EGI-08. ผลงานนักศึกษา
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
การส่งล่าสุด
รายการ การศึกษาระยะเวลากิจกรรมงานก่อสร้างพื้นคอนกรีตอัดแรง(ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและการพัฒนาเมือง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) เสกสรร โพธิจินดา; พงค์ดนัย อำภัยฤทธิ์; จิรทีปต์ กาวชูการศึกษาการจัดการวางแผนงานก่อสร้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการวิเคราะห์หาระยะเวลาของโครงการและพัฒนาแผนงานก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพ ในโครงงานนี้จะขอกล่าวถึงงานก่อสร้างคอนโดมิเนียม ในส่วนของพื้นคอนกรีตอัดแรง ที่มีพื้นที่ทำงานแต่ละชั้นเท่าๆกัน ซึ่งงานก่อสร้างคอนโดมิเนียมจัดเป็นงานก่อสร้างที่มีลักษณะของกิจกรรมงานที่ทำซ้ำๆกัน โดยวางแผนงานก่อสร้างตามหลักทฤษฎี Even Flow Construction ซึ่งเป็นการวางแผนงานโดยกำหนดวันทำงานแต่และลูปให้เท่ากัน ซึ่งแต่ลูปจะทำงานต่อเนื่องกันไม่มีช่องว่างของเวลา (Buffer) จากการศึกษางานพื้นคอนกรีตอัดแรงพบว่า สามารถแบ่งกิจกรรมออกได้เป็น 20 กิจกรรม แต่ละกิจกรรมย่อยสามารถจัดแบ่งออกได้เป็นลูปหลายๆลูป ตามกิจกรรมงานที่เกิดขึ้นก่อนหลังตามลำดับ ในโครงงานนี้จะศึกษาระยะเวลาก่อสร้างที่ 4 วัน 5 วัน 6 วัน 7 วันและ 8 วัน ต่อ 1 ชั้น และเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายทางตรง (Direct Cost) ค่าใช้จ่ายทางอ้อม (Indirect Cost) เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่างเวลาและค่าใช่จ่ายที่ต่ำสุด (Optimum) ของโครงการก่อสร้างรายการ เทคนิคการปรับปรุงเพื่อสนับสนุนระบบมาตรฐานความปลอดภัยในการผลิตอาหาร (FSSC22000) ของส่วนการผลิตล่วงหน้า(สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) นิพัฒน์ พันธุ์โคกการวางแผนการผลิตหลัก การวางแผนความต้องการวัสดุ การวิเคราะห์อันตราย คู่มือปฏิบัติงานรายการ การประยุกต์ใช้ซอฟท์แวร์ Tekla Structures เพื่อประเมินปริมาณคอนกรีตและเหล็กเสริมของโครงสร้างสะพาน(คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) จารุวรรณ พัตสุวรรณการประยุกต์ใช้ซอฟท์แวร์ Tekla Structures เพื่อประเมินปริมาณคอนกรีตและเหล็กเสริมของโครงสร้างสะพานมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาค่าอัตราส่วนปริมาณเหล็กเสริมและปริมาณคอนกรีตฐานรากโดยใช้โปรแกรมเทคล้า และเสาตอม่อสะพานข้ามคลอง 20 กม.ที่ 25+950 จากการศึกษาทรายถึงทฤษฎีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสะพานความรู้เกี่ยวกับการเขียนแบบสามมิติโดยใช้โปรแกรมเทคล้า (Tekla Structure Learning) หลักเกณฑ์การวัดปริมาณงานก่อสร้าง เกณฑ์การเผื่อและการคำนวณปริมาณวัสดุมวลรวมต่อหน่วยและทฤษฎีการวิเคราะห์จากสมการถดถอยและสัมประสิทธิ์ของการตัดสินใจ จากการสร้างโมเดลจากโปรแกรมเทคล้า งานเหล็กเสริมและงานคอนกรีตของโครงสร้างฐานรากและตอม่อสะพาน สามารถถอดปริมาณงานโดยใช้คำสั่ง Report แล้วนำมาเก็บข้อมูลใส่ตาราง โดยกำหนดตัวแปร X คือปริมาณคอนกรีตและตัวแปร Y คือ น้ำหนักเหล็กเสริม ผลการศึกษาพบว่าได้สมการของการค่าอัตราส่วนระหว่างปริมาณงานเหล็กเสริมและปริมาณงานคอนกรีตของโครงสร้างฐานรากและเสาตอม่อ ได้ดังนี้ คือ ปริมาณงานสำหรับฐานราก สมการคือ Y = 227.38X และค่าสัมประสิทธิ์ตัดสินใจ (R2) เท่ากับ 0.779 และจากปริมาณงานสำหรับเสาตอม่อ สมการคือ Y = 135.52X และค่าสัมประสิทธิ์ตัดสินใจ (R2) เท่ากับ 0.9188 และได้ทำการนำข้อมูลที่ได้จากการคำนวณมือมาใช้เปรียบเทียบหาค่าความคลาดเคลื่อนของปริมาณงานเหล็กเสริมและคอนกรีตของฐานรากและเสาตอม่อ มีค่าความคลาดเคลื่อน ซึ่งสมการดังกล่าว สามารถนำไปใช้ในการถอดปริมาณงานก่อสร้างโครงการได้อย่างรวดเร็วแต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าการถอดปริมาณงานก่อสร้างโดยวิธีการคำนวณมือ โปรแกรมเทคล้านั้นเป็นเพียงโปรแกรมการทดลองสำหรับนักศึกษารายการ การวิเคราะห์อัตราการใช้เชื้อเพลิงเพื่อลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงของรถบรรทุก(สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) วัชระชัย รัตนสุวรรณการใช้พลังงานในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นตามการพัฒนาของเศษฐกิจในการแข่งขันด้านการขนส่งทางการค้าทำให้สถานประกอบการต้องมีการปรับตัวที่รวดเร็วเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ต้องแบกรับต้นทุนด้านเชื้อเพลิงในการขนส่งมากขึ้นส่งผลของการจัดหาเชื้อเพลิงในประเทศ โครงงานสหกิจศึกษานี้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการลดใช้เชื้อเพลิงในกิจการขนส่งจึงได้ศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของรถบรรทุก ในการวิเคราะห์อัตราการใช้เชื้อเพลิงพบว่าก่อนปรับปรุงมีอัตราการใช้เชื้อเพลิงเฉลี่ยอยู่ที่ 2.38 กม./ลิตร โดยใช้เครื่องมือทางสถิติในลักษณะของ Statistical Process Control ในการควบคุมการใช้เชื้อเพลิงของรถบรรทุกแต่ละคันและการวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปร ได้แก่ ระยะทางและเชื้อเพลิงที่ใช้ นำมาหาสาเหตุการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจากผังแสดงเหตุและผล สู่การเสนอแนวทางและมาตราการลดใช้เชื้อเพลิง พบว่าคุณภาพของยางรถบรรทุกมีอายุการใช้งานกว่า 5 ปี ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการใช้เชื้อเพลิงในสภาวะการทำงานปัจจุบันของสถานประกอบการตัวอย่างนี้จึงได้ทำปรับเปลี่ยนยางรถบรรทุก 10 ล้อ จำนวน 32 คัน โดยหลังการปรับปรุงอัตราการใช้เชื้อเพลิงเฉลี่ยอยู่ที่ 2.88 กม./ลิตร หรือคิดเป็น 21.18% ของค่าอัตราการใช้เชื้อเพลิงเฉลี่ย โดยสามารถสรุปเชื้อเพลิงที่ผู้ประกอบการสามารถประหยัดได้จากการปรับปรุง คิดเป็นน้ำมันดีเซล 19,887.19 ลิตรรายการ การจัดลำดับงานการให้บริการงานซ่อมบำรุงร้านค้า(สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) เกียรติศักดิ์ โภคาพาณิชย์ปัจจุบันร้านอาหารได้มีการตั้งอยู่ในห้างสรพสินค้าอย่างแพรหลายอย่างเช่น ในเครือ ซุปเปอร์สโตร์ซึ่งทางร้านจะมีการใช้แก๊สเป็นปัจจัยหลักในการผลิตอาหารให้แก่ลูกค้า โดยระบบแก๊สจะต้องมีลำดับเวลาในการซ่อมบำรุง ปัจจุบันการวางแผนการจัดลำดับงานเพื่องานซ่อมบำรุง(PM)มีความสำคัญต่อห้างและศูนย์การค้าเป็นอย่างมาก บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจัดลำดับงานในการให้บริการซ่อมบำรุง (PM) และวิเคราะห์ปัญหาการซ่อมบำรุงที่อุปกรณ์มีการชำรุดแต่ไม่มีการเปลี่ยนอุปกรณ์ตามทีตรวจพบ จากการตรวจสอบพบว่าอุปกรณ์ที่ชำรุดไม่ได้มีการเปลี่ยนตามที่แจ้งไว้ก่อนหน้านี้ ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดลำดับงานและการซ่อมบำรุงจึงใช้ทฤษฎีการจัดลำดับงาน ทฤษฎีการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันและทฤษฎีก้างปลาเพื่อวิเคราะห์ปัญหารายการ การประเมินค่าผลิตภาพงานฉาบปูนโดยใช้วิธีการประเมินหน้างานและ วิธีการประเมินแบบ 5 นาที(สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ศิริลักษณ์ สุพงษ์โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินค่าผลิตภาพของงานฉาบปูนผนังภายในอาคาร ด้วยวิธีประเมินหน้างานและวิธีประเมินแบบ 5 นาที ตัวอย่างศึกษาเป็นแรงงานก่อสร้าง 3 กลุ่มที่ทำงานก่อสร้างอาคารเรียนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพฯ โดยแบ่งย่อยกระบวนการก่อสร้างที่ศึกษาวัดค่าผลิตภาพออกเป็น 3 กลุ่มแรงงาน ผลศึกษาพบว่าค่าผลิตภาพที่ประเมินได้จากวิธีประเมินหน้างานได้ค่าเฉลี่ยของร้อยละการทำงานทั้ง 3 กลุ่มแรงงาน มีค่าร้อยละการทำงานดังนี้ 87.81%, 86.52% และ 81.65% ในขณะที่วิธีประเมินแบบ 5 นาทีได้ค่าสัดส่วนผลิตผล 80.28%, 82.38% และ 83.50% ตามลำดับ ผลศึกษาได้ค่าอัตราการผลิต ในการฉาบปูนผนังภายในเฉลี่ย 6.70 ตารางเมตร/คน/วัน และได้ผลสรุปว่าวิธีการประเมินแบบ 5 นาทีได้ผลวัดค่าผลิตภาพที่แม่นตรงกว่าและต่ากว่าวิธีประเมินหน้างานรายการ การประยุกต์ใช้ BIM ในงานก่อสร้างสะพานเพื่อหาค่าการสูญเสียปริมาณคอนกรีต(คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) สไปรท์ แขกสินทรการศึกษานี้จะเปรียบเทียบค่าความแตกต่างของปริมาณคอนกรีตที่ใช้ในการก่อสร้างสะพาน จากแบบเพื่อการก่อสร้าง ( Construction Drawing ) กับปริมาณคอนกรีตที่ใช้จริงในหน้างาน โดย ใช้ระบบ BIM โดยใช้ข้อมูลจากการก่อสร้างสะพานตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2560 ถึง 28 เมษายน 2560 พบว่าค่าแตกต่างของปริมาณคอนกรีตระหว่างโปรแกรมสเก็ตอัพกับปริมาณคอนกรีตจากหน้า งานจริงเท่ากับ 10.78% โดยเสาตอม่อมีปริมาณคอนกรีตคลาดเคลื่อนระหว่างโปรแกรมสเก็ตอัพกับ หน้างานจริงเท่ากับ 13.60% คานรัดหัวเสามีปริมาณคอนกรีตคลาดเคลื่อนระหว่างโปรแกรมสเก็ตอัพ กับหน้างานจริงเท่ากับ 16.43% และคานมีปริมาณคอนกรีตคลาดเคลื่อนระหว่างโปรแกรมสเก็ตอัพ กับหน้างานจริงเท่ากับ 6.78%มีความคลาดเคลื่อนจากเดิมไปไม่มากนักรายการ การประยุกต์ใช้ Building Information Modeling: BIM ในงานก่อสร้างสะพาน เพื่อหาค่าการสูญเสียปริมาณของเหล็ก(สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ธนพงษ์ ปัญญายืนการศึกษานี้จะเปรียบเทียบค่าความแตกต่างของปริมาณเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างสะพาน จากแบบเพื่อการก่อสร้าง (Construction Drawing) กับปริมาณเหล็กที่ใช้จริงในหน้างานโดยใช้ระบบ Building Information Modeling: BIM โดยใช้ข้อมูลจากวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2560 พบว่าค่าความแตกต่างรวมทั้งโครงการที่ได้เก็บข้อมูล 10.02 % การก่อสร้างโดยเสามีความคลาดเคลื่อนที่ 4.93 % คานมีความคลาดเคลื่อนที่ 7.63 % คานรับพื้นมีความคลาดเคลื่อนที่ 0% พื้นมีความคลาดเคลื่อนที่ 0.38 ผู้ศึกษาเก็บข้อมูลจากการศึกษาจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน คือ เอกสาร/ตำราเว็บไซต์ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในการทำงาน จากการเก็บข้อมูลปริมาณงานสะพานจากหน้างาน และข้อมูลจากโปรแกรมทำการศึกษาระหว่างวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560 – 28 เมษายน พ.ศ. 2560 จากการศึกษาข้อมูลทั้งหมดเห็นได้ว่าความสูญเสียจะเกิดขึ้นไม่มากเนื่องจากการก่อสร้างในหน้างานมีความผิดพลาดที่น้อยจึงทำให้เกิดการสูญเสียที่น้อยลงรายการ การประยุกต์ใช้นิวโรฟัซซี่แบบปรับตัวได้ในการกำหนดราคาแบบหล่อคอนกรีต(หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม., 2563) นิคม หล้าคำการกําหนดราคาแบบหล่อ (Formwork) เป็นการกําหนดงบประมาณแบบหล่อคอนกรีต ให้สอดคล้องกับงบประมาณงานไม้แบบของโครงการที่ได้วางแผนไว้ โดยทั่วไปการตั้งงบประมาณแบบ หล่อคอนกรีตของโครงการจะประมาณโดยอาศัยประสบการณ์ของผู้จัดการโครงการ ซึ่งจะทําให้ งบประมาณเป็นไปตามเป้าหมาย รวมถึงไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรรายการ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานกระบวนการผลิตสายน้ำยาแอร์รถยนต์(สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) คเนตร์ พันสนิทปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่มนุษย์และสิ่งมีชีวิต กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับจึงทำให้มีกฎหมายและมาตรฐานเช่น ISO 14001 ขึ้นมา โครงงานนี้ได้ทำการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้กับบริษัท ฟอร์มูล่า อุสาหกรรมจำกัด ซึ่งพบว่ามีปัญหาหลายด้าน เช่น ควัน น้ำเสีย เสียง เศษโลหะ คราบน้ำมัน ขยะ เป็นต้น จึงเข้าไปตรวจประเมินปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสายน้ำยาแอร์ เพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นและยังเป็นการวางรากฐานเพื่อทำการรับรองมาตรฐาน ISO 14001 : 2015 อีกด้วย โดยการประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมจะใช้วิธีการประเมินแบบวิเคราะห์ถึงสาเหตุเกณฑ์การประเมินจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักใหญ่ คือ เกณฑ์พิจารณาโอกาสจะเกิดปัญหา เกณฑ์พิจารณาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม และเกณฑ์พิจารณาการใช้ทรัพยากรรายการ การลดความสูญเปล่าในสายการผลิตตัวถังรถ(คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ทศพล กาทิพย์เนื่องจากปัจจุบัน ได้มีการแข่งขันในด้านเทคโนโลยีด้านยนต์กรรมมากมายย่อมมีผลเสียใน การผลิตผลเสียนั้นได้มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาจากแล้วทําการรวบรวมข้อมูลผล 100% ของเฟนเดอ หลังและเสาเอ 98% ทีมของ Engineering ได้ทําการถอดทิมออกจึงได้ผลที่น่าพึงพอใจจากการ ปรับปรุงของเสียได้ลดลง ซ้าย1 40% ขวา5 30%และหาทางออกให้เกิดผลเสียให้น้อยที่สุดทีมงานได้มีหาข้อมูลให้แน่ชัดและแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดโดยใช้วิธีการแผนภูมิก้างปลามาวิเคราะห์หาสาเหตุช่วย ลดปัญหา บริษัทจึงมีการพัฒนาคุณภาพและคนขององค์กรให้มีความทันสมัยกับงานขององค์กร บริษัทจึงได้มุ่งเน้นคุณภาพและความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่งเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ขับขี่รถ และรถทุกคันที่ออกมาตนองมีคุณภาพ 100% เมื่อถึงมือลูกค้ารายการ การบำรุงรักษาเชิงป้องกันนั่งร้านแบบไฮดรอลิกส์(คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) นัฐเรศ บัวสุวรรณ์โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำ Preventive maintenance วิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการซ่อมบำรุงแบบมีการวางแผนให้เป็นระบบ เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขในการซ่อมบำรุง ในการทำโครงการนี้เริ่มจากการศึกษาข้อมูลปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษาโดยใช้การสังเกตุ สอบถาม สัมภาษณ์และจดบันทึกข้อมูลจากพนักงานบริษัท การศึกษาขั้นต้นจะทำการหาเก็บข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุดในการซ่อมบำรุง โดยเก็บข้อมูลจากสถิติสรุปผลในเดือนกันยายน-ธันวาคม2560 ของบริษัทกรณีการซอมบำรุงในรูปแบบเก่า เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดและมีการเสียมากที่สุด จากนั้นได้ศึกษาการกระบวนการซ่อมบำรุงแบบการทำ Preventive maintenance จากการได้พบปัญหาข้อบกพร่องแล้วได้นำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อหาปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหาโดยใช้ทฤษฎีของ แผนภูมิพาเรโตในการหาชิ้นงานที่ผิดพลาดมากที่สุด แล้วจึงนำแผนภูมิก้างปลาเข้ามาช่วยในการหาสาเหตุที่แท้จริง จากนั้นจึงใช้เทคนิควงจรคุณภาพ PDCA (P) วางแผน (D) ปฎิบัติ (C) ตรวจสอบ (A) ดำเนินการให้เหมาะสมรายการ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของเสีย 7 อย่างในการวิเคราะห์และแก้ไขขั้นตอนกระบวนการประกอบชิ้นสวนเครื่องปรับอากาศ(สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) เอกพล ยอดแก้วโครงงานนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการในการตรวจสอบ การประกอบคอยล์ร้อน เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขในกระบวนการประกอบชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศ ในการทำโครงการนี้เริ่มจากการศึกษาข้อมูลปัจจุบันของษริษัทกรณีศึกษาโดยใช้การสังเกตุ สอบถาม สัมภาษณ์และจดบันทึกข้อมูลจากพนักงงานบริษัท การศึกษาขั้นต้นจะทำการหาเก็บข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุด โดยเก็บข้อมูลจากสถิติสรุปผลในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์2561 ของบริษัทกรณีศึกษา และได้ทำการเก็บข้อมูลจากการส่งสินค้า ของบริษัทในช่วงเดือนมกราคมกุมภาพันธ์ 2561 เพื่อหาที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดและมีการเสียค่าใช้จ่ายมากที่สุด จากนั้นได้ศึกษาทฤษฎีของเสีย 7 อย่างมาวิเคราะห์แก่ไขปัญหากกระบวนการประกอบชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศตั้งแต่ต้นจนถึงกระบวนการบรรจุว่าสาเหตุการการประกอบเครื่องปรับอากาศผิด แผนกใดที่มีส่วนรับผิดชอบ จากการได้ปัญหาข้อบกพร่องแล้วได้นำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อหาปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหาโดยใช้ทฤษฎีของเสีย 7 อย่างมาวิเคราะห์แก่ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้แผนภูมิพาเรโตในการหาชิ้นงานที่ผิดพลาดมากที่สุด แล้วจึงนำแผนภูมิก้างปลาเข้ามาช่วยในการหาสาเหตุที่รายการ การวิเคราะห์และปรับปรุงความผิดพลาดการส่ง PART กระบวนการประกอบคอยล์ร้อน กรณีศึกษา: บริษัท โตชิบา แคเรียร์ (ประเทศไทย) จำกัด(สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) การะเกด มีชนะโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์และปรับปรุงความผิดพลาดการส่ง Part กระบวนการประกอบคอยล์ร้อน เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขในความผิดพลาดการส่งPart กระบวนการประกอบ ในการทำโครงการนี้เริ่มจากการศึกษาข้อมูลปัจจุบันของ ษริษัทฯกรณีศึกษาโดยใช้การสังเกตุ สอบถาม สัมภาษณ์และจดบันทึกข้อมูลจากพนักงานบริษัทฯลฯ การศึกษาขั้นต้นจะทำการหารูปแบบของชิ้นงานที่เกิดความผิดพลาดมากที่สุด และได้ทำการเก็บข้อมูลจากการเกิด DOWE TIME ของบริษัทฯลฯ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2561 เพื่อหาชิ้นงานที่มีการเสียค่าใช้จ่ายมากที่สุดและที่ผิดพลาดบ่อยที่สุด จากนั้นได้ศึกษาการส่งชิ้นงานตั้งแต่ต้น-จนจบกระบวนการประกอบ ถึงสาเหตุการผิดพลาดนั้นเกิดจากแผนกรับผิดชอบใด เมื่อได้ปัญหาข้อบกพร่องแล้วได้นำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น เพื่อหาปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหาโดยใช้ ทฤษฎีแผนภูมิแสดงเหตุและผล เข้ามาหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะนำเทคนิค FMEA สำหรับกระบวนการ เข้ามาประเมินหาค่าประเมินความเสี่ยง(RPN) โดยนำ ข้อบกพร่องที่มีค่า RPN ที่มีค่ามากใน 3 อันดับแรกนำมาทำการแก้ไขก่อน โดยได้ทำการแก้ไขด้วยหลักมาตราการตอบโต้ สำหรับเทคนิคFMEA หาทำการวิเคราะห์แก้ไขจากสาเหตุข้อบกพร่อง และนำมาให้ทีมประเมิน FMEA ทำการประเมินการปรับปรุง ครั้ง 1 โดย เพื่อเปรียบเทียบถึงข้อมูลความผิดพลาดที่ได้ทำการแก้ไขแล้วรายการ การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ กรณีศึกษา บริษัท สักทอง(ไทย) จำกัด(สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) วรพล พินสำราญปัจจุบันมีการแข่งขันของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ทั้งรายใหญ่และรายย่อยเป็นจำนวนมากในด้านของราคา คุณภาพ และการบริการส่งมอบให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า ทางผู้ศึกษาวิจัย จึงนำสถานการณ์มาวิเคราะห์หาปัญหา สาเหตุและวิธีการแก้ไข ซึ่งผู้ศึกษาได้ลงเก็บข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุด้วยแผนภูมิก้างปลา ทำให้เห็นปัญหาว่า สินค้าผลิตล่าช้า ไม่ทันตามแผนงาน และส่งมอบลูกค้าล่าช้า เกิดจากในสายการผลิตมีการรองาน งานขาดมือและมีจุดคอขวดรายการ การบำรุงรักษาเชิงแก้ไข(นั่งร้านแบบริงล็อค)(สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) นที ปิ่นวงษ์เพชรโครงงานนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำ Corrective Maintenance วิเคราะห์และซ่อมบำรุงแบบมีการวางแผนให้เป็นระบบ เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขในการซ่อมบำรุง ในการทำโครงการนี้เริ่มจากการศึกษาข้อมูลปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษาโดยใช้การสังเกต สอบถาม สัมภาษณ์และจดบันทึกข้อมูลจากพนักงานบริษัท การศึกษาขั้นต้นจะทำการหาเก็บข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุดในการซ่อมบำรุง โดยเก็บข้อมูลจากสถิติสรุปผลในเดือนกันยายน-ธันวาคม 2560 ของบริษัทกรณีการซอมบำรุงในรูปแบบเก่า เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดและมีการเสียมากที่สุด จากนั้นได้ศึกษาการกระบวนการซ่อมบำรุงแบบการทำ Corrective Maintenance จากการได้พบปัญหาข้อบกพร่องแล้วได้นำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อหาปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหาโดยใช้ทฤษฎีของ แผนภูมิพาเรโตในการหาชิ้นงานที่ผิดพลาดมากที่สุด แล้วจึงนำแผนภูมิก้างปลาเข้ามาช่วยในการหาสาเหตุที่แท้จริงรายการ การปรับปรุงกระบวนการตัดแบ่งสายไฟ กรณีศึกษา : บริษัท คอมมิวนิเคชั่น แอนด์ ซิสเต็มส์ โซลูชั่น จํากัด (มหาชน)(สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) กฤษณวัฒน์ โพธิ์ศรีบริษัท คอมมิวนิเคชั่น แอนด์ ซิสเต็มส์ โซลูชั่น จํากัด(มหาชน) ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการตัดแบ่งสายไฟเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีการจัดทำโครงงานฉบับนี้ขึ้นเพื่อศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุจุดบกพร่องที่จะสามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยเครื่องมือของวิศวกรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ ประกอบด้วย แผนผังแสดงเหตุและผล หลังจากที่ได้ทำการศึกษาและเก็บข้อมูล ก็พบว่า กระบวนการตัดแบ่งสายไฟนั้นมี 8 ขั้นตอน จากการนำแผนผังแสดงเหตุและผล Why-Why Analysis มาวิเคราะห์ ซึ่งทำให้ทราบคือ การหาสินค้าใช้เวลามากเกินไป จึงนำหลักการของ ECRS มาปรับปรุง โดยการใช้หลักของ S Simplify (การทำให้ขั้นตอนนั้นง่ายขึ้น) มาทำการจัดเรียงสินค้าให้เป็นโซนตามชนิดของสินค้าและได้ใช้การวางผังมาช่วยในการปรับปรุงพื้นที่จัดเก็บของสินค้าเพื่อให้การจัดเรียงนั้นสอดคล้องกับการเข้า-ออกของสินค้า ภายหลังปรับปรุงนั้นทำให้การทำงานในส่วนของการตัดแบ่งสายไฟที่เป็นขดนั้น (สายขด) เหลือ 14.57 นาที เดิมใช้เวลา 16.54 นาที ลดลง 1.57 นาที คิดเป็น 11.53% และลดระยะทางเหลือ 96 เมตร จากเดิม 116 เมตร หรือลดลง 20 เมตร คิดเป็น 17.24%รายการ การปรับปรุงเส้นทางการเดินรถขนส่ง ด้วยวิธีเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด กรณีศึกษา : บริษัท คอมมิวนิเคชั่น แอนด์ ซิสเต็มส์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน)(สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) นัทกานต์ กิรัมย์โครงงานนี้เป็นการศึกษาการปรับปรุงการจัดเส้นทางการเดินรถขนส่งด้วยวิธีเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด (Nearest Neighbor Method) บริษัท คอมมิวนิเคชั่น แอนด์ ซิสเต็มส์ โซลูชั่น จากัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายสายไฟฟ้าและอุปกรณ์อื่นๆ มีหน้าที่ของการจัดหาวัตถุดิบและการกระจายสินค้ามีกระบวนการหลักคือการขนส่ง โดยในปัจจุบันการขนส่งที่มีประสิทธิภาพต้องสามารถส่งสินค้าครบตามที่ต้องการและภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งระบบขนส่งที่ดีนั้นจำเป็นที่จะต้องอาศัยการวางแผนการขนส่งที่ทำอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพรายการ การประยุกต์ใช้เทคนิค HACCP เพื่อพัฒนาระบบการควบคุมกระบวนการ ในการผลิตอาหารแปรรูปจากแมลง(สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) กีรติกรณ์ อุดมฉวีโครงงานสหกิจศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis and Critical Control Points; HACCP) ในกระบวนการผลิต ดักแด้อบกรอบเคลือบงาของโรงงานกรณีศึกษาเพื่อตอบสนองความมั่นใจของผู้บริโภคที่มีต่อคุณภาพความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และเตรียมความพร้อมการรับรองระบบ HACCP ซึ่งขั้นตอนในการจัดทำประกอบไปด้วย 1) การศึกษากระบวนการผลิตดักแด้อบกรอบเคลือบงา 2) ศึกษาหลักการของระบบ HAACCP 3) ประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ในกระบวนการผลิตดักแด้อบกรอบเคลือบงารายการ การลดของเสียในกระบวนการปั้มขึ้นรูป(สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีปทุม., 2563) ณัฐนันท์ บุญเสนอโครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียที่พบในกระบวนการปั้มขึ้นรูปฟอร์จจิโดยใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพ ใบตรวจสอบ (Cheek Sheets) แผนภูมิพาเรโต (Pareto Diagram) และ ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสาเหตุการเกิดของเสีย วิเคราะห์หาสาเหตุหลักโดยจากการวิเคราะห์ตรวจสอบปัญหาหลักได้แก่ เศษเหล็กติดจากดาย และเศษเหล็กติดจากคัตติ้ง เมื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาดังกล่าวแล้ว ทำการหาแนทางแก้ไขโดยนำ เทคนิคการระดมสมอง (Brainstorming) เพื่อทำการแก้ไขปัญหาในกระบวนการผลิตและได้ทำการเปรียบเทียบข้อมูลก่อนปรับปรุง และหลังปรับปรุงพบว่าของเสียในกระบวนการผลิตเฉลี่ยจากเดิมก่อนปรับปรุง 0.06 % และหลังปรับปรุงลดลงเป็น 0.03 %