลความพึงพอใจในการใช้บริการ BTS ด้านรูปภาพลักษณ์ อยู่ในระดับมาก ( x̅ = 3.97 , S.D.= 0.69) ด้านการตอบสนองลูกค้า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.78, S.D.= 0.75) ด้านความรับประกัน/ความมั่นคง มีระดับความคิดเห็นระดับมาก (x̅ = 3.83, S.D.= 0.76) ด้านการเอาใจใส่ลูกค้า เป็นรายบุคคลมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.84, S.D.= 0.72) และด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจพบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากรายการ ความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12-19) ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์; กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล; สุธินี มงคล; ปัทมา โกเมนท์จํารัส; บรินดา ศัลยวุฒิ; ศุภานัน แก้วพามา; นิภาพร โคตรชัย; ธันย์ชนก เขียวทรายมูลการศึกษาวิจัยเรื่องความพึงพอใจในการใชบบริการรถไฟฟ้า BTS ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครจาํแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยงานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสํารวจ ซึ่งมุ่งเน้นทำการสํารวจสอบถามเฉพาะผู้ที่ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยกําหนดกลุ ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนทั่วไปไปที่ใชบ้ริการ BTS ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 538 คน และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental sampling) ซ่ึงในการวิจยัครั ้งนี ้ ผูว้ิจยัไดท้าํการวิเคราะห์ขอ้มูล โดยการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกําหนดระดบัความมีนัยสำคัญ 0.05 ทั้งนี้ สถิติที่ใชใ้นการวิเคราะห์ขอ้มูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีดังนี้ ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค ่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ S.D.) สําหรับค่า นยัสาํคญัทางสถิติที่ใชใ้นการวเิคราะห์ครั้งนี้กําหนดไวท้ี่ระดบั .05 และ .01 ผลการวจิยั พบว่าผตู้อบแบบสอบถาม มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับผลความพึงพอใจในการใช้บริการ BTS ด้านรูปภาพลักษณ์ อยู่ในระดับมาก ( x= 3.97 , S.D.= 0.69) ด้านการตอบสนองลูกค้า มีระดบัความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x = 3.78, S.D.= 0.75) ด้านความรับประกัน/ความมั่นคง มีระดับความคิดเห็นระดับมาก (x = 3.83, S.D.= 0.76) ด้านการเอาใจใส่ลูกค้า เป็นรายบุคคลมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x =3.84, S.D.= 0.72) และด้านความหน้าเชื่อถือและไว้วางใจพบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากรายการ ความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกยางพาราไทยไปตลาดจีน(2553) สายพิณ ท้าวลา
- «
- 1 (current)
- 2
- 3
- »