กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5390
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ที่บริโภคผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการดัดแปลงพันธุกรรม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL PROBLEMS RELATING TO CONSUMER PROTECTION OF GENETICALLY MODIFIED ORGANISM PRODUCTS
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัชรชัย ปานดิษฐ
คำสำคัญ: คุ้มครองผู้บริโภค
ดัดแปลงพันธุกรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: วัชรชัย ปานดิษฐ. 2560. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ที่บริโภคผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการดัดแปลงพันธุกรรม." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_วัชรชัย _2560
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่บริโภคผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งมีประเด็นปัญหาข้อกฎหมายเรื่องการแสดงฉลากอาหาร หรือผลิตภัณฑ์มาจาก หรือมีส่วนประกอบของ GMOs ในประเทศไทยมีผู้ผลิตจำนวนมากที่ไม่มีการแสดงฉลากอาหารว่ามีส่วนประกอบของ GMOs ปัญหานี้ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า และสุขภาพ รวมทั้งกระทบต่อการส่งออกสินค้าของประเทศไทยด้วย จากการศึกษาพบว่า เกิดปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพที่เกิดจากพืชที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม ดังนี้ 1. ปัญหาอันตรายต่อผู้บริโภคจากการบริโภคอาหารที่เกิดจากการดัดแปลงพันธุกรรม 2. ปัญหากฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคจากอันตรายจากอาหารที่เกิดจากการดัดแปลงพันธุกรรม 3. ปัญหากฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลากจากอันตรายจากอาหารที่เกิดจากการดัดแปลงพันธุกรรม 4. ปัญหาการควบคุม และการดูแลการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมซึ่งมาจากต่างประเทศหรือในประเทศได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสม จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ส่งผลให้การคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพไม่ว่าจะเป็นการให้มีการติดฉลากอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของ GMOs การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ขาดความชัดเจน และขาดประสิทธิภาพ ประชาชนคัดค้านการดำเนินการเกี่ยวกับพืชที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม รวมถึงการขาดการพัฒนาความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ
รายละเอียด: วัชรชัย ปานดิษฐ. ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ที่บริโภคผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการดัดแปลงพันธุกรรม.สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2560.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5390
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น