GRA-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GRA-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 44
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กระบวนการโลจิสติกส์กับปัญหาในการจัดการโลจิสติกส์ย้อนกลับของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ปุญญภณ เทพประสิทธิ์การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัญหาในการจัดการโลจิสติกส์ย้อนหลัง จำแนกตามลักษณะขององคืการ (2) เพื่อศึกษาอิทะิพลของกระบวการดลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการโลจิสติกส์ย้อนหลังของอุตสาหกรรมอิเล้กทรอนิกส์ และ (3) เพื่อศึกษาอิทะิพลของกระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับที่ส่งผลต่อปัญหาในการจัดการโลจิสติกส์ย้อนกลับของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุรภาพผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 องค์กรด้วยแบบสัมภาษณ์ถึ่งโครงสร้างและนำข้อมูลดีงกล่าวมาใช้ในการสร้างกรอบแนวคิด และข้อคำถามสำหรับแบบสอบถามที่จะใช้รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าประเภทอิเล้กทรอนิกส์ของประเทศไทย จำนวน 268 บริษัท โดยผู้วิจัยได้ใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ในการทดสอบความสัมพันธ์ของกระบวนการโลจิสติกส์ และกระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับที่มีต่อปัญหาในการจัดการโลจิสติกส์ย้อนกลับของอุตสาหกรรมอิเล้กทรอนิกส์นประเทศไทย สำหรับการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผู้วิจัยได้ใช้การทดสอบเป็นอิสระของค่าความคลาดเคลื่อนด้านวิธี Durbin - Watson ในการตรวจสอบ ผลการศึกษาพบว่าค่า Durbin - Watson มีค่าเข้าใกล้ 2 จึงสามารถทดสอบการวิเคราะหืการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ต่อไปได้ตามกระบวนการที่ถูกต้อง โดยการทดสอบแสดงให้เห็นว่ากระบวนการโลจิสติกส์และกระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับมีความสัมพันธ์ต่อปัยหาในการจัดการโลจิสติกส์ย้อนกลับรายการ กลยุทธ์การนำนโยบายทางวิชาการสู่การปฏิบัติของผู้บริหารวิทยาลัยศึกษาเอกชนในเครือไทย-เทค(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) เยาวลักษณ์ เพ็งอิ่มการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาการปฏิบัติงานวิชาการของวิยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือไทย-เทค 2.เพื่อศึกษากลยุทธ์การนำนโยบายทางวิชาการสู่การปฏิบัติของผู้บริหารวิยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือไทย-เทค ด้วยเทคนิควิจัยเชิงคุณภาพโดยมีการดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่1 การทบทวนวรรณกรรม เอกสารที่เกี่ยวขับ เพื่อสร้างกรอบแนวคิด และสร้างแบบสัมภาษณ์ฯ ระยะที่2 การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม กับผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้าสำนัก คณบดี จำนวน 20 ท่าน ตามแบบสัมภาษณ์ฯ ระยะที่3 การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กับผู้ปฏิบัติงานสายสนับสนุนการสอนและสายการสอน จำนวน 36 ท่าน ตามแบบสัมภาษณ์ฯ เพื่อนำมาศึกษาการปฏิบัติงานวิชาการและวางกลยุทธ์การนำนโยบายทางวิชาการสู่การปฏิบัติฯ และ ระยะที่4 การอภิปรายกลุ่ม กับคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 ท่าน เพื่อขอข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกลยุทธ์การนำนโยบายทางวิชาการปฏิบัติฯ และวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสรุปและเสนอผลการศึกษารายการ กลยุทธ์การบริหารจัดการการจัดกิจกรรมนำความรู้สู่สังคมของนักศึกษาร่วมกันระหว่างชุมชน ของกลุ่มวิทยาลัยในเครือไทย-เทค(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) จุฑารัตน์ แสงลอยการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเรื่องกลยุทธ์การบริหารจัดการจัดกิจกรรมนำความรู้สู่สังคมของนักศึกษาร่วมกันระหว่างชุมชนของกลุ่มวิทยาลัยในเครือไทย-เทค มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการดำเนินการการจัดกิจกรรมนำความรู้สู่สังคมร่วมกันระหว่างชุมชนของวิทยาลัยในเครือไทย-เทค 2) กำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการการจัดกิจกรรมนำความรู้สู่สังคมร่วมกันระหว่างชุมชนของวิทยาลัยในเครือไทย-เทค 3) ประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการการจัดกิจกรรมนำความรู้สู่สังคมร่วมกันระหว่างชุมชนของวิทยาลัยในเครือไทย-เทค โดยการดำเนินการวิธีวิจัยจัดทำเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาผลการดำเนินการจัดกิจกรรมนำความรุ้สู่สังคม ระยะที่ 2 กำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการการจัดกิจกรรมนำความรู้สู่สังคม และระยะที่ 3 ประเมินกลยุทธ์ในการจัดกิจกรรมการนำความรู้สู่สังคมร่วมกันระหว่างชุมชน (SSR) ของกลุ่มวิทยาลัยในเครือไทย-เทค โดยแบ่งเป็น 4 ด้านคือ พิจารณาความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความสอดคล้องและความเป็นประโยชน์ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน มีค่าความเชื่อมั่น 0.901 สถิติที่ใช้ วิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหารายการ การจัดการเรียนรู้โดยใช้บุคคลต้นแบบเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) อรรถวุฒิ มุขมาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บุคคลต้นแบบเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน 2) เพื่อศึกษาแรงบันดาลใจในการอ่านของนักศึกษาหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้บุคคลต้นแบบ 3) เพื่อเปรียบเทียบนิสัยรักการอ่านของนักศึกษา ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้บุคคลต้นแบบ เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นพื้นฐานแบบ Pre-Experimental design กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่เรียนวิชา GELT1001 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 นักศึกษาจำนวน 50 คน 1 กลุ่มเรียน ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม ด้วยวิธีการจับสลาก โดยใช้กลุ่มเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บุคคลต้นแบบ มีผลค่าระดับความเหมาะสมมากที่สุด 2) แบบวัดแรงบันดาลใจในการอ่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ0.930 3) แบบวัดนิสัยรักการอ่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ0.937 วิเคราะห์ข้อมูลโยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test sample group และ t-test dependentรายการ การจัดการโซ่อุปทานของกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด อ.ละแม จ.ชุมพร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ศศิษา แดงมณีการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการวิจัยเรื่องดารจัดการโซ่อุปทานของกลุ่มเกษตรการทำสวนทุ่งคาวัด อ.ละแม จ.ชุมพร โดยผู้วิจัยได้ทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มเกษตรกรทำสวนคุ่งคาวัด จำนวน 21 คน และเกาตรกร จำนวน 400 คน โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้สถิติเช้งพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเแลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานค่าที (Independrnt t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of variance) ในการบรรยายข้อมูลรายการ การบริหารงานของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ ระดับสถานีตำรวจ : ศึกษาเฉพาะกรณีกองบัญชาการตำรวจนครบาล(Sripatum University, 2566) จตุพร พลภักดีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานและการสนับสนุนการปฏิบัติงานตำรวจในด้านต่าง ๆ ของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ ระดับสถานีตำรวจ ในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างข้าราชการตำรวจ ที่สังกัดสถานีตำรวจในเขตกองบัญชาการตำรวจนครบาล แบ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 427 คน และจากการสัมภาษณ์ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Chi-square และ การทดสอบ Anovaรายการ การบริหารสถานศึกษาเอกชนระดับประถมศึกษาที่ใช้หลักสูตรที่เน้นการสอนด้วยภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิผล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) จิตนิภา สว่างแจ้งการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการหลักสูตรการสอนที่เน้นภาษาอังกฤษในสถานศึกษาเอกชนในระดับประถมศึกษาที่ผ่านการประเมินมาตรฐานสากล 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการหลักสูตรที่เน้นภาษาอังกฤษของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาตามความคาดหวังของผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง และ 3) เพื่อกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาที่เน้นภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิผล การวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารที่ผ่านการประเมินมาตรฐานสากล จำนวนทั้งสิ้น 2 โรงเรียน และผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง จำนวน 928 คน จากจำนวน 32 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test ANOVA แบบ Dunnett t3 และวิเคราะห์เนื้อหารายการ การพัฒนา SOFT SKILLS ในการทำงานสำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต(Sripatum University, 2565) ธนกรณ์ ชัยธวัชการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา Soft Skills ในการทำงานสำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรีตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 2) เพื่อออกแบบและพัฒนา Soft Skills ในการทำงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตและ 3) เพื่อวัด Soft Skills ในการทำงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะรายการ การพัฒนาการเขียนตัวอักษรจีน ผ่านกิจกรรมค่ายภาษาจีนแบบออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดตราด(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ชนาธิป ประสารปัญหาการวิจัยเนื่องจากคะแนนการเขียนตัวอักษรจีน โดยการสอบวัดระดับความสามารถมาตรฐานภาษาจีน HSK ของนักเรียนจังหวัดตราดผลปีที่ผ่านมานั้นต่ำมาก ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิธีการจัดกิจกรรมค่ายภาษาจีนแบบออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดตราด 2) เพื่อพัฒนาการเขียนตัวอักษรจีนผ่านกิจกรรมค่ายภาษาจีนแบบออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดตราด 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนตัวอักษรจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดตราด ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายภาษาจีนแบบออนไลน์ เครื่องมือที่ใช้การวิจัย คืิ 1) แผนกิจกรรมค่ายภาษาจีน เรื่อง การพัฒนาการเขียนตัวอักษรจีน ผ่านกิจกรรมค่ายภาษาจีนแบบออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดตราด 2) แบบทดสอบชนิดอัตนัยการเขียนตัวอักษรจีนเทียบเท่ากับการสอบวัดระดับความสามารถมาตรฐานภาษาจีน HSK ระดับที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 sampling จำนวน 45 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (X) ร้อยละ (%) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ (GS%) t-test แบบ Dependent ค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และ ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรของ Kuder-Richardson (KR 20)รายการ การพัฒนาผลการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องชนิดของคำไทยโดยใช้เทคนิคห้องเรียนกลับด้าน สำหรับนักศึกษาจีน ชั้นปีที่ 3(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) แคทญาดา โกษาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องชนิดของคำไทย โดยใช้เทคนิคห้องเรียนกลับด้าน ของนักศึกษาจีน ชั้นปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องชนิดของคำไทย ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้เทคนิคห้องเรียนกลับด้าน ของนักศึกษาจีน ชั้นปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 2 ชุด แบ่งออกเป็น 1. เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้คือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 2.เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดความรู้เรื่อง ชนิดของคำไทยกลุ่มตัวอย่างกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 Southwest Forestry University ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 68 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที(t-test แบบ dependent) ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1. กระบวนการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องชนิดของคำไทย โดยใช้เทคนิคห้องเรียนกลับด้าน ของนักศึกษาจีน ชั้นปีที่ 3 มีการจัดการเรียนรู้ร่วมกับการศึกษาเนื้อหาบทเรียนด้วยตนเอง 7 หน่วยการเรียนรู้ แบบไม่ประสานเวลา และมีการเรียนแบบประสานเวลาในห้องเรียนทั้งหมด 7 ครั้ง ผู้เรียนจะศึกษาเนื้อหาเรื่อง ชนิดของค าไทย จากใบความรู้ และชุดแบบฝึกหัด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีการทำแบบทดสอบวัดผลการเรียนเรื่อง ชนิดของคำไทย ก่อนเรียนหลังจากเรียนจนเสร็จสิ้นกระบวนการ ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน 2. ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ชนิดของค าไทย ด้วยวิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน พบว่า คะแนนสอบก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.68 และคะแนนสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 33.68 และ ซึ่งพบว่าคะแนนสอบหลังเรียนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05รายการ การพัฒนาผลงานการออกแบบด้วยหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ ตามศาสตร์ฮวงจุ้ย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ชลัคร์กมล ภวภัชชกุลการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ (1) เพื่อศึกษาความต้องการการจัดการเรียนรึ้ของนักออกแบบด้วยหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามศาสตร์ของอวงจุ้ย (2) เพื่อจัดทำหลักสูตรการจัดการเรียนรุ้ตามศาสตร์ของฮวงจุ้ยสำหรับนักออกแบบ และ (3) เพื่อประเมินผลงานการออกแบบโลโก้ของนักออกแบบตามศาสตร์ฮวงจุ้ย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบด้วยศาสตร์ของฮวงจุ้ย จำนวน 4 คน กลุ่มเป้าหมาาย คือ นักออกแบบอิสระ จำนวน 55 คน การวิจัยครั้งนี้มีแบบแผนการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้วิจัย 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 2) หลักสูตรการจัดการการเรียนรู้ตามศาสตร์ของฮวงจุ้ยมีความเหมาะสมในระดับมาก 3) แบบประเมินความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม การตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นได้มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา 0.962 สรุปได้ว่า แบบประเมินความรู้ความเข้าใจมีคุณภาพ และ 4) แบบประเมินการออกแบบโลโก้ ผลค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรายการ การพัฒนารูปแบบการสอนออนไลน์ด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก(Sripatum University, 2565) นรเชษฐ์ กระดังงางานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสอนออนไลน์ของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนออนไลน์ด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเอง และประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาจากการใช้รูปแบบการสอนออนไลน์ด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเอง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามรูปแบบการสอนออนไลน์ของผู้บริหาร คณาจารย์ และแบบสอบถามความสามารถในการนำตนเองของนักศึกษา 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อการนำเสนอ 3) แบบประเมินผลการเรียนรู้รายการ การพัฒนารูปแบบสื่อการเรียนรู้ไมโครเลิร์นนิ่ง เรื่องการคุมกำเนิด สำหรับผู้เรียนในกลุ่มของการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา(Sripatum University, 2565) พฤกษ์ สวัสดีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบสื่อการเรียนรู้ไมโครเลิร์นนิ่ง เรื่องการคุมกำเนิด สำหรับผู้เรียนในกลุ่มของการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ ที่มีการผลิตตามเกณฑ์ของค่าประสิทธิภาพกระบวนการ/ผลลัพธ์ 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบสื่อการเรียนรู้ไมโครเลิร์นนิ่ง เรื่องการคุมกำเนิด สำหรับผู้เรียนในกลุ่มของการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครราชสีมารายการ การพัฒนาสื่อมัลติมิเดียสำหรับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกวิชาการสนทนาภาษาไทย สำหรับนักศึกษาชาวจีน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) กมลวรรณ เลิศสุวรรณงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนา และหาประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียวิชาการสนทนาภาษาไทย สำหรับนักศึกษาชาวจีน 2) ออกแลบบแผนการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก วิชาการสนทนาภาษาไทย สำหรับนักศึกษาชาวจีน ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดีย 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนเรียน และหลังเรียนจากการใช้สื่อมัลติมีเดีย วิชาการสนทนาภาษาไทย สำนักศึกษาชาวจีน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบแผนการทดลองขั้นต้น (Pre-Experimental Research Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาไทย Hainan Tropical Ocean University จำนวน 50 คน ซึ่งใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) สื่อมัลติมีเดีย วิชาการสนทนาภาษไทย สำหรับนักศึกษาชาวจีน 2) แผนการจัดการเรีบนรู้เชิงรุก 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ E1/E2 และสถิติ t-testรายการ การวางแผนการใช้งานระบบปรับอากาศสำหรับห้องบรรยายของมหาวิทยาลัยศรีปทุม กรณีศึกษา : อาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์(2555) ธิติวัฒน์ ศรุติรัตน์วรากุลการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้พลังงานไฟฟ้าระหว่างการกำหนดบรรยายเป็นห้องควบคุม ซึ่งจะมีการใช้งานระบบปรับอากาศตามปกติและกำหนดเป็นห้องทดลองรายการ การศึกษาการบริหารงานวิชาการที่มุ่งเน้นคุณภาพของโรงเรียนประชานิเวศน์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) นงค์นุช วงศ์เหง้าการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการที่มุ่งเน้นคุณภาพของโรงเรียนประชานิเวศน์ ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มีผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test –ONET) ผ่านทั้ง 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2558 มีจำนวนหนึ่งโรงเรียน คือ โรงเรียนประชานิเวศน์ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีการวิจัยใช้รูปแบบการศึกษาเฉพาะกรณี (Case study method) โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structural Interviewing Guidelines) ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย รวมทั้งสิ้น 7 คน คือ ผู้บริหารโรงเรียน รองผู้บริหารฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ โดยนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และนำเสนอผลการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการบรรยายรายการ การศึกษาความพอใจในชีวิตจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานจิตอาสาสำหรับสมาชิกธนาคารเวลา(Sripatum University, 2565) ชัยฤทธิ์ อิ่มเจริญการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานจิตอาสาสำหรับสมาชิกธนาคารเวลา 2) ทดลองใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) ประเมินผลการศึกษาความพอใจในชีวิตจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลุ่มประชากรสมาชิกธนาคารเวลาในพื้นที่กรุงเทพฯ และนนทบุรีรายการ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นผู้นำเชิงจริยธรรมกับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ดุษฎี นาเสงี่ยมการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความเป็นผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 315 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแสดงความคิดเห็น มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.943 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยะ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันรายการ การศึกษาความแตกต่างของเจนเนอเรชั่นที่มีต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จ. ปทุมธานี เขต 2(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) เขมมิรินทร์ ทุมลาการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษา จ. ปทุมธานี เขต 2 (2) ศึกษาความแตกต่างของสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูที่มีเจนเนอเรชั่นต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จ. ปทุมธานี เขต 2 จำนวนทั้งสิ้น 11 โรงเรียน ครู 274 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย X และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) ด้วยสถิติ F-Testรายการ การศึกษาคุณภาพการบริการด้านโลจิสติกส์กับคุณภาพความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์โดยบุคคลที่ 3 ด้านการขนส่ง กรณีศึกษา ผู้ส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย(Sripatum University, 2555) พัชชา วงศ์สวรรค์การศึกษาคุณภาพการบริการด้านโลจิสติกส์กับคุณภาพความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์โดยบุคคลที่ 3 ด้านการขนส่ง กรณีศึกษา ผู้ส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาอิทธิพลของคุณภาพการบริการด้านโลจิสติกส์ กับคุณภาพความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์โดยบุคคลที่ 3 ด้านการขนส่ง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัย
- «
- 1 (current)
- 2
- 3
- »