กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6964
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการลงโทษทางวินัย ตามมาตรา 7 และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2482
ชื่อเรื่องอื่นๆ: DISCIPLINARY ACTION ISSUES UNDER ARTICLE 7 AND 8 OF THE CIVIL SERVICE DISCIPLINE ACT, DEPARTMENT OF CORRECTIONS, B.E.2482
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทนงศักดิ์ อนุสาร
คำสำคัญ: วินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2482
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ทนงศักดิ์ อนุสาร. 2563. "ปัญหาการลงโทษทางวินัย ตามมาตรา 7 และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2482." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_ทนงศักดิ์ อนุสาร_T186640_2563
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงการลงโทษ ตามพระราชบัญญัติวินัยข้าราชการ กรมราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2482 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ กับการลงโทษตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 เมื่อเจ้าพนักงานเรือนจำ ซึ่งเป็นข้าราชการกรมราชทัณฑ์กระทำผิดวินัย เพื่อเป็นหลักประกันความถูกต้อง เหมาะสม ยุติธรรม และให้สอดคล้องกับแนวทางการลงโทษของสำนักงาน ก.พ.ในพฤติการณ์การกระทำผิด แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การดำเนินการทางวินัยของผู้บัญชาการเรือนจำ ผู้อำนวยการทัณฑสถานหรือผู้อำนวยการสถานกักขัง ในฐานะผู้บังคับบัญชาชั้นต้น ได้พิจารณาลงโทษในพฤติการณ์การกระทำความผิดของ เจ้าพนักงานเรือนจำ ตามพระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2482 เป็นส่วนใหญ่ไม่ได้นำหมวด 6 ว่าด้วยเรื่องวินัย และการรักษาวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาพิจารณา แม้กฎหมายจะให้อำนาจใช้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ยกตัวอย่าง เช่น กรณีเจ้าพนักงานเรือนจำละทิ้งหน้าที่ราชการ ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ระบุฐานความผิดไว้ชัดเจน และปรากฏว่ามีการลงโทษเจ้าพนักงานเรือนจำในพฤติการณ์การกระทำผิดในลักษณะเดียวกัน ในกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ
รายละเอียด: หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6964
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น