กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5387
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการบังคับใช้โทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE PROBLEM OF CRIMINAL PENALTY ENFORCEMENT UNDER THE SOCIAL SECURITY ACT, B.E. 2533
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อิศรา เรืองศริยานนท์
คำสำคัญ: ประกันสังคม
โทษทางอาญา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: อิศรา เรืองศริยานนท์. 2560. "ปัญหาการบังคับใช้โทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_อิศรา_2560
บทคัดย่อ: มาตรการทางกฎหมายทางอาญาตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 พบปัญหาในกรณีโทษที่กำหนดไว้ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ทำให้นายจ้างไม่เกรงกลัวต่อบทลงโทษ หรือในกรณีที่กฎหมายมิได้กำหนดโทษไว้เป็นการเฉพาะ จึงทำให้การบังคับใช้กฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งปัญหาในการบังคับใช้โทษทางอาญาบางประการ เพื่อใช้ในการควบคุม กำกับ ดูแล ขั้นตอนและกระบวนการที่เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม รวมทั้งการจัดเก็บเงินสมทบ เพื่อนำไปจ่ายเป็นประโยชน์ทดแทนแก่ผู้ประกันตนซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของกฎหมาย จากการศึกษาพบว่า บทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มีอัตราโทษที่ต่ำเกินไป เมื่อเทียบกับสถานการณ์ด้านแรงงาน การปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน รวมทั้งยังไม่ได้มีการกำหนดโทษทางอาญา กรณีการไม่นำส่งเงินสมทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่นายจ้างมีการหักเงินค่าจ้างของลูกจ้างแล้วไม่นำส่งเงินสมทบ และในกรณีอื่นๆ ที่ควรจะต้องกำหนดเป็นความผิดเฉพาะ เช่น การหักเงินสมทบ ส่วนของนายจ้างจากลูกจ้าง อีกทั้งเมื่อพิจารณาความผิดฐานไม่นำส่งเงินสมทบเปรียบเทียบกับประมวลกฎหมายอาญาก็พบว่าไม่สามารถปรับใช้ได้ และการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้ยึด อายัดทรัพย์สิน และการโยกย้าย หรือโอนทรัพย์สินของนายจ้าง หรือบุคคลภายนอก ซึ่งไม่มีมาตรการลงโทษแต่อย่างใด นอกจากนั้นยังพบว่ามีปัญหาในการบังคับใช้ในกรณีต่างๆ เช่น กรณีระเบียบที่เกี่ยวข้องและบุคลากรของหน่วยงาน และกรณีผู้กระทำความผิดเป็นที่เป็นนิติบุคคล ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะว่าควรที่จะปรับปรุงแก้ไขมาตรการทางอาญา ในกรณีที่มีบทกำหนดโทษตามกฎหมายอยู่แล้วในกรณีโทษปรับให้สูงยิ่งขึ้น โดยนำแนวคิดเกี่ยวกับการปรับโดยกำหนดตามวันและรายได้ (Day Fine) และการปรับตามจำนวนเท่าของผลประโยชน์ที่ได้รับจากการกระทำความผิดมาปรับใช้ รวมทั้งการบัญญัติโทษทางอาญาในกรณีนายจ้างไม่นำส่งเงินสมทบภายในกำหนดเวลา หรือหักเงินสมทบลูกจ้างแล้วแต่ไม่นำส่ง หรือพยายามหักค่าจ้างของลูกจ้างไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อวัตถุประสงค์จ่ายเป็นเงินสมทบทั้งหมดหรือบางส่วนของเงินสมทบ ส่วนของนายจ้าง และการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้ยึด อายัดทรัพย์สิน และการโยกย้าย หรือโอนทรัพย์สินของนายจ้าง หรือบุคคลภายนอก รวมทั้งการแก้ไขระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้ดุลพินิจในการเปรียบเทียบปรับเป็นไปด้วยความเหมาะสม
รายละเอียด: อิศรา เรืองศริยานนท์. ปัญหาการบังคับใช้โทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2560.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5387
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น