GRA-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
การส่งล่าสุด
รายการ ความคิดเห็นของนิสิตปริญญาตรีที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) ฐิติรัตน์ สุพลธวณิชย์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตปริญญาตรีที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยรวมและรายด้าน และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนิสิตปริญญาตรีที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยรวมและรายด้าน เมื่อนิสิตมีสถานภาพต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 - 4 ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2552 จำนวน 264 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ทฤษฎีลิมิตกลาง และสุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาได้ค่า IOC ระหว่าง 0.50 – 1.00 หาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของครอนบาค ได้ค่า 0.97 การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยแจกแบบสอบถามและรับคืนด้วยตนเอง การวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยโดยการใช้ t-test วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป้นรายคู่โดยใช้วิธีเชฟเฟ่รายการ สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในเครือบดินทรเดชา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551) ชัยรัตน์ ล้ำฤทธิ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในเครือบดินทรเดชา และเพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในเครือ บดินทรเดชา จำแนกสถานศึกษา และแต่ละกลุ่มสาระ ในองค์ประกอบ 17 ด้านที่ขอบข่ายงานวิชาการของกระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้เป็นเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนจากสถานศึกษาในเครือบดินทรเดชา ปีการศึกษา 2550 ในการวิจัยใช้กลุ่มตัวอย่าง 215 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์และแปรผลการศึกษาโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติรายการ สภาพการพัฒนาการประกันคุณภาพสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินของสมศ.(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551) นันทพร มั่นทัพการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษามาตรฐาน ด้านผู้เรียน ด้านครู และด้านผู้บริหาร ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี และเพื่อเปรียบเทียบ สภาพการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษามาตรฐาน ด้านผู้เรียน ด้านครู และด้านผู้บริหาร ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี จำแนกตามขนาดของโรงเรียนและระดับการจัดการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูจำนวน 168 คน โดยการสุ่มแบบมีสัดส่วนจากปีการศึกษา 2549 -–2550 จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) ที่มีผลไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 28 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นหาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่น 0.93 และค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเป็นค่า IQC 1.00 และค่าความเที่ยงตรงภายใน (t-test) อยู่ระหว่าง 19.96 – 23.649 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยแจกและรับคืนด้วยตนเองจากกลุ่มตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างโดยใช้ค่า t-testรายการ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานของนักบินกองบิน 6(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) ธนากร เอี่ยมปานการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานของนักบินและเพื่อสร้างสมการการพยากรณ์พฤติกรรมการทำงานของนักบินกองบิน 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักบินกองบิน 6 จำนวน 114 คน เลือกแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม จำนวน 78 ข้อ หาความเชื่อมั่นใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าทั้งฉบับเท่ากับ 0.974 และค่าความเที่ยงตรงโดยหาค่า IOC มีค่าเท่ากับ 1.00รายการ รูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551) ชิตภณ ศานติสุขการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปแบบการตัดสินใจในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานคร และเพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา รูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาครอบคลุม งานบริหารสถานศึกษาทั้ง 4 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารวิชาการ 2) ด้านการบริหารงบประมาณ 3) ด้านการบริหารบุคคล 4) ด้านการบริหารทั่วไป ส่วนรูปแบบการตัดสินใจใช้แนวความคิดของวรูมและเยตตัน (Vroom and Yetton) มี 5 รูปแบบ คือ แบบที่ 1 ผู้บริหารใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว และตัดสินใจเอง แบบที่ 2 ผู้บริหารหาข้อมูลจากครูอาจารย์ในโรงเรียนก่อนแล้วตัดสินใจเอง แบบที่ 3 ผู้บริหารหารือกับครูอาจารย์ในโรงเรียนเป็นรายบุคคลแล้วตัดสินใจเอง แบบที่ 4 ผู้บริหารหารือกับครูอาจารย์ในโรงเรียนเป็นกลุ่มแล้วตัดสินใจเองและ แบบที่ 5 ผู้บริหารให้ครู อาจารย์ในโรงเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 316 คนรายการ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพี้นฐาน สำนักงานเขตพี้นที่การศีกษาระยองเขต 1(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2553) ภคพร น้อยมิ่งการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะผุ้บริหารที่มีประสิทธิภาพและปัจจัยที่สัมพันธ์กับลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่สัมพันธ์ลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต 1 จำนวน 125 คน สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 62 ข้อ หาความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมี่ค่าเท่ากับ 0.973 และค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเป็นค่า IOC เท่ากับ 1.00รายการ อุปสรรคในกฎหมายการลงทุนของไทยในการขอบัตรส่งเสริมสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) เตือนใจ ศรีละมัยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติและมีบทบาทสำคัญ ในการเป็นรากฐานของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของชาติ นอกจากนั้นก็ยังเป็นกลไกหลักในการฟื้นฟู และเสริมสร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจของชาติกับเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาความยากจน มีบทบาทในการจ้างงานอันเป็นแหล่งสร้างรายได้ของประชาชนที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากธุรกรรม การผลิต การค้าและบริการในขณะที่เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบและสินค้าขนาดกลางสนับสนุนกิจการขนาดใหญ่ เป็นแหล่งผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้า เพื่อการบริโภคในประเทศและเพื่อการส่งออก SMEs นำรายได้เข้าประเทศ เป็นแหล่งเริ่มต้นของการฝึกฝนพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงานตามแผนรายการ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์พยาบาลในภาควิชาพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โรงพยาบาลรามาธิบดี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2553) กวิตา เกิดมงคลการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) เกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์พยาบาลในภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการฏิบัติงานของอาจารย์พยาบาลใน ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์พยาบาลใน คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และ ตำแหน่งทางวิชาการ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 108 คน โดยใช้สูตรทฤษฎีลิมิตกลาง (The Central Limit Theorem) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเพื่อวัดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้านปัจจัยจูงใจ 6 ด้าน 48 ข้อ ด้านปัจจัยบำรุงรักษา 6 ด้าน 63 ข้อ คุณภาพของเครื่องมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.7 – 1.0 และมีค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของ Cronbach ได้ค่าแอลฟ่า เป็นรายด้านอยู่ระหว่าง 0.70 – 0.92 และรวมทั้งฉบับอยู่มีค่า 0.97 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามด้วยตนเองและรับกลับคืนภายหลังจากการแจก 1 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเฉลี่ยโดยการใช้ t-test และ f-test เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยใช้ Scheffe testรายการ ปัจจัยในการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนสอนภาษาจีนเอกชนของผู้ปกครองในเขตกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2555) ณฐพร ลิ้มสมบูรณ์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนสอนภาษาจีนเอกชนของผู้ปกครองในเขตกรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบการตัดสินใจของผู้ปกครองที่มีสถานภาพต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้ปกครองที่มีบุตรหรือผู้อยู่ในการปกครอง อายุ 4 – 12 ปี อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 410 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบความสอดคล้อง 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ หาโดยวิธีครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.790 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ แจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)รายการ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเตรียมทหาร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) อัญพัชร์ ปิยะวิชิตศักดิ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเตรียมทหาร และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 225 นาย เลือกแบบแบ่งชั้นภูมิ (Statified random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม จำนวน 143 ข้อ หาค่าความเชื่อมั่นใช้ a – Coefficient ของครอนบาค มีค่าทั้งฉบับ้ท่ากับ 0.892 และ ค่าความเที่ยงตรง (Validity) โดยหาค่า IOC มีค่าเท่ากับ 0.8973รายการ การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลตอการดำเนินงานของผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2557) ชลธิชา สุภาพการศึกษาเรื่อง “การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย” วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานของผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย จำแนกตามลักษณะของสถานประกอบการ และเพื่อศีกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) สำรวจข้อมูลโดยใช้วิธีการส่งไปรษณีย์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และด้วยตนเอง โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิง ได้แก่ One-Way ANOVA, Correlation Analysis และ Multiple Regression Analysisรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนเอกชนที่เน้นการสอนภาษาจีนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) ดลทิตยา รัตนสาขาการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการและการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนที่เน้นการสอนภาษาจีน และ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการ กับการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนที่เน้นการสอนภาษาจีน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร ครูสอนภาษาจีนและครูผู้สอน โรงเรียนเอกชนที่เน้นการสอนภาษาจีน จำนวน 170 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากการเทียบตารางของ Krekcie and Morgan และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โดยใช้แบบสอบถามที่ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา การใช้ภาษา โดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีเกณฑ์ในการตัดสินเลือกเฉพาะข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ที่คำนวณได้เท่ากับ 0.87 และนำแบบสอบถามไปทดสอบใช้กับ ผู้บริหาร ครูสอนภาษาจีน และครูผู้สอน ในโรงเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาความเชื่อมั่น โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปความเที่ยงของแบบสอบถามที่ยอมรับได้มีเท่ากับ 0.80รายการ เหตุจูงใจการเลือกศึกษาต่อระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของนักศึกษากลุ่มวิทยาลัยในเครือไทย-เทค(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) เอื้อมพร ชุ่มสีดาการศึกษาวิจัยเรื่อง เหตุจูงใจการเลือกศึกษาต่อระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของนักศึกษากลุ่มวิทยาลัยในเครือไทย-เทค มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเหตุจูงใจเลือกศึกษาต่อของนักศึกษากลุ่มวิทยาลัยในเครือไทย-เทค 2) เปรียบเทียบเหตุจูงใจการเลือกศึกษาต่อของนักศึกษากลุ่มวิทยาลัยในเครือไทย-เทค จำแนกตามข้อมูลพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษากลุ่มวิทยาลัยในเครือไทย-เทค ในเขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2558 ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 สุ่มตัวอย่างง่าย (Simple random sampling) ได้จำนวน 400 คน ระยะในการดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2558-มิถุนายน 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละและการทดสอบค่า F-Testรายการ การศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษา ของวิทยาลัยอาชีวศึกษา กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง ที่ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกในระดับดีมาก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) สายพิณ จำเดิมการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษา กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง ที่ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามในระดับดีมาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 5 คน และครูที่ทำหน้าที่หัวหน้างานประกันคุณภาพ 2 คน วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี และวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี ประจำปีการศึกษา 2558 ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสังเกต สนทนาพูดคุย ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาด้านการอาชีวศึกษา 1) มาตรฐานด้านผลการจัดการศึกษา 2) มาตรฐานการบริหารจัดการศึกษา 3) มาตรฐานการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4) มาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน รวบรวมข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis) และนำมาตีความหมาย หลังจากนั้นนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย การสรุป บรรยายรายการ การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของบทบาทผู้บริหารโรงเรียนนำร่องตามนโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) สะนิ แกละมงคลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ (1) เพื่อศึกษาบทบาทผู้บริหารโรงเรียนนำร่องตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร และ (2) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของผู้บริหารโรงเรียนนำร่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร ประชากรในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียนนำร่องที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 145 คน จาก 29 โรงเรียน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตัวเอง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์แสดงความต้องการจำเป้นโดยใช้ Priority Needs Index (PNI) การวิเคราะหืข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหารายการ การศึกษาเหตุผลจูงใจและความคาดหวังของผุ้ปกครองในการส่งนักเรียนเข้าศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือไทย-เทค(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2557) ศุภฤกษ์ ศรีชะฎาการศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาเหตุจูงใจและความคาดหวังของผู้ปกครองในการส่งนักเรียนเข้าศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือ ไทย-เทค และเพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการในการส่งเสริมให้ผู้ปกครองส่งนักเรียนเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือ ไทย-เทค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองนักเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในเครือ ไทย-เทค ปีการศึกษา 2558 จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ดปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพและการขับเคลื่อนสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) สุประวีณ์ ทิพย์โพธิ์การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพกับการขับเคลื่อนสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงานวิชาการ และหัวหน้างานประกันคุณภาพหรือครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 67 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม 2 แบบ ได้แก่ แบบสอบถามปลายปิด และแบบสอบถามปลายเปิด แบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันรายการ ผลของความรู้และเจตคติของบุคลากรที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือไทย-เทค(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) นงลักษณ์ ตระกูลวงศ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร (2) เพื่อศึกษาความรู้และเจตคติของบุคลากรเกี่ยวกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา และ (3) เพื่อศึกษาความรู้และเจตคติของบุคลากรเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือไทย-เทค การวิจัยนี้รวบรวมข้อมูลจากประชากร (Census) คือ ผู้บริหาร ครู และเจ้าหน้าที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเครือไทย-เทค ปีการศึกษา 2558 จำนวน 298 คน ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Regression Analysis)รายการ ตัวแปรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ e-Learning สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน เครือไทย-เทค(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2557) รังษิณี คอทองการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ e-Learning และ 2) เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ e-Learning ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนเครือ ไทย-เทค ประชากรของการศึกษา คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนเครือ ไทย-เทค ปีการศึกษา 2558 กลุ่มตัวอย่างถูกเลือกแบบมีระบบจำนวน 313 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ข้อมูลถูกวิเคราะห์และนำเสนอด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นต้นรายการ การศึกษาการบริหารงานวิชาการที่มุ่งเน้นคุณภาพของโรงเรียนประชานิเวศน์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) นงค์นุช วงศ์เหง้าการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการที่มุ่งเน้นคุณภาพของโรงเรียนประชานิเวศน์ ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มีผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test –ONET) ผ่านทั้ง 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2558 มีจำนวนหนึ่งโรงเรียน คือ โรงเรียนประชานิเวศน์ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีการวิจัยใช้รูปแบบการศึกษาเฉพาะกรณี (Case study method) โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structural Interviewing Guidelines) ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย รวมทั้งสิ้น 7 คน คือ ผู้บริหารโรงเรียน รองผู้บริหารฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ โดยนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และนำเสนอผลการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการบรรยาย