EGI-08. ผลงานนักศึกษา
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู EGI-08. ผลงานนักศึกษา โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 228
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ Strut and tie model สำหรับคานคอนกรีตอัดแรง ที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่(ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและการพัฒนาเมือง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) วัชรพล ภูพิมทอง; ชัยวัฒน์ หมื่นจันทร์; อภิชน ภิราญคำโครงงานฉบับนี้มุ่งเน้นสร้างแบบจำลอง Strut and tie model สำหรับคานคอนกรีตอัดแรงแบบไม่มีช่องเปิดและแบบมีช่องเปิด โดยทดสอบคานด้วยวิธี Center-Point Loading จากนั้นทำการเก็บข้อมูลของหน่วยการยืดหดในลวดอัดแรง เหล็กเสริมรับแรงดึง เหล็กเสริมรับแรงอัด และผิวคอนกรีตโดยใช้ Strain gauge พร้อมทั้งเก็บข้อมูลรอยร้าวที่เกิดขึ้นในคานทั้งสองแบบเพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาประกอบในการสร้างแบบจำลอง Strut and tie model ซึ่งจากข้อมูลการทดสอบสามารถสร้างแบบจำลองสำหรับคานคอนกรีตอัดแรงแบบไม่มีช่องเปิดได้ โดยอ้างอิงโครงข้อหมุนชนิด Howe Truss มีท่อนรับแรงอัดแนวทแยงบริเวณกึ่งกลางคานมีมุมเท่ากับ 54.7 องศา จากนั้นมุมจะลดลง 48, 46, 42 และ 39 องศา ตามลำดับจนถึงจุดรองรับจะมีมุมเท่ากับ 37.7 องศา จากการศึกษาและวิเคราะห์แรงในท่อน Strut ที่ผิวคานและท่อน Tie ที่เหล็กรับแรงดึงของแบบจำลองมีความคลาดเคลื่อน 0.0 % และ 8.5 % ตามลำดับ ส่วนแบบจำลองสำหรับคานคอนกรีตอัดแรงแบบมีช่องเปิดสามารถสร้างแบบจำลองได้โดยอ้างอิงโครงข้อหมุนผสมระหว่าง Howe Truss และ Fan Truss บริเวณกึ่งกลางคานจะใช้โครงข้อหมุนชนิด Howe Truss ซึ่งท่อนรับแรงอัดแนวทแยงจะมีมุมเท่ากับ 45.1 องศา จากนั้นจะใช้โครงข้อหมุนชนิด Fan Truss ในการกระจายแรงอัดแนวทแยงจากผิวบนไปสู่ผิวล่างและมีความลึกของท่อนรับแรงดึงแนวทแยงบริเวณช่องเปิดเท่ากับ 6.18 เซนติเมตร จากการศึกษาและวิเคราะห์แรงในท่อน Strut ที่ผิวคาน, ท่อน Tie ที่เหล็กรับแรงดึง และท่อน Tie บริเวณใกล้ช่องเปิดของแบบจำลองมีความคลาดเคลื่อน 0.005 %, 6.4 % และ 0.2 % ตามลำดับรายการ กระจกปรับความเข้มแสงอัจฉริยะ(สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) ธัชเทพ นาคพลั้ง; สิริมล กลัดงาม; อนุพงศ์ ชูชาติกระจกปรับความเข้มแสงอัจฉริยะรายการ การขจัดผลึกกำมะถันในแบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด(หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ปัญญา รอดวงษ์; จักรพงศ์ วงศทะยาน; ใบพร หนองหลวงโครงงานนี้เป็นการกล่าวถึง กระบวนการลดการสะสมของผลึกกำมะถัน อันเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสื่อมสภาพในแบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด โดยการสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ส่งพัลส์ความถี่สูงระดับเมกะเฮิรตซ์ ในช่วงความถี่ที่ เรโซแนนซ์กับความถี่การสั่นสะเทือนตามธรรมชาติของผลึกกำมะถัน พัลส์ความถี่สูงจะกระตุ้นให้ผลึกกำมะถันเกิดการสั่นสะเทือนที่รุนแรง จนสามารถหลุดออกจากแผ่นธาตุแบตเตอรี่ได้ เป็นการลดปัญหาการสะสมของผลึกกำมะถันที่ขัดขวางกระบวนการทางเคมีและบั่นทอนอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ เนื้อหาของโครงงานได้กล่าวถึงทฤษฎีการทำงานและคุณลักษณะเฉพาะของแบตเตอรี่ตะกั่วกรด การสั่นสะเทือนทางกลศาสตร์ของวัตถุ เพื่อนำมาสู่การออกแบบวงจรพัลส์ที่เหมาะสม มาใช้ในการทดลองกับแบตเตอรี่ ในสภาพต่างๆ แล้วนำผลการทดลองมาวิเคราะห์สรุปเปรียบเทียบสมรรถนะของแบตเตอรี่ที่ได้รับการขจัดผลึกกำมะถันรายการ การควบคุมกระบวนการผลิตบะหมี่สดโดยประยุกต์ใช้หลักปฏิบัติที่ดีในการผลิต(ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) กิตติภณ พรรณอำไพ; ฑิฆัมพร โภชนะวานิชย์; มงคล งามเพิ่มพูลศรีโครงงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาควบคุมกระบวนการผลิตบะหมี่ให้มีมาตรฐานและเพื่อเป็นแนวทางในการใช้หลักการ GMP ในการวิเคราะห์ศึกษากระบวนการผลิต โดยโครงงานนี้ได้นำทฤษฎีต่างๆ และมาตรฐานการผลิตมาประยุกต์ใช้ประกอบด้วย การวางผัง แผนภูมิการไหลของกระบวนการ (FLOW PROCESS CHART) การประเมินความเสี่ยง (CHECKLIST) ในการสำรวจศึกษาสภาพปัจจุบันพบว่าในกระบวนการการผลิตปัจจุบันนี้พนักงานส่วนใหญ่มักมีนิสัยมักง่าย ไม่ค่อยคำนึงถึงความสะอาดในการทำงานมากพอสมควร สาเหตุต่างๆเช่น การไม่สวมถุงมือ หมวก ผ้ากันเปื้อนเวลาที่ต้องสัมผัสกับบะหมี่ การล้วง แคะ แกะ เกา การทำกิจส่วนตัวเสร็จแล้วมาทำงานต่อ เลยอาจเป็นสาเหตุให้สิ่งสกปรกหรือจุลลินทรีย์เข้าสู่บะหมี่ได้โดยตรง จึงเป็นสาเหตุที่ต้องมีมาตรฐานการผลิตมาประยุกต์ใช้เพื่อควบคุมกระบวนการการผลิตที่มีมาตรฐาน (GMP) ต้องมีการอบรม การตรวจเช็คอุปกรณ์ก่อนเข้า LINE ผลิต มีอ่างล้างมือในบริเวณ LINE ผลิต ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อความต่อเนื่องในการผลิต มีเขตพื้นที่การทำงานและต้องมีการบำรุงรักษาและทำความสะอาดอุปกรณ์และเครื่องจักร ก่อน/หลัง การใช้งานอย่างสม่ำเสมอ จากการเปรียบเทียบก่อน/หลังการประยุกต์ใช้หลักมาตรฐานของ GMP ทำให้พนักงานมีความเข้าใจถึงมาตรฐานในกระบวนการผลิตมากขึ้น และคำนึงถึงความสะอาดตลอดเวลา เปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงที่บะหมี่สดจะมีสิ่งสกปรกเจือปนลดลงมากขึ้นรายการ การควบคุมความเร็วมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง ด้วยตัวควบคุม พีไอดี(สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) เฉลิมชัย โอษลี; พฤตินัย ล่ำสูง; อุฬาร ว่องธัญญการการควบคุมความเร็วมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง ด้วยตัวควบคุม พีไอดีรายการ การควบคุมมอเตอร์กระแสตรงโดยใช้ไมโครคอนโทรเลอร์(หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) นิมิตรชัย ชูปู; ฤทธิรงค์ พฤกษะศรีโครงงานนี้เป็นการนำเสนอตัวควบคุมมอเตอร์กระแสตรงโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์โดยรายละเอียดประกอบไปด้วยโครงสร้างพื้นฐานของชุดไทริสเตอร์ TCA785 ที่สามารถที่จะปรับหาค่ามุมเฟสได้ซึ่งโครงงานนี้จะประกอบไปด้วยชุดของวงจร TCA785 ชุดวงจรบริดชุดวงจรของวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์อาร์ม7 ผลที่ได้จากการทดสอบเป็นไปตามวัตถุประสงค์รายการ การควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์(หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบันฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ทนงศักดิ์ มีเดชา; ธีรศักดิ์ ราชชมภู; วสันต์ นาคประเสริฐโครงงานนี้เป็นการนำเสนอชุดควบคุม ดีซี มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบกระตุ้นแยก โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ขนาด 32 บิต เบอร์ เอลพีซี 2138 มาใช้ในการควบคุม โดยได้จากการศึกษารายละเอียดของวงจรและอุปกรณ์ ทำการสร้างชุดแหล่งจ่ายไฟ ดีซีบัสขนาดดีซี 15 โวลต์ 2 ชุด และดีซี 3.3 โวลต์ 1 ชุด แหล่งจ่ายดีซี 3.3 โวลต์ จ่ายให้กับชุดควบคุมหรือตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ และแรงดันดีซี 15 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับวงจรจุดฉนวนของวงจรชุดขับมอเตอร์ โดยใช้ ไอจีบีที เป็นอุปกรณ์สวิตช์เพื่อควบคุมการจ่ายกำลังไฟฟ้าให้กับวงจรอาร์เมเจอร์ของมอเตอร์ แบบ 2 ควอดแดร้นท์ ขนาด 300 วัตต์แรงดัน 48 โวลต์ และมีสัญญาณป้อนกลับได้จากเครื่องสร้างแรงบิด ด้วยอัตราส่วน 1 โวลต์ต่อ 1000 รอบ ส่วนระบบควบคุมใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ เออาร์เอ็ม 7 ขนาด 32 บิต เบอร์ เอลพีซี 2138 ซึ่งมีช่องแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นดิจิตอล ขนาด 10 บิต 8 ช่อง และมีช่องสัญญาณ พีดับเบิลยูเอ็ม ขนาด 10 บิต 6 ช่อง โดยเขียนโปรแกรมภาษาซี ใช้โปรแกรม เคียวเวอร์ชัน 3 คอมไฟล์เลอร์รายการ การควบคุมอินเวอร์เตอร์แบบสเปซเวคเตอร์ ที่มีการควบคุมกระแสมอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟส(หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ณัฐพล ประทีป ณ ถลาง; ไพวัลย์ พันธ์หนองหว้า; สุฒิ ฤทธิจันทร์โครงงานนี้ กล่าวถึงการประยุกต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์เหนี่ยวนำขนาด 1 แรงม้า แบบเวกเตอร์คอนโทรล โดยสร้างชุดคำสั่งด้วยภาษาซี และทำการป้อนความเร็วรอบผ่านปุ่มกดพร้อมด้วยแสดงผลผ่านจอภาพแอลซีดี เนื้อหากล่าวถึงทฤษฎีของอินดักชั่นมอเตอร์ วงจรเรียงกระแส 3 เฟส วงจรสนับเบอร์ การควบคุมแรงดันแบบ PWM อินเวอร์เตอร์ ทฤษฎีตัวควบคุมอัตโนมัติ ทฤษฎีของซิงเกิล-นิโคล (Ziegler-Nichols) ทฤษฎีของไอจีบีที เพื่อเปรียบเทียบการทดลองแบบไม่มีตัวควบคุมเวกเตอร์กับแบบมีตัวควบคุมแบบเวกเตอร์ ผลที่ได้คือตัวขับเคลื่อนแบบเวกเตอร์คอนโทรลให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าแบบที่ไม่มีชุดควบคุมรายการ การจัดลำดับความสำคัญในการเปลี่ยนท่อจ่ายน้ำประปาของการประปานครหลวง(ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและการพัฒนาเมือง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ภาณุพงษ์ ธนูทอง; ศศิกมล ณรงค์ศักดิ์; อาภากร นิลประภาพรโครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการหาแบบประเมินท่อจ่ายน้ำประปา เพื่อหาท่อที่มีความเสี่ยงในการแตกรั่วในพื้นที่ โดยใช้วิธีประเมินความเสี่ยง จากเกณฑ์ของแบบประเมิน จะต้องกำหนดปัจจัยในการประเมินออกเป็น 2 ด้านคือ ปัจจัยด้านโอกาสในการเกิดความเสี่ยง และ ด้านผลกระทบจากการเกิดความเสี่ยง โดยใช้ข้อมูลปัจจัยที่การประปานครหลวงมีมาทำการประเมิน ซึ่งปัจจัยด้านโอกาสในการเกิดความเสี่ยง ที่ใช้มีอยู่ 7 ปัจจัย ได้แก่ อายุท่อที่ วัสดุท่อ ขนาดท่อ ความเร็วน้ำภายในท่อ แรงดันสูงสุดที่ใช้งาน ระยะห่างจากสถานีสูบน้ำ และประวัติการแตกรั่ว และปัจจัยด้านผลกระทบจากการเกิดความเสี่ยง ที่ใช้มีอยู่ 3 ปัจจัย ได้แก่ ผู้ใช้น้ำรายใหญ่ในพื้นที่ ปริมาณการใช้น้ำในพื้นที่ และ ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยนำค่าปัจจัยมาให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินค่าน้ำหนัก จากนั้นนำมาวิเคราะห์ท่อจ่ายน้ำในพื้นที่ตัวอย่างตามลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม ราชการ และอุตสาหกรรม และนำค่าที่ได้ของแต่ละพื้นที่มาประมาณการเพื่อเปลี่ยนท่อจ่ายน้ำทั่วพื้นที่เขตรับผิดชอบของการประปานครหลวงด้วยวิธีประเมินความเสี่ยง โดยใช้การประมาณค่าจากพื้นที่ผังเมืองกรุงเทพมหานคร พบว่ามีระยะทางของท่อที่มีความเสี่ยงต้องทำการเปลี่ยนทั้งสิ้นประมาณ 3,590 ก.ม. เมื่อคิดเป็นงบประมาณปรับปรุงอยู่ที่ประมาณ 10,770 ล้านบาท โดยเมื่อคิดเป็นงบประมาณในแผนงานระยะเวลา 5 ปี ค่าปรับปรุงจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 15.50 ของงบประมาณทั้งหมด ซึ่งมีความเหมาะสมกับงบประมาณในส่วนอื่นรายการ การจัดลำดับงานการให้บริการงานซ่อมบำรุงร้านค้า(สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) เกียรติศักดิ์ โภคาพาณิชย์ปัจจุบันร้านอาหารได้มีการตั้งอยู่ในห้างสรพสินค้าอย่างแพรหลายอย่างเช่น ในเครือ ซุปเปอร์สโตร์ซึ่งทางร้านจะมีการใช้แก๊สเป็นปัจจัยหลักในการผลิตอาหารให้แก่ลูกค้า โดยระบบแก๊สจะต้องมีลำดับเวลาในการซ่อมบำรุง ปัจจุบันการวางแผนการจัดลำดับงานเพื่องานซ่อมบำรุง(PM)มีความสำคัญต่อห้างและศูนย์การค้าเป็นอย่างมาก บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจัดลำดับงานในการให้บริการซ่อมบำรุง (PM) และวิเคราะห์ปัญหาการซ่อมบำรุงที่อุปกรณ์มีการชำรุดแต่ไม่มีการเปลี่ยนอุปกรณ์ตามทีตรวจพบ จากการตรวจสอบพบว่าอุปกรณ์ที่ชำรุดไม่ได้มีการเปลี่ยนตามที่แจ้งไว้ก่อนหน้านี้ ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดลำดับงานและการซ่อมบำรุงจึงใช้ทฤษฎีการจัดลำดับงาน ทฤษฎีการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันและทฤษฎีก้างปลาเพื่อวิเคราะห์ปัญหารายการ การชุบโลหะทางไฟฟ้าด้วยสังกะสีโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์(หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ประพจน์ ประดุจพันธ์; ยุทธนา แต่แดงเพ็ชร; อาทิตย์ พลายแก้ว; แอนตาชิ พันธะโครงงานนี้เป็นการปรับเปลี่ยนส่วนประกอบต่างๆของโครงงานเดิมที่มีการใช้ต้นทุนในการสร้างสูงจึงได้นำโครงงานเก่ามาปรับปรุงแก้ไข เพื่อลดต้นทุนและพัฒนาให้ประสิทธิภาพดีขึ้น เครื่องชุบโลหะที่ปรับปรุงขึ้นใหม่นั้นได้ทำการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆหลายรายการและมีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือ ส่วนฮาร์ดแวร์ และส่วน ซอฟต์แวร์ ซึ่งส่วนของซอฟต์แวร์จะใช้โปรแกรมภาษาซีใช้ร่วมกับไมโครคอนโทรลเลอร์ ส่วนของฮาร์ดแวร์จะใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับเป็นส่วนของการเคลื่อนที่ และวงจรแหล่งจ่ายแรงดันต่างๆซึ่งจะได้กล่าวต่อไปในเนื้อหา ผลจากการทดลองพบว่าสามารถทำการชุบเคลือบผิวโลหะที่มีลักษณะผิวเรียบได้ดีและสามารถป้องกันสนิมได้ดีเมื่อเทียบกับโลหะที่ไม่มีการเคลือบผิวรายการ การซ่อมและแก้ไขออกแบบวงจรควบคุมรถยกแบบเครื่องที่ด้วยไฟฟ้าได้(หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) จิรพัฒน์ เกิดมณี; สนธิ อามินี; จารุพัน มนตรีศรี; ชัยพร พร้อมอุดมโครงการนี้เป็นการพัฒนาและออกแบบรถยกแบบเคลือนที่ด้วยไฟฟ้าสำหรับใช้ในการทำงานของการประปานครหลวง เพื่อทุ่นแรงความสะดวกและรวดเร็วในการยกวัสดุโดยรถยกนี้ประกอบไปด้วยชุดควบคุมการทำงานของมอเตอร์ขับเคลื่อน ชุดชาร์จประจุ ชุดแบตเตอร์รี่ และชุดไฮโดรลิก ซึ่งมอเตอร์ที่ใช้ในการขับเคลื่อนใช้แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงขนาด 24 โวลด์ 75 แอมป์ ใช้พลังงาน 1,300 วัตต์ และมอเตอร์ที่ใช้ทำงานกับไฮโดรลิกใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงขนาด 2,000 วัตต์โดยใช้แม็กเนติกคอนแทกเตอร์เป็นการควบคุมการทำงานของมอเตอร์รายการ การตรวจสอบคุณภาพวัสดุชั้นรองพื้นทางชนิดมวลรวมโดยหลักทางสถิติ(ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและการพัฒนาเมือง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ณัฐพงษ์ คำเผือกโครงงานนี้ มีวัตถุประสงค์ ศึกษาวิธีการการตรวจสอบคุณภาพวัสดุด้วยหลักสถิติ โดยยกกรณีศึกษาวัสดุชั้นรองพื้นทางของโครงการก่อสร้างถนน ตัวอย่างศึกษาเป็นลูกรังที่จัดหามาจาก 2 แหล่ง ที่ทดสอบคุณสมบัติแล้วว่าผ่านเกณฑ์คุณภาพของการตรวจรับในเบื้องต้น ก่อนถูกผสมกันและบดอัดเป็นชั้นรองพื้นทางขณะก่อสร้าง เกณฑ์ตรวจสอบคุณสมบัติของวัสดุรองพื้นทางของโครงการ ประกอบไปด้วยข้อกำหนด 5 ข้อคือ 1. ค่าขีดเหลวจะต้องไม่มากกว่า 35% 2. ค่าดัชนีความเป็นพลาสติกจะต้องไม่มากกว่า 11% 3. ค่าร้อยละผ่านตะแกรงเบอร์ 200 ไม่เกิน 20%ของตะแกรงเบอร์40 4. ค่าความแน่นแห้งสูงสุดไม่น้อยว่า 2100 kg/m3 และ 5.ค่า ซี.บี.อาร์ไม่น้อยกว่า 25%รายการ การตั้งงบประมานค่าก่อสร้างคอนโดมิเนียมโดยวิธีอนุมานฟัซซี่และ วิธีถดถอยพหุคูณ(ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและการพัฒนาเมือง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ณัฐภูมิ ศรีสุวรรณงานวิจัยนี้ศึกษาและพัฒนาเกี่ยวกับแบบจำลองการประมาณการราคาค่าก่อสร้างคอนโดมิเนียมโดยระบบอนุมานฟัซซี่ (ANFIS) พร้อมทั้งใช้แบบจำลองสมการถดถอยพหุคูณ (Multi Regression) เพื่อเปรียบเทียบความแม่นยำของแบบจำลองทั้งสองรูปแบบ โดยใช้ข้อมูลเชิงกายภาพของโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมที่ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จซึ่งแบ่งชุดข้อมูลเป็น 6 ปัจจัยนำเข้าจากผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ X1พื้นที่ขาย, X2 พื้นที่ก่อสร้าง, X3 พื้นที่ที่สามารถก่อสร้างได้, X4 จำนวนชั้นของอาคาร, X5 พื้นที่ของที่ดินโครงการมและ X6 ราคาค่าที่ดินโครงการต่อตารางวา จำนวน 30 โครงการ โดยใช้เป็นชุดข้อมูลฝึกสอนแบบจำลองจำนวน 27 โครงการ และเป็นชุดข้อมูลทดสอบแบบจำลองจำนวน 3 โครงการ พร้อมทั้งจำลองสถานการณ์เมื่อมีการปรับเปลี่ยนค่าปัจจัยในส่วนของพื้นที่ขายและราคาที่ดิน เพื่อศึกษาแนวโน้มของราคาค่าก่อสร้างคอนโดมิเนียมโดยใช้แบบจำลองทั้ง 2 แบบรายการ การติดตามตำแหน่งกำลังไฟฟ้าสูงสุดของเซลล์แสงอาทิตย์(สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) ฤทธิชัย แท่นนิล; วุฒิไกร เวียงพลออม; พูลสิทธิ์ ลำพวน; โกเมศ วงษ์ประเวศน์การติดตามตำแหน่งกำลังไฟฟ้าสูงสุดของเซลล์แสงอาทิตย์รายการ การถนอมอาหารด้วยพัลส์สนามไฟฟ้าแรงดันสูง(สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) สมเกียรติ อุทยารักษ์; ณัฐชัย ศรุติเกรียงไกร; อำพล ข้องเกี่ยวพันธ์การถนอมอาหารด้วยพัลส์สนามไฟฟ้าแรงดันสูงรายการ การทดสอบสมรรถภาพความแข็งแรงและอดทนของกล้ามเนื้อส่วนล่าง : ของผู้สูงอายุโดยใช้กล้องKINECT(สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) ณัฐวุฒิ วิจิตรแพทย์; ยงยุทธ มูลคำ; ยุทธนา หนูมาการทดสอบสมรรถภาพความแข็งแรงและอดทนของกล้ามเนื้อส่วนล่าง : ของผู้สูงอายุโดยใช้กล้องKINECTรายการ การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบไฟฟ้ากระแสตรงร่วมกับโอโซน(สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559) ไพบูลย์ แพงคำแหง; สุรศักดิ์ ศรีคำการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบไฟฟ้ากระแสตรงร่วมกับโอโซนรายการ การบำรุงรักษาเชิงป้องกันนั่งร้านแบบไฮดรอลิกส์(คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) นัฐเรศ บัวสุวรรณ์โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำ Preventive maintenance วิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการซ่อมบำรุงแบบมีการวางแผนให้เป็นระบบ เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขในการซ่อมบำรุง ในการทำโครงการนี้เริ่มจากการศึกษาข้อมูลปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษาโดยใช้การสังเกตุ สอบถาม สัมภาษณ์และจดบันทึกข้อมูลจากพนักงานบริษัท การศึกษาขั้นต้นจะทำการหาเก็บข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุดในการซ่อมบำรุง โดยเก็บข้อมูลจากสถิติสรุปผลในเดือนกันยายน-ธันวาคม2560 ของบริษัทกรณีการซอมบำรุงในรูปแบบเก่า เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดและมีการเสียมากที่สุด จากนั้นได้ศึกษาการกระบวนการซ่อมบำรุงแบบการทำ Preventive maintenance จากการได้พบปัญหาข้อบกพร่องแล้วได้นำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อหาปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหาโดยใช้ทฤษฎีของ แผนภูมิพาเรโตในการหาชิ้นงานที่ผิดพลาดมากที่สุด แล้วจึงนำแผนภูมิก้างปลาเข้ามาช่วยในการหาสาเหตุที่แท้จริง จากนั้นจึงใช้เทคนิควงจรคุณภาพ PDCA (P) วางแผน (D) ปฎิบัติ (C) ตรวจสอบ (A) ดำเนินการให้เหมาะสมรายการ การบำรุงรักษาเชิงแก้ไข(นั่งร้านแบบริงล็อค)(สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) นที ปิ่นวงษ์เพชรโครงงานนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำ Corrective Maintenance วิเคราะห์และซ่อมบำรุงแบบมีการวางแผนให้เป็นระบบ เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขในการซ่อมบำรุง ในการทำโครงการนี้เริ่มจากการศึกษาข้อมูลปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษาโดยใช้การสังเกต สอบถาม สัมภาษณ์และจดบันทึกข้อมูลจากพนักงานบริษัท การศึกษาขั้นต้นจะทำการหาเก็บข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุดในการซ่อมบำรุง โดยเก็บข้อมูลจากสถิติสรุปผลในเดือนกันยายน-ธันวาคม 2560 ของบริษัทกรณีการซอมบำรุงในรูปแบบเก่า เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดและมีการเสียมากที่สุด จากนั้นได้ศึกษาการกระบวนการซ่อมบำรุงแบบการทำ Corrective Maintenance จากการได้พบปัญหาข้อบกพร่องแล้วได้นำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อหาปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหาโดยใช้ทฤษฎีของ แผนภูมิพาเรโตในการหาชิ้นงานที่ผิดพลาดมากที่สุด แล้วจึงนำแผนภูมิก้างปลาเข้ามาช่วยในการหาสาเหตุที่แท้จริง