Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5866
Title: มาตรการอื่นแทนการลงโทษจำคุกในคดียาเสพติด: ศึกษากรณีการรอการลงโทษผู้เสพยาเสพติด
Other Titles: USING ALTERNATIVE TO IMPRISONMENT IN THE CASE OF NARCOTIC RELATED OFFENSE: A CASE STUDY FOR THE ADDICT UNDER PAROLE
Authors: พรเทพ เอียดแก้ว
Keywords: มาตรการอื่นแทนการลงโทษจำคุก
การรอการลงโทษ
ปัญหาเกี่ยวกับคดียาเสพติดให้โทษ
ความผิดอาญาในแง่ของกฎหมายยาเสพติดให้โทษ
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: พรเทพ เอียดแก้ว. 2560. "มาตรการอื่นแทนการลงโทษจำคุกในคดียาเสพติด : ศึกษากรณีการรอการลงโทษผู้เสพยาเสพติด." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_พรเทพ เอียดแก้ว_T182467
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวทางในการเบี่ยงเบนผู้เสพยาเสพติด ซึ่งถือว่าเป็น “ผู้ป่วย” ให้ออกจากกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก หลีกเลี่ยงการลงโทษจำคุกในระยะสั้น โดยหันมาใช้มาตรการอื่นแทนการลงโทษจำคุก (Alternativeto Imprisonment) ในความผิดฐานเสพยาเสพติด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการลดจำนวนผู้ต้องราชทัณฑ์ในเรือนจำที่ปัจจุบันมีผู้ต้องราชทัณฑ์ในคดีเสพยาเสพติดมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ต้องราชทัณฑ์คดียาเสพติดทั้งหมด จากการศึกษาพบว่า อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 และพิธีสารแก้ไข ค.ศ. 1972 อนุสัญญาว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ค.ศ. 1971 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ค.ศ. 1988 มุ่งเน้นที่จะให้ประเทศภาคีบัญญัติกฎหมายภายในประเทศ โดยกำหนดให้ “การลักลอบค้า” ยาเสพติดเป็นความผิดจะต้องได้รับการลงโทษจำคุกเมื่อได้กระทำโดยเจตนา ซึ่งไม่ได้หมายความรวมถึงผู้เสพยาเสพติดด้วย ทั้งยังแนะนำให้ประเทศภาคีกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงบทลงโทษหันมาใช้มาตรการอื่นแทนการลงโทษแก่ผู้เสพยาเสพติด เพื่อให้การบำบัดรักษา การศึกษา การดูแลภายหลังการบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ หรือการให้กลับไปอยู่ในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ผู้ติดยาเสพติด” (Addict) ซึ่งมีลักษณะเป็น “ผู้ป่วย” อย่างไรก็ดี ประเทศไทยเองได้มีการบัญญัติกฎหมายอาญาภายในประเทศให้นำการรอการลงโทษมาใช้เป็นมาตรการอื่นแทนการลงโทษจำคุกสำหรับความผิดเล็กน้อยซึ่งรวมถึงความผิดฐานเสพยาเสพติดด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศทั้งสามฉบับดังกล่าวไว้เช่นเดียวกันแต่อย่างไรก็ตาม กลับพบว่าการรอการลงโทษดังกล่าวมีเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด ทำให้ที่ผ่านมามีผู้เสพยาเสพติดเป็นจำนวนมากต้องถูกลงโทษจำคุกโดยเฉพาะผู้กระทำความผิดซ้ำซึ่งเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ทั้งนี้ ด้วยเงื่อนไขการรอการลงโทษมุ่งเน้นที่จะให้โอกาสแก่ผู้กระทำความผิดเป็นครั้งแรก หรือเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นเพียงความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นเพียงโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน เท่านั้น หากมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของการรอการลงโทษให้มีความเหมาะสมกับลักษณะและสภาพความผิดของคดียาเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดฐานเสพยาเสพติดก็สามารถนำการรอการลงโทษซึ่งมีมาตรการหรือเงื่อนไขเพื่อควบคุมความประพฤติไว้อย่างเหมาะสม เช่น การให้ไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงาน การให้ไปรับการบำบัดรักษาการติดยาเสพติด การห้ามออกนอกสถานที่อยู่อาศัยโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องควบคุมมาใช้เป็นมาตรการอื่นแทนการลงโทษจำคุกในคดีเสพยาเสพติดได้ดังนั้น เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายยาเสพติดในประเทศไทยสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินการด้านยาเสพติดของอนุสัญญาระหว่างประเทศทั้งสามฉบับดังกล่าว การนำการรอการลงโทษตามกฎหมายอาญาทั่วไปมาใช้เป็นมาตรการอื่นแทนการลงโทษจำคุกของผู้เสพยาเสพติดเช่นเดียวกับต่างประเทศ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายยาเสพติดของประเทศไทยในกรณีของผู้เสพยาเสพติด จากการศึกษาวิจัยสรุปได้ว่า มาตรการอื่นแทนการลงโทษสำหรับผู้เสพยาเสพติดของประเทศไทยนั้น ยังไม่เหมาะสมและมีสารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวทางในการเบี่ยงเบนผู้เสพยาเสพติด ซึ่งถือว่าเป็น “ผู้ป่วย” ให้ออกจากกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก หลีกเลี่ยงการลงโทษจำคุกในระยะสั้น โดยหันมาใช้มาตรการอื่นแทนการลงโทษจำคุก (Alternativeto Imprisonment) ในความผิดฐานเสพยาเสพติด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการลดจำนวนผู้ต้องราชทัณฑ์ในเรือนจำที่ปัจจุบันมีผู้ต้องราชทัณฑ์ในคดีเสพยาเสพติดมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ต้องราชทัณฑ์คดียาเสพติดทั้งหมด จากการศึกษาพบว่า อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 และพิธีสารแก้ไข ค.ศ. 1972 อนุสัญญาว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ค.ศ. 1971 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ค.ศ. 1988 มุ่งเน้นที่จะให้ประเทศภาคีบัญญัติกฎหมายภายในประเทศ โดยกำหนดให้ “การลักลอบค้า” ยาเสพติดเป็นความผิดจะต้องได้รับการลงโทษจำคุกเมื่อได้กระทำโดยเจตนา ซึ่งไม่ได้หมายความรวมถึงผู้เสพยาเสพติดด้วย ทั้งยังแนะนำให้ประเทศภาคีกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงบทลงโทษหันมาใช้มาตรการอื่นแทนการลงโทษแก่ผู้เสพยาเสพติด เพื่อให้การบำบัดรักษา การศึกษา การดูแลภายหลังการบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ หรือการให้กลับไปอยู่ในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ผู้ติดยาเสพติด” (Addict) ซึ่งมีลักษณะเป็น “ผู้ป่วย” อย่างไรก็ดี ประเทศไทยเองได้มีการบัญญัติกฎหมายอาญาภายในประเทศให้นำการรอการลงโทษมาใช้เป็นมาตรการอื่นแทนการลงโทษจำคุกสำหรับความผิดเล็กน้อยซึ่งรวมถึงความผิดฐานเสพยาเสพติดด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศทั้งสามฉบับดังกล่าวไว้เช่นเดียวกันแต่อย่างไรก็ตาม กลับพบว่าการรอการลงโทษดังกล่าวมีเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด ทำให้ที่ผ่านมามีผู้เสพยาเสพติดเป็นจำนวนมากต้องถูกลงโทษจำคุกโดยเฉพาะผู้กระทำความผิดซ้ำซึ่งเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ทั้งนี้ ด้วยเงื่อนไขการรอการลงโทษมุ่งเน้นที่จะให้โอกาสแก่ผู้กระทำความผิดเป็นครั้งแรก หรือเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นเพียงความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นเพียงโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน เท่านั้น หากมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของการรอการลงโทษให้มีความเหมาะสมกับลักษณะและสภาพความผิดของคดียาเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดฐานเสพยาเสพติดก็สามารถนำการรอการลงโทษซึ่งมีมาตรการหรือเงื่อนไขเพื่อควบคุมความประพฤติไว้อย่างเหมาะสม เช่น การให้ไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงาน การให้ไปรับการบำบัดรักษาการติดยาเสพติด การห้ามออกนอกสถานที่อยู่อาศัยโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องควบคุมมาใช้เป็นมาตรการอื่นแทนการลงโทษจำคุกในคดีเสพยาเสพติดได้ดังนั้น เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายยาเสพติดในประเทศไทยสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินการด้านยาเสพติดของอนุสัญญาระหว่างประเทศทั้งสามฉบับดังกล่าว การนำการรอการลงโทษตามกฎหมายอาญาทั่วไปมาใช้เป็นมาตรการอื่นแทนการลงโทษจำคุกของผู้เสพยาเสพติดเช่นเดียวกับต่างประเทศ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายยาเสพติดของประเทศไทยในกรณีของผู้เสพยาเสพติด จากการศึกษาวิจัยสรุปได้ว่า มาตรการอื่นแทนการลงโทษสำหรับผู้เสพยาเสพติดของประเทศไทยนั้น ยังไม่เหมาะสมและมีจะต้องได้รับการลงโทษจำคุกเมื่อได้กระทำโดยเจตนา ซึ่งไม่ได้หมายความรวมถึงผู้เสพยาเสพติดด้วย ทั้งยังแนะนำให้ประเทศภาคีกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงบทลงโทษหันมาใช้มาตรการอื่นแทนการลงโทษแก่ผู้เสพยาเสพติด เพื่อให้การบำบัดรักษา การศึกษา การดูแลภายหลังการบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ หรือการให้กลับไปอยู่ในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ผู้ติดยาเสพติด” (Addict) ซึ่งมีลักษณะเป็น “ผู้ป่วย” อย่างไรก็ดี ประเทศไทยเองได้มีการบัญญัติกฎหมายอาญาภายในประเทศให้นำการรอการลงโทษมาใช้เป็นมาตรการอื่นแทนการลงโทษจำคุกสำหรับความผิดเล็กน้อยซึ่งรวมถึงความผิดฐานเสพยาเสพติดด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศทั้งสามฉบับดังกล่าวไว้เช่นเดียวกันแต่อย่างไรก็ตาม กลับพบว่าการรอการลงโทษดังกล่าวมีเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด ทำให้ที่ผ่านมามีผู้เสพยาเสพติดเป็นจำนวนมากต้องถูกลงโทษจำคุกโดยเฉพาะผู้กระทำความผิดซ้ำซึ่งเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ทั้งนี้ ด้วยเงื่อนไขการรอการลงโทษมุ่งเน้นที่จะให้โอกาสแก่ผู้กระทำความผิดเป็นครั้งแรก หรือเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นเพียงความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นเพียงโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน เท่านั้น หากมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของการรอการลงโทษให้มีความเหมาะสมกับลักษณะและสภาพความผิดของคดียาเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดฐานเสพยาเสพติดก็สามารถนำการรอการลงโทษซึ่งมีมาตรการหรือเงื่อนไขเพื่อควบคุมความประพฤติไว้อย่างเหมาะสม เช่น การให้ไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงาน การให้ไปรับการบำบัดรักษาการติดยาเสพติด การห้ามออกนอกสถานที่อยู่อาศัยโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องควบคุมมาใช้เป็นมาตรการอื่นแทนการลงโทษจำคุกในคดีเสพยาเสพติดได้ดังนั้น เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายยาเสพติดในประเทศไทยสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินการด้านยาเสพติดของอนุสัญญาระหว่างประเทศทั้งสามฉบับดังกล่าว การนำการรอการลงโทษตามกฎหมายอาญาทั่วไปมาใช้เป็นมาตรการอื่นแทนการลงโทษจำคุกของผู้เสพยาเสพติดเช่นเดียวกับต่างประเทศ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายยาเสพติดของประเทศไทยในกรณีของผู้เสพยาเสพติด
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5866
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.