กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3370
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฎหมายการทำธุรกิจเกี่ยวกับวัตถุอันตราย: ศึกษากรณีการคุ้มครองผู้บริโภค
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรพรรณ ปางแก้ว
คำสำคัญ: ปัญหากฎหมาย
วัตถุอันตราย
คุ้มครองผู้บริโภค
ผู้บริโภค
วันที่เผยแพร่: 9-มีนาคม-2555
บทคัดย่อ: ในปัจจุบันนี้ประเทศไทยได้มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมการประกอบกิจการ การใช้งานและการจัดการเกี่ยวกับของเสียที่เกิดขึ้น จากวัตถุอันตรายอยู่บ้างแต่ในทางความเป็นจริงกลับพบว่าได้เกิดปัญหาต่าง ๆ จากเกี่ยวกับสินค้าที่เป็นวัตถุอันตรายหลายประการด้วยกันคือ ในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าซึ่งเป็นวัตถุอันตรายนั้น แทนที่จะให้มีการแสดงให้ผู้บริโภคทราบถึงความไม่ปลอดภัยและต้องใช้เท่าที่จำเป็น กลับมีการใช้สื่อโฆษณาเพื่อแสดงให้เห็นว่าสินค้าที่เป็นวัตถุอันตรายต่าง ๆ เหล่านั้นก่อให้เกิดความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตได้ดีเพียงใด และไม่สนใจว่าผู้บริโภคจะใช้สินค้านั้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังไม่มีกฎหมายที่ควบคุมเกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าที่เป็นวัตถุอันตรายอย่างเพียงพอ หรือในกรณีที่เกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหาย หรือกำหนดอายุความในการเรียกร้องค่าเสียหายของผู้บริโภคจะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับผู้ประกอบการเกี่ยวกับสินค้าที่เป็นวัตถุอันตรายนั้น ก็ควรจะต้องมีระยะเวลาที่ยาวนานกว่าอายุความในการฟ้องเรียกร้องทางละเมิดโดยทั่วไป เนื่องจากลักษณะของความเสียหายที่แตกต่างจากความเสียหายทั่วไป ซึ่งอายุความเดิมที่ได้มีการกำหนดไว้นั้นจึงไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากวัตถุอันตราย และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้วหากเป็นความเสียหายที่เกิดโดยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ประกอบการแล้ว ก็ควรที่จะมีบทลงโทษในทางแพ่งด้วย เช่น การกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษเกี่ยวกับสินค้าที่เป็นวัตถุอันตรายด้วย นอกจากนี้การจัดการของเสียอันตรายที่เกิดจากการใช้งานในครัวเรือนนั้นตอนนี้ยังไม่มีกฎหมายที่ออกมาควบคุมการใช้งานแต่ประการใด ดังนั้นเพื่อให้มีการจัดการอย่างถูกวิธีหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงต้องมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมออกมาเพื่อจัดการของเสียที่เกิดจากวัตถุอันตรายดังกล่าว ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงจะต้องมีการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายบางประการเพื่อให้สอดคล้องกับการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าที่เป็นวัตถุอันตราย กล่าวคือ ในเรื่องเกี่ยวกับการโฆษณาก็ควรจะให้มีกฎหมายที่ควบคุมเกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าที่ไม่ปลอดภัย และให้อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือในเรื่องของอายุความและค่าเสียหายก็ควรมีการบัญญัติให้อายุความมีระยะเวลาที่นานกว่าการเรียกค่าเสียหายทั่วไปและควรให้มีการบัญญัติถึงค่าเสียหายเชิงลงโทษในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เพื่อเป็นการลงโทษผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย ส่วนในเรื่องของการจัดการของเสียที่เกิดจากวัตถุอันตรายในส่วนของการใช้งานจากผู้บริโภคในภาพครัวเรือนนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่อาจแก้ไขได้ด้วยวิธีการด้านภาษี กล่าวคือ การเก็บภาษีจากผู้บริโภคเพิ่มเติมล่วงหน้าเพื่อจัดการของเสียที่จะเกิดขึ้นจากการใช้วัตถุอันตรายในภายหลัง เป็นต้น
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3370
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1title.pdf95.71 kBAdobe PDFดู/เปิด
2abstract.pdf142.44 kBAdobe PDFดู/เปิด
3acknow.pdf98.17 kBAdobe PDFดู/เปิด
4content.pdf189.34 kBAdobe PDFดู/เปิด
5chap1.pdf185.75 kBAdobe PDFดู/เปิด
6chap2.pdf616.18 kBAdobe PDFดู/เปิด
7chap3.pdf809.86 kBAdobe PDFดู/เปิด
8chap4.pdf269.52 kBAdobe PDFดู/เปิด
9chap5.pdf153.03 kBAdobe PDFดู/เปิด
10bib.pdf199.24 kBAdobe PDFดู/เปิด
11profile.pdf96.34 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น