Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5626
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเอกรัฐ ยิ้มเจริญen_US
dc.date.accessioned2018-09-29T08:35:10Z-
dc.date.available2018-09-29T08:35:10Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.citationเอกรัฐ ยิ้มเจริญ. 2561. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับโครงสร้าง บทบาทและอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าตามพระราชบัญญัติ แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5626-
dc.descriptionเอกรัฐ ยิ้มเจริญ. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับโครงสร้าง บทบาทและอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าตามพระราชบัญญัติ แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2561.en_US
dc.description.abstractโดยที่ปัญหาการแข่งขันทางการค้าในปัจจุบันมีความซับซ้อนยุ่งยากมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แม้จะเคยมีพระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ใช้บังคับมาระยะหนึ่งแล้ว แต่กลับปรากฏว่ามีการผูกขาดตลาดและใช้อำนาจเหนือตลาดของธุรกิจรายใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ และเกิดรูปแบบใหม่ๆ ในการร่วมทุน ขยายกิจการแบบควบรวมกิจการอย่างชัดแจ้งและการครอบงำกิจการโดยพฤตินัยเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายส่งผลให้จำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายใหม่ โดยมีการตราพระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ออกมาใช้แทนพระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 อย่างไรก็ดี แม้ในปัจจุบันกฎหมายใหม่จะมีความสมบูรณ์และมีบทบัญญัติในการป้องกันแก้ไขการผูกขาดและการใช้อำนาจเหนือตลาดได้ดียิ่งขึ้น แต่ทว่ากลไกทางกฎหมายในการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะไม่สามารถนำมาใช้ได้เลย หากคณะกรรมการตามกฎหมายไม่กำหนดเกณฑ์พิจารณาการผูกขาดตลาดและเกณฑ์การใช้อำนาจเหนือตลาด วิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับโครงสร้าง บทบาทและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าเพื่อค้นหาแนวทางและรูปแบบทางกฎหมายที่เหมาะสมในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเฉพาะในส่วนนี้ จากการค้นคว้า วิเคราะห์ เปรียบเทียบ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทยและต่างประเทศ พบว่ารูปแบบที่เหมาะสมที่ควรปรับแก้กฎหมายต่อไปในอนาคตคือการกำหนดให้องค์ประกอบของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าเป็นไปในลักษณะของไตรภาคีอันประกอบไปด้วยตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนผู้บริโภคในสัดส่วนที่เท่าๆ กัน ทั้งนี้เพื่อให้ไม่เกิดการผูกขาดอำนาจตามกฎหมายไว้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไป และจะเป็นการแก้ไขปัญหาการผูกขาดตลาดและการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมได้ดียิ่งขึ้นทันสมัยยิ่งขึ้นตลอดทั้งมีประสิทธิภาพได้มาตรฐานเช่นเดียวกันกับกฎหมายต่อต้านการผูกขาดของต่างประเทศen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_เอกรัฐ ยิ้มเจริญ_2561en_US
dc.subjectบทบาทและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าen_US
dc.subjectโครงสร้างen_US
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับโครงสร้าง บทบาทและอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าตามพระราชบัญญัติ แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560en_US
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS RELATING TO THE STRUCTURE, ROLE AND AUTHORITY OF COMPETITION COMMITTEE UNDER THE COMPETITION ACT B.E. 2560.en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.