กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/780
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการซื้อขายซากรถ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปวีณวัชร์, ภัทรชัยพงศ์
คำสำคัญ: กฎหมาย
การซื้อขายซากรถ
วันที่เผยแพร่: 16-กุมภาพันธ์-2551
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการใช้ข้อมูลจากเอกสารการสัมภาษณ์ของงานป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการศึกษาวิเคราะห์การบังคับใช้กฎหมาย และมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและควบคุมการกระทำผิดในการโจรกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์มาตรการทางกฎหมาย เพื่อป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รวมถึงการวางแผนและเสนอแนะนโยบาย แนวทางและมาตรการทางกฎหมายที่จะปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ในปัจจุบัน การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมวิธีการสืบสวนตรวจสอบรถที่สงสัยว่าจะเป็นรถสวมซากจากรถที่เกิดอุบัติเหตุ เพื่อศึกษาถึงวิธีการโจรกรรมรถ การสวมซากทะเบียนรถและกระบวนการของคนร้ายในการโจรกรรมรถ การสวมซากรถ และการจำหน่ายรถ และเพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงมาตรการป้องกันและบทลงโทษเกี่ยวกับการโจรกรรมรถยนต์และจักรยานยนต์และควบคุมการซื้อขายซากรถที่เกิดอุบัติเหตุ โดยศึกษาเอกสารวิชาการและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการศึกษาวิเคราะห์วิธีการสวมซากรถ วิธีการโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์มาสวมซากกับซากรถที่เสียหายจากอุบัติเหตุ และวิเคราะห์การบังคับใช้กฎหมายและมาตรการทางกฎหมาย ในการป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและควบคุมการกระทำความผิดในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาการสวมซากรถและปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์และจักรยานยนต์ในปัจจุบันและอนาคต ผลการศึกษาพบว่า การโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์มาสวมซากเพื่อจำหน่ายมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี เนื่องจากรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาค่อนข้างสูงและยังเป็นที่ต้องการของประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย เมื่อโจรกรรมรถมาได้แล้วจะมีกรรมวิธีที่จะนำไปจำหน่ายแตกต่างกันไป เช่น นำไปแยกเป็นชิ้นส่วนหรืออะไหล่ นำไปสวมซากรถที่เกิดอุบัติเหตุ หรือนำไปใช้โดยสวมป้ายทะเบียน เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายที่ใช้ควบคุมการกระทำผิดนั้นมีบทลงโทษไม่รุนแรงและการบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ นำไปสู่ความเดือดร้อนของสังคม ทำให้พวกมิจฉาชีพไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายของบ้านเมือง กอปรกับเจ้าหน้าที่ตำรวจยังขาดความรู้ความเข้าใจกระบวนการกระทำความผิดของเหล่ามิจฉาชีพ และหากยังมีการอนุญาตให้จำหน่ายรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุ ปัญหาดังกล่าวข้างต้นไม่สามารถหมดสิ้นไปได้ ในขณะที่ต่างประเทศเมื่อรถยนต์เกิดอุบัติเหตุจะต้องทิ้งหรือขายไปเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการซ่อมสูงมากกว่าราคารถใหม่ และรถที่มีอายุใช้งานเกิน 4 ปี จะต้องเสียภาษีแพงเป็นหลายเท่า เพื่อเป็นการจำกัดจำนวนรถและป้องกันมลพิษที่จะเกิดขึ้น ส่วนมาตรการทางกฎหมายนั้นใช้มานานมากและไม่ได้ปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดช่องโหว่ของกฎหมายมากมายทำให้ผู้กระทำความผิดอาศัยเป็นช่องทางหลีกเลี่ยงกฎหมายได้
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/780
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น