Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5638
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorฐาปกรณ์ ฤชุปนัยen_US
dc.date.accessioned2018-10-19T02:23:04Z-
dc.date.available2018-10-19T02:23:04Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.citationฐาปกรณ์ ฤชุปนัย. 2561. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย: กรณีศึกษาร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5638-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์_ฐาปกรณ์ ฤชุปนัย. ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย: กรณีศึกษาร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น. หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. 2561.en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย โดยนำร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นซึ่งเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ขึ้นในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) มาใช้บังคับโดยเฉพาะ ซึ่งหากนำกรณีร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นมาศึกษาเปรียบเทียบแล้วจะเห็นได้ว่ามีปัญหาในการทำสัญญาและการกำหนดข้อตกลงในธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ที่เป็นการเปิดโอกาสให้แฟรนไชส์ซอร์ (Franchisor) ใช้ช่องว่างของกฎหมายกำหนดข้อตกลงในสัญญาที่มีลักษณะเป็นการเอารัดเอาเปรียบ หรือปิดบังข้อมูลที่ควรรู้ก่อนตกลงเข้าทำสัญญาซึ่งอาจทำให้ แฟรนไชส์ซี (Franchisee) เสียเปรียบหรือรับภาระบางประการเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และการไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดที่บังคับให้แฟรนไชส์ซอร์ (Franchisor) ต้องจดทะเบียนธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) รวมทั้งต้องเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ให้กับผู้ที่สนใจทราบก่อนทำสัญญาแฟรนไชส์ ดังนั้น หากมีปัญหาเกิดขึ้นจึงต้องนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายที่ใกล้เคียงมาปรับใช้เป็นรายกรณีไป อีกทั้งยังขาดหน่วยงานของภาครัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) และเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ในประเทศไทย นอกจากนี้ จำเป็นต้องศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ของต่างประเทศ ซึ่งมีบทบัญญัติกฎหมายที่ชัดเจนและมีการใช้กฎหมายดังกล่าวมาเป็นเวลานาน เช่น กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ของสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อนำมาเป็นแนวทางการบัญญัติกฎหมายการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ในประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ไข เพื่อนำข้อดีมาเป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ในประเทศไทยให้เหมาะสม ก่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มครองผู้ประกอบธุรกิจให้ได้รับความเป็นธรรมให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องen_US
dc.description.sponsorshipคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_ฐาปกรณ์ ฤชุปนัยen_US
dc.subjectการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์en_US
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย: กรณีศึกษาร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.