กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7936
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorปรัชญา เพชรเจริญth_TH
dc.date.accessioned2022-01-13T08:24:50Z-
dc.date.available2022-01-13T08:24:50Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.citationปรัชญา เพชรเจริญ. 2564. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับบ้านพักอาศัยผู้สูงอายุเอกชน." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7936-
dc.description.abstractสารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับบ้านพักอาศัยผู้สูงอายุเอกชน เนื่องจากพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดให้มีบ้านพักอาศัยผู้สูงอายุเอกชนไว้ ส่งผลให้ผู้สูงอายุบางกลุ่มไม่มีที่พักอาศัยในวัยเกษียณอายุ และไม่มีเงินทุนสำรองเพื่อจัดหาบ้านพักอาศัยผู้สูงอายุเอกชน ผลการศึกษาพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เกี่ยวกับบ้านพักอาศัยผู้สูงอายุเอกชนนั้นมีปัญหาดังนี้ (1) ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในการจัดให้มีบ้านพักอาศัยผู้สูงอายุเอกชน พบว่ามาตรา 3 และมาตรา 11 (10) ไม่ได้กำหนดเกี่ยวกับสิทธิในการจัดให้มีบ้านพักอาศัยผู้สูงอายุเอกชนไว้ ส่งผลให้การจัดหาบ้านพักอาศัยผู้สูงอายุเอกชนเป็นหน้าที่ของผู้สูงอายุหรือญาติหรือบุคคลที่ดูแลผู้สูงอายุนั้น (2) ปัญหาเกี่ยวกับการจัดให้มีกองทุนบ้านพักอาศัยผู้สูงอายุเอกชน พบว่ามาตรา 13 และมาตรา 14 ไม่ได้กำหนดวิธีการและหลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนบ้านพักอาศัยผู้สูงอายุเอกชนไว้ ส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่มีเงินทุนสำรองและการวางแผนเพื่อที่จะเข้าพักอาศัยในบ้านพักสูงอายุเอกชน (3) ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจของคณะกรรมการบริหารกองทุนในการจัดกองทุนบ้านพักอาศัยผู้สูงอายุเอกชน พบว่ามาตรา 20 ไม่ได้ให้อำนาจหน้าที่แก่คณะกรรมการบริหารกองทุนในการบริหารจัดการและดำเนินเกี่ยวกับกองทุนบ้านพักอาศัยผู้สูงอายุเอกชนไว้ ส่งผลให้ปัจจุบันยังไม่มีการจัดตั้งกองทุนบ้านพักอาศัยของผู้สูงอายุเอกชน จากสภาพปัญหาทั้งสามกรณีดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบกับ สหราชอาณาจักรและประเทศญี่ปุ่นพบว่า กฎหมายทั้งสองประเทศได้สนับสนุนเรื่องบ้านพักผู้สูงอายุเอกชน โดยมีมาตรการทางกฎหมายและมาตรฐานรองรับ เพื่อควบคุมการประกอบธุรกิจดังกล่าวและเพื่อให้การประกอบธุรกิจบ้านพักผู้สูงอายุเอกชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังได้มีการวางแผนและเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการพักอาศัยในบ้านพักผู้สูงอายุเอกชน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของค่าใช้จ่าย สถานที่พักอาศัย ทำเล สภาพแวดล้อมที่ตนต้องการพักอาศัยในช่วงบั้นปลายของชีวิต ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เกี่ยวกับบ้านพักอาศัยผู้สูงอายุเอกชน ประกอบด้วย (1) กำหนดให้สิทธิที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 11 (10) รวมถึงสิทธิในการมีบ้านพักอาศัยผู้สูงอายุเอกชน (2) กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนบ้านพักอาศัยผู้สูงอายุเอกชนตามมาตรา 14 เพื่อเป็นการสนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีบ้านพักอาศัยเอกชนได้ (3) กำหนดให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนบ้านพักอาศัยผู้สูงอายุเอกชนตามมาตรา 20th_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectบ้านพักอาศัยth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectเอกชนth_TH
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับบ้านพักอาศัยผู้สูงอายุเอกชนth_TH
dc.title.alternativeLEGAL ISSUES REGARDING PRIVATE ELDERLY RESIDENTIAL FACILITYth_TH
dc.typeThesisth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น