GRA-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
การส่งล่าสุด
รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนเอกชนที่เน้นการสอนภาษาจีนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) ดลทิตยา รัตนสาขาการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการและการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนที่เน้นการสอนภาษาจีน และ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการ กับการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนที่เน้นการสอนภาษาจีน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร ครูสอนภาษาจีนและครูผู้สอน โรงเรียนเอกชนที่เน้นการสอนภาษาจีน จำนวน 170 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากการเทียบตารางของ Krekcie and Morgan และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โดยใช้แบบสอบถามที่ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา การใช้ภาษา โดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีเกณฑ์ในการตัดสินเลือกเฉพาะข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ที่คำนวณได้เท่ากับ 0.87 และนำแบบสอบถามไปทดสอบใช้กับ ผู้บริหาร ครูสอนภาษาจีน และครูผู้สอน ในโรงเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาความเชื่อมั่น โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปความเที่ยงของแบบสอบถามที่ยอมรับได้มีเท่ากับ 0.80รายการ เหตุจูงใจการเลือกศึกษาต่อระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของนักศึกษากลุ่มวิทยาลัยในเครือไทย-เทค(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) เอื้อมพร ชุ่มสีดาการศึกษาวิจัยเรื่อง เหตุจูงใจการเลือกศึกษาต่อระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของนักศึกษากลุ่มวิทยาลัยในเครือไทย-เทค มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเหตุจูงใจเลือกศึกษาต่อของนักศึกษากลุ่มวิทยาลัยในเครือไทย-เทค 2) เปรียบเทียบเหตุจูงใจการเลือกศึกษาต่อของนักศึกษากลุ่มวิทยาลัยในเครือไทย-เทค จำแนกตามข้อมูลพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษากลุ่มวิทยาลัยในเครือไทย-เทค ในเขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2558 ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 สุ่มตัวอย่างง่าย (Simple random sampling) ได้จำนวน 400 คน ระยะในการดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2558-มิถุนายน 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละและการทดสอบค่า F-Testรายการ การศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษา ของวิทยาลัยอาชีวศึกษา กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง ที่ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกในระดับดีมาก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) สายพิณ จำเดิมการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษา กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง ที่ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามในระดับดีมาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 5 คน และครูที่ทำหน้าที่หัวหน้างานประกันคุณภาพ 2 คน วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี และวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี ประจำปีการศึกษา 2558 ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสังเกต สนทนาพูดคุย ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาด้านการอาชีวศึกษา 1) มาตรฐานด้านผลการจัดการศึกษา 2) มาตรฐานการบริหารจัดการศึกษา 3) มาตรฐานการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4) มาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน รวบรวมข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis) และนำมาตีความหมาย หลังจากนั้นนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย การสรุป บรรยายรายการ การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของบทบาทผู้บริหารโรงเรียนนำร่องตามนโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) สะนิ แกละมงคลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ (1) เพื่อศึกษาบทบาทผู้บริหารโรงเรียนนำร่องตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร และ (2) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของผู้บริหารโรงเรียนนำร่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร ประชากรในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียนนำร่องที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 145 คน จาก 29 โรงเรียน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตัวเอง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์แสดงความต้องการจำเป้นโดยใช้ Priority Needs Index (PNI) การวิเคราะหืข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหารายการ การศึกษาเหตุผลจูงใจและความคาดหวังของผุ้ปกครองในการส่งนักเรียนเข้าศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือไทย-เทค(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2557) ศุภฤกษ์ ศรีชะฎาการศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาเหตุจูงใจและความคาดหวังของผู้ปกครองในการส่งนักเรียนเข้าศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือ ไทย-เทค และเพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการในการส่งเสริมให้ผู้ปกครองส่งนักเรียนเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือ ไทย-เทค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองนักเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในเครือ ไทย-เทค ปีการศึกษา 2558 จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ดปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพและการขับเคลื่อนสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) สุประวีณ์ ทิพย์โพธิ์การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพกับการขับเคลื่อนสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงานวิชาการ และหัวหน้างานประกันคุณภาพหรือครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 67 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม 2 แบบ ได้แก่ แบบสอบถามปลายปิด และแบบสอบถามปลายเปิด แบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันรายการ ผลของความรู้และเจตคติของบุคลากรที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือไทย-เทค(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) นงลักษณ์ ตระกูลวงศ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร (2) เพื่อศึกษาความรู้และเจตคติของบุคลากรเกี่ยวกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา และ (3) เพื่อศึกษาความรู้และเจตคติของบุคลากรเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือไทย-เทค การวิจัยนี้รวบรวมข้อมูลจากประชากร (Census) คือ ผู้บริหาร ครู และเจ้าหน้าที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือไทย-เทค ปีการศึกษา 2558 จำนวน 298 คน ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Regression Analysis)รายการ ตัวแปรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ e-Learning สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน เครือไทย-เทค(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2557) รังษิณี คอทองการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ e-Learning และ 2) เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ e-Learning ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนเครือ ไทย-เทค ประชากรของการศึกษา คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนเครือ ไทย-เทค ปีการศึกษา 2558 กลุ่มตัวอย่างถูกเลือกแบบมีระบบจำนวน 313 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ข้อมูลถูกวิเคราะห์และนำเสนอด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นต้นรายการ การศึกษาการบริหารงานวิชาการที่มุ่งเน้นคุณภาพของโรงเรียนประชานิเวศน์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) นงค์นุช วงศ์เหง้าการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการที่มุ่งเน้นคุณภาพของโรงเรียนประชานิเวศน์ ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มีผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test –ONET) ผ่านทั้ง 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2558 มีจำนวนหนึ่งโรงเรียน คือ โรงเรียนประชานิเวศน์ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีการวิจัยใช้รูปแบบการศึกษาเฉพาะกรณี (Case study method) โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structural Interviewing Guidelines) ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย รวมทั้งสิ้น 7 คน คือ ผู้บริหารโรงเรียน รองผู้บริหารฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ โดยนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และนำเสนอผลการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการบรรยายรายการ กลยุทธ์การบริหารจัดการการจัดกิจกรรมนำความรู้สู่สังคมของนักศึกษาร่วมกันระหว่างชุมชน ของกลุ่มวิทยาลัยในเครือไทย-เทค(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) จุฑารัตน์ แสงลอยการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเรื่องกลยุทธ์การบริหารจัดการจัดกิจกรรมนำความรู้สู่สังคมของนักศึกษาร่วมกันระหว่างชุมชนของกลุ่มวิทยาลัยในเครือไทย-เทค มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการดำเนินการการจัดกิจกรรมนำความรู้สู่สังคมร่วมกันระหว่างชุมชนของวิทยาลัยในเครือไทย-เทค 2) กำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการการจัดกิจกรรมนำความรู้สู่สังคมร่วมกันระหว่างชุมชนของวิทยาลัยในเครือไทย-เทค 3) ประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการการจัดกิจกรรมนำความรู้สู่สังคมร่วมกันระหว่างชุมชนของวิทยาลัยในเครือไทย-เทค โดยการดำเนินการวิธีวิจัยจัดทำเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาผลการดำเนินการจัดกิจกรรมนำความรุ้สู่สังคม ระยะที่ 2 กำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการการจัดกิจกรรมนำความรู้สู่สังคม และระยะที่ 3 ประเมินกลยุทธ์ในการจัดกิจกรรมการนำความรู้สู่สังคมร่วมกันระหว่างชุมชน (SSR) ของกลุ่มวิทยาลัยในเครือไทย-เทค โดยแบ่งเป็น 4 ด้านคือ พิจารณาความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความสอดคล้องและความเป็นประโยชน์ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน มีค่าความเชื่อมั่น 0.901 สถิติที่ใช้ วิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหารายการ การบริหารสถานศึกษาเอกชนระดับประถมศึกษาที่ใช้หลักสูตรที่เน้นการสอนด้วยภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิผล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) จิตนิภา สว่างแจ้งการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการหลักสูตรการสอนที่เน้นภาษาอังกฤษในสถานศึกษาเอกชนในระดับประถมศึกษาที่ผ่านการประเมินมาตรฐานสากล 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการหลักสูตรที่เน้นภาษาอังกฤษของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาตามความคาดหวังของผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง และ 3) เพื่อกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาที่เน้นภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิผล การวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารที่ผ่านการประเมินมาตรฐานสากล จำนวนทั้งสิ้น 2 โรงเรียน และผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง จำนวน 928 คน จากจำนวน 32 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test ANOVA แบบ Dunnett t3 และวิเคราะห์เนื้อหารายการ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นผู้นำเชิงจริยธรรมกับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ดุษฎี นาเสงี่ยมการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความเป็นผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 315 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแสดงความคิดเห็น มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.943 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยะ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันรายการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) พรพรรณ ประทุมชัยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ประชากรของการศึกษาเป็นครุกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) จำนวน 181 คน เครื่องมือวิจัย คือแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.942 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมุล ไก้แก่ ความถี่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นต้นรายการ การศึกษาความแตกต่างของเจนเนอเรชั่นที่มีต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จ. ปทุมธานี เขต 2(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) เขมมิรินทร์ ทุมลาการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษา จ. ปทุมธานี เขต 2 (2) ศึกษาความแตกต่างของสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูที่มีเจนเนอเรชั่นต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จ. ปทุมธานี เขต 2 จำนวนทั้งสิ้น 11 โรงเรียน ครู 274 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย X และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) ด้วยสถิติ F-Testรายการ ความสมบูรณ์ของสัญญารับตั้งครรภ์แทน(Sripatum University, 2567) รัฐธีร์ หนูเทศวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงเรื่องความสมบูรณ์ของสัญญารับตั้งครรภ์แทนและการนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะนิติกรรม-สัญญาที่มีอยู่ในปัจจุบันมาปรับใช้กับสัญญาตั้งรับครรภ์แทน เพื่อให้สัญญาตั้งรับครรภ์แทนเป็นสัญญาที่มีความสมบูรณ์ รวมถึงแนวทางในการบัญญัติกฎหมายที่เหมาะสมเกี่ยวกับสัญญารับตั้งครรภ์แทนในประเทศไทยรายการ นโยบายภาครัฐที่มีต่อการสนับสนุนและกำกับดูแลต่อธุรกิจขายตรงในประเทศไทย(Sripatum University, 2566) รชยา ศุภนราพรรค์การศึกษาเรื่อง "นโยบายภาครัฐที่มีต่อการสนับสนุนและกำกับดูแลต่อธุรกิจขายตรงในประเทศไทย" ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบในการสนับสนุนและการกำกับดูแลของภาครัฐที่มีต่อการดำเนินธุรกิจขายตรง และศึกษาถึงนโยบายของภาครัฐที่มีผลกระทบต่อนักธุรกิจขายตรงในประเทศไทย และผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 100 ชุด และเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคคนสุดท้ายจำนวน 400 ชุด ประมวลผลการศึกษาด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่า Rcgrcssion Analysis ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินร้อยล่ะ 5รายการ การบริหารงานของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ ระดับสถานีตำรวจ : ศึกษาเฉพาะกรณีกองบัญชาการตำรวจนครบาล(Sripatum University, 2566) จตุพร พลภักดีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานและการสนับสนุนการปฏิบัติงานตำรวจในด้านต่าง ๆ ของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ ระดับสถานีตำรวจ ในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างข้าราชการตำรวจ ที่สังกัดสถานีตำรวจในเขตกองบัญชาการตำรวจนครบาล แบ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 427 คน และจากการสัมภาษณ์ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Chi-square และ การทดสอบ Anovaรายการ คุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการตำรวจกองสวัสดิการ สำนักงานกำลังพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) วรฉัตร บุญสุยาการศึกษาเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน การรับรู้ความสามารถในการทำงาน ของตนเอง การรับรู้ระบบบริหาร ค่านิยมต่อการทำงาน ค่านิยมต่อราชการ และค่านิยมต่อบริการ และ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของข้าราชการตำรวจ กองสวัสดิการ สำนักงานกำลังพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามแก่ข้าราชการตำรวจทุกฝ่ายในหน่วยงานดังกล่าว 322 ชุด ได้รับการตอบกลับและนำมาประมวลผลได้ 224 ชุดคิดเป็นร้อยละ 69.9รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมในการปฎิบัติงานของพนักงานบริษัท ผลิตภัณฑ์คอนกรีตและวัตถุก่อสร้าง จำกัด(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) อภิรัตน์ ชื่นกลิ่นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับแรงจูงใจในการทำงาน (2) ระดับความผูกพันต่อองค์การ (3) พฤติกรรมการปฎิบัติงาน (4) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงาน (5) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ (6) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ และ (7) ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับพฤติกรรมการปฎิบัติงานของพนักงานบริษัท ผลิตภัณฑ์คอนกรีต และวัตถุก่อสร้าง จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานของบริษัท ผลิตภัณฑ์คอนกรีต และวัตถุก่อสร้าง จำกัด จำนวน 340 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์สถิติ t-test และสถิติ F-test จากผลการวิจัยพบว่า ความแตกต่างระหว่างบุคคลส่งผลให้บุคคลมีแรงจูงใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการปฎิบัติงานที่แตกต่างกัน โดยที่แรงจูงใจในการทำงานเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ และเมื่อพนักงานมีความผูกพันต่อองค์การแล้วย่อมทำให้พนักงานปฎิบัติหน้าที่ให้กับองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพรายการ การพัฒนา SOFT SKILLS ในการทำงานสำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต(Sripatum University, 2565) ธนกรณ์ ชัยธวัชการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา Soft Skills ในการทำงานสำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรีตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 2) เพื่อออกแบบและพัฒนา Soft Skills ในการทำงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตและ 3) เพื่อวัด Soft Skills ในการทำงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะ
- «
- 1 (current)
- 2
- 3
- »