กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6619
ชื่อเรื่อง: แบบจำลองสมการโครงสร้างของความรับผิดชอบต่อสังคม การสร้างคุณค่าร่วมกันและชื่อเสียงขององค์กร ที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนขององค์กร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: STRUCTURAL EQUATION MODEL AMONG CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY CREATING SHARED VALUE AND CORPORATE REPUTATION INFLUENCE IN SUSTAINABLE FIRM PERFORMANCE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิศากร มะลิวัลย์
คำสำคัญ: ความรับผิดชอบต่อสังคม
การสร้างคุณค่าร่วมกัน
ชื่อเสียงขององค์กร
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: นิศากร มะลิวัลย์. 2561. "แบบจำลองสมการโครงสร้างของความรับผิดชอบต่อสังคม การสร้างคุณค่าร่วมกันและชื่อเสียงขององค์กร ที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนขององค์กร." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม,
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_นิศากร มะลิวัลย์_T185840_2561
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความรับผิดชอบต่อสังคมการสร้างคุณค่าร่วมกัน และชื่อเสียงขององค์กร ที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนขององค์กร ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน กำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 265 ตัวอย่างซึ่งเป็น ผู้ประกอบการด้านการผลิตของประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารองค์กรที่ประสบความสำเร็จด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ จำนวน 5 ราย สถิติที่ใช้ในทดสอบสมมติฐานใช้ตัวแบบสมการโครงสร้างในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า การตรวจสอบความตรงสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าความกลมกลืนผ่านเกณฑ์แสดงว่าโมเดลมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างดี ดังนี้ Chi-Square=369.070, χ2/df = 2.883, p= 000, CFI=0.960 , IFI=0.961 and RMSEA=0.084 และในส่วนของการทดสอบสมมติฐานการวิจัยแสดงให้เห็นว่า 1) ความรับผิดชอบต่อสังคม ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อการสร้างคุณค่าร่วมกัน 2) การสร้างคุณค่าร่วมกัน ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน 3) ความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน 4) ความรับผิดชอบต่อสังคม ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อชื่อเสียงขององค์กร 5) ชื่อเสียงขององค์กร ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน 6) การสร้างคุณค่าร่วมกัน ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อชื่อเสียงขององค์กร 7) การสร้างคุณค่าร่วมกันทำหน้าที่เป็นตัวแปรคั่นกลางของความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคม และผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนขององค์กร 8) การสร้างคุณค่าร่วมกันทำหน้าที่เป็นตัวแปรคั่นกลางของความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคม และชื่อเสียงขององค์กร 9) การสร้างคุณค่าร่วมกันและชื่อเสียงขององค์กรทำหน้าที่เป็นตัวแปรคั่นกลางของความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคม และผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนขององค์กร 10) ชื่อเสียงขององค์กรทำหน้าที่เป็นตัวแปรคั่นกลางของความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคม และผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนขององค์กร
รายละเอียด: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2561.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6619
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น