Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4067
Title: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายเงินอุดหนุนเฉพาะกิจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
Authors: ดรุณี นันทชัย
Keywords: การจ่ายเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รัฐธรรมนูญ
Issue Date: 13-September-2555
Abstract: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ กำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจทางการเงินและการ คลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้มีอิสระในการบริหารงานและรัฐส่วนกลางทำหน้าที่ เพียงกำกับดูแลให้ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและ ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 รวมทั้งระเบียบและ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายเงินอุดหนุนเฉพาะกิจแก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งทำให้มีปัญหา ผลกระทบโดยตรงเกี่ยวกับการบริหารงานของผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังมี อุปสรรคหลายประการ เช่น ปัญหาด้านการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ด้านอำนาจหน้าที่ในการบริหารเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การ แบ่งแยกอำนาจ การกระจายอำนาจ การถอดถอน ด้านการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ด้านบุคลากร ทางระบบ ทางส่วนราชการ ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการ วางแผน จากการวิเคราะห์ พบว่า กฎหมายแม่บทได้ให้อำนาจในการบริหารงานแก่องค์กรปกครอง ท้องถิ่นไว้ตามหลักการกระจายอำนาจ แต่กฎหมายลำดับรองก็ยังไม่สามารถช่วยให้กฎหมายแม่บทมีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่โดยที่กฎหมายลำดับรองไม่สามารถที่จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายแม่บท ตามลำดับชั้นของกฎหมายและหลักกฎหมายมหาชนได้ ควรมีการแก้ไขบัญญัติของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจ่ายเงินอุดหนุน เฉพาะกิจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นนำงบประมาณไปบริหาร เพื่อการปฏิบัติ ตามภารกิจที่ได้รับควรเพิ่มเติมเนื้อหาในกฎหมายลำดับรองเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกันกับกฎหมาย แม่บทอันได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เช่น การจัดสรร งบประมาณของรัฐบาลให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเป็นการจัดสรรเงินอุดหนุนแบบไม่มี เงื่อนไขเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำงบประมาณนั้นไปพัฒนาท้องถิ่นให้ตรงกับความ ช่วยเหลือและความต้องการของประชาชนได้ การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรเป็นวิธีการกำกับดูแลให้ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามหลักกฎหมายแม่บทและเป็นไป ตามหลักการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้บริหารกิจการงานและบริหารในด้านการเงินและการคลังอย่างอิสระภายใต้กรอบอำนาจที่ กฎหมายให้ไว้ การถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีการวางแผนงานที่ดีและ ต้องคำนึงถึงความสามารถหรือความพร้อมของบุคลากรผู้ที่จะปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและเป็น ประโยชน์ต่อประชาชนในส่วนรวมของท้องถิ่นนั้นได้
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4067
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf62.59 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf108 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf60.15 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf97.94 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf184.07 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf960.05 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf266.46 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf417.26 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf134.02 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf100.21 kBAdobe PDFView/Open
11appen1.pdf787.74 kBAdobe PDFView/Open
12appen2.pdf683.29 kBAdobe PDFView/Open
13profile.pdf50.77 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.