Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2598
Title: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในสานักงานตารวจแห่งชาติ: ศึกษาเฉพาะกรณีการแต่งตั้งโยกย้าย
Authors: รัชวุฒิ ทรัพย์ศิริ
Keywords: การบริหารงานบุคคล
การแต่งตั้งโยกย้าย
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
Issue Date: 28-August-2554
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการบริหารงานบุคคลของสานักงานตารวจแห่งชาติ เกี่ยวกับกรณีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตารวจ ตามพระราชบัญญัติตารวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 กอปรกับหลักเกณฑ์การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตารวจ ความเป็นมา หลักการ แนวคิด ในประเด็นและแง่มุมต่าง ๆ เนื่องจากพระราชบัญญัติตารวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 นั้นมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2547 กฎหมายฉบับนี้ได้ถูกตราขึ้นภายใต้คาแนะนาและยินยอมจากรัฐสภาเป็นการปฏิรูประบบการบริหารงานตารวจให้มีความทันสมัยต่อเหตุการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันเพื่อให้กิจการบริหารงานตารวจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบการบริหารราชการของสานักงานตารวจแห่งชาติจึงมีส่วนสาคัญในการเปลี่ยนแปลงระบบราชการไทย ที่ผ่านมาการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมุ่งไปที่การปรับโครงสร้างขององค์กรเป็นหลัก มิได้มีการเปลี่ยนแปลงพิจารณาในด้านของการบริหารบุคคลมากนัก โดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตารวจซึ่งเป็นหัวใจสาคัญในด้านการบริหารงานบุคคลของสานักงานตารวจแห่งชาติจึงต้องสร้างระบบการจัดการและการบริหารที่ดี กิจการบริหารตารวจถือว่าเป็นต้นทางแห่งกระบวนการยุติธรรม บุคคลากรตารวจจึงมีความสาคัญทุกนาย และในขณะเดียวกันกิจกรรมของตารวจเป็นกิจกรรมในการบริการสาธารณะด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม เพื่อบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นองค์กรในชั้นต้นที่มีความสาคัญในกระบวนการยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โครงสร้างและอานาจหน้าที่องค์กรกลางในการบริหารงานบุคคลไม่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกาหนดนโยบาย ควบคุม และตรวจสอบการบริหารในกิจการตารวจอย่างแท้จริง อีกทั้งยังมีประธานคณะกรรมการข้าราชการตารวจที่มาจากฝ่ายการเมือง การดาเนินการพิจารณาการใช้อานาจดุลพินิจในการแต่งตั้งโยกย้ายต้องผ่านขั้นตอนและความเห็นชอบตามกฎหมาย จะเห็นได้ว่าหากมีการแต่งตั้งโยกย้ายในวาระประจาปี หรือนอกวาระประจาปีทุกครั้ง จะต้องถูกสื่อมวลชนวิพากษ์วิจารณ์จากการใช้อานาจทางการเมืองแทรกแซง ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังประชาชนไม่ได้รับความสะดวกและการบริการได้อย่างรวดเร็ว การที่ผู้มีอานาจไม่วางตัวเป็นกลาง มีการใช้ระบบอุปถัมภ์ (Patronage system) มากกว่าระบบคุณธรรม (Merit system) ดังจะเห็นได้จากการที่ข้าราชการตารวจมีความสัมพันธ์กับผู้มีอานาจจะได้รับการพิจารณาความดีความชอบในการแต่งตั้งมากกว่าข้าราชการตารวจทั่วไป ซึ่งปัจจุบันสานักงานตารวจแห่งชาติ เป็นส่วนราชการหนึ่งของระบบราชการไทยมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีการดาเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายตารวจมาโดยตลอด โดยหาได้มุ่งเน้นในด้านการบริหารบุคคล โดยเฉพาะเรื่องการแต่งตั้งโยกย้าย ดังนั้นหากจะพิจารณาปรับปรุงการบริหารงานของสานักงานตารวจแห่งชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว การพิจารณาแก้ไขเป็นอันดับแรก คือ เรื่องการบริหารบุคคลของสานักงานตารวจแห่งชาติก่อน โดยเฉพาะเรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตารวจ เพราะหากมีการแต่งตั้งโยกย้ายที่ไม่ชอบด้ายกฎหมายตามหลักเกณฑ์การแต่งตั้งโยกย้ายแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือ การร้องทุกข์เพิ่มมากขึ้น จนนาไปสู่การฟ้องร้องต่อศาลปกครองและนับวันจะมีการดาเนินการพิจารณาคดีในศาลปกครองเพิ่มมากขึ้น ความรับผิดชอบและความรับผิดทางกฎหมายในการเยียวยาแก้ไขให้แก่ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายความเสียหายเกิดขึ้นใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ จากการศึกษาพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคหลายประการที่ทาให้การบังคับใช้พระราชบัญญัติตารวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 นั้นไม่ถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ผู้ศึกษาต้องการให้สานักงานตารวจแห่งชาติได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานสากลในการบริหารราชการด้านการบริหารบุคคลเป็นอย่างดี จึงได้ศึกษาถึงปัญหาและได้นาเสนอไว้เป็นแนวทางในการที่จะปรับปรุงกฎหมายฉบับนี้ให้มีความสมบูรณ์ ถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2598
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf74.6 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf74.51 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf39.13 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf133.44 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf86.89 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf257.08 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf381.19 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf109.74 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf86.54 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf93.32 kBAdobe PDFView/Open
11appen.pdf164.54 kBAdobe PDFView/Open
12profile.pdf44.42 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.