กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6466
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติและระยะเวลาในการสอบข้อเท็จจริง ของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL PROBLEMS RELATING TO THE QUALIFICATIONS AND PERIOD OF TIME FOR FACT-FINDING OF THE FACT-FINDING COMMISSION FOR A WRONGFUL ACT
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รุ่งทิวา วีสม
คำสำคัญ: ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
การสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด
ระยะเวลาในการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด
คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: รุ่งทิวา วีสม. 2562. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติและระยะเวลาในการสอบข้อเท็จจริง ของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_รุ่งทิวา วีสม_T185032_2562
บทคัดย่อ: ในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (Act of Liability for a Wrongful Act of the Officials B.E. 2539 (1996)) มีขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นไปจนถึงการฟ้องคดี และการใช้สิทธิไล่เบี้ย ซึ่งเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (Regulations of the Office of Prime Minister on the Performing Rule relating to Liability for a Wrongful Act of the Officials B.E. 2539 (1996)) เมื่อเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐแห่งใด และหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ แห่งนั้นมีเหตุอันควรเชื่อว่าเกิดจากการกระทําของเจ้าหน้าที่ของรัฐแห่งนั้น ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐดังกล่าวแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดขึ้นคณะหนึ่ง โดยไม่ชักช้า เพื่อพิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับผู้ต้องรับผิดและจํานวนค่าสินไหมทดแทนที่ผู้นั้นต้องชดใช้ โดยการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ข้อ 8 ยังมีความไม่ชัดเจนในบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับคุณสมบัติ (Qualifications) และระยะเวลา (Period of Time) ในการสอบข้อเท็จจริง (Fact-Finding) ของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด (Fact-Finding Commission for a Wrongful Act) ทำให้การดำเนินงานของคณะกรรมสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดอาจเกิดปัญหา อาจส่งผลทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ และอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ซึ่งทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ จึงเห็นควรศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ในประเด็นดังกล่าว เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่ควรศึกษาและพิเคราะห์
รายละเอียด: รุ่งทิวา วีสม. ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติและระยะเวลาในการสอบข้อเท็จจริง ของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2562.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6466
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น