กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2609
ชื่อเรื่อง: ปัญหากระบวนการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญไทย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชยพัทธ์ วิปุละ
คำสำคัญ: การพิจารณาคดี
ศาลรัฐธรรมนูญ
วันที่เผยแพร่: 4-กันยายน-2554
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ถึงปัญหาบางประการที่เกิดขึ้นจากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 กำหนดให้วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งต้องกระทำโดยมติเอกฉันท์ของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผลการศึกษาพบว่า เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดใหม่ๆ ที่ต้องการจะปฏิรูประบบการเมืองของประเทศ แต่โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญของไทยนั้นยังมีพัฒนาการที่ไม่ยาวนานเมื่อเทียบกับองค์กรวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญตามกฎหมายของต่างประเทศ จึงทำให้วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญขาดสาระและหลักการสำคัญบางประการ และการที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดโดยมติเอกฉันท์ของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยมิได้ผ่านองค์กรนิติบัญญัติอันเป็นองค์กรที่กลั่นกรองกฎหมาย ทำให้เกิดปัญหาบางประการ เช่น ปัญหาสถานะของข้อกำหนดว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในสถานะใด การแก้ไขข้อกำหนดดังกล่าว องค์กรใดจะเป็นองค์กรที่แก้ไขปัญหา ปัญหาเกี่ยวกับการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ปัญหาเกี่ยวกับวิธีการคุ้มครองชั่วคราว ปัญหาเกี่ยวกับผู้เสียหายและผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง ปัญหาเกี่ยวกับการส่งประเด็นที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจขอศาลรัฐธรรมนูญไปให้องค์กรอื่นที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเสียก่อน ปัญหาเกี่ยวกับการลงมติในการพิจารณาคดี และปัญหาเกี่ยวกับการคัดค้านตุลาการ จากปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวมานี้ ผู้ศึกษาจึงได้เสนอแนะให้มีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ โดยผ่านองค์กรนิติบัญญัติเพื่อให้มีการกลั่นกรองกฎหมายและเพิ่มหลักวิธีพิจารณาเกี่ยวกับการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 หลักของการคุ้มครองชั่วคราว หลักเกี่ยวกับผู้เสียหายและผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง หลักการส่งประเด็นที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญไปให้องค์กรอื่นที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเสียก่อน หลักการลงมติในการพิจารณาคดี และหลักการคัดค้านตุลาการให้มีความชัดเจน เหมาะแก่การพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ เพื่อให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นบรรทัดฐานที่ดี และมีประสิทธิภาพ คุ้มครองสิทธิของประชาชนได้อย่างมีคุณภาพต่อไป
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2609
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1title.pdf54.08 kBAdobe PDFดู/เปิด
2abstract.pdf88.39 kBAdobe PDFดู/เปิด
3acknow.pdf48.9 kBAdobe PDFดู/เปิด
4content.pdf85.39 kBAdobe PDFดู/เปิด
5chap1.pdf133.91 kBAdobe PDFดู/เปิด
6chap2.pdf324.09 kBAdobe PDFดู/เปิด
7chap3.pdf362.85 kBAdobe PDFดู/เปิด
8chap4.pdf139.94 kBAdobe PDFดู/เปิด
9chap5.pdf86.19 kBAdobe PDFดู/เปิด
10bib.pdf105.71 kBAdobe PDFดู/เปิด
11appen.pdf219.99 kBAdobe PDFดู/เปิด
12profile.pdf49.28 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น