กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8287
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความอยู่รอดของผู้รับเหมาก่อสร้าง ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี กรณีศึกษา ช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: IMPACT FACTORS ON THE SURVIVAL OF CONSTRUCTION CONTRACTORS IN SRIRACHA DISTRICT CHONBURI PROVINCE A CASE STUDY ON ECONOMIC CRISIS
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เจตนิพัทธ์ กางทอง
คำสำคัญ: ผู้รับเหมาก่อสร้าง
ภาวะวิกฤติ
เศรษฐกิจโลก
จังหวัดชลบุรี
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: เจตนิพัทธ์ กางทอง. 2555. “ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความอยู่รอดของผู้รับเหมาก่อสร้าง ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี กรณีศึกษา ช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก.” การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงลักษณะการปรับตัวที่เหมาะสมสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง ที่มีขนาดทุน จดทะเบียนแตกต่างกันและ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความอยู่รอดของผู้รับเหมาก่อสร้าง ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี กรณีศึกษาช่วงภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก การศึกษาครั้งนี้ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามปลายเปิดและแบบสอบถามปลายปิด จากผู้รับเหมาก่อสร้าง เฉพาะพื้นที่ในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวนทั้งสิ้น 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า ลักษณะทั่วไปของกลุ่มประชากรที่เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง พบว่า ผู้รับเหมาก่อสร้างหรือตัวแทนบริษัท จำนวน 50 คน ส่วนใหญ่บริษัทมีทุนการจดทะเบียน 50,000,000 บาทขึ้นไป เพศชาย จำนวน 50 คน เป็นผู้ที่มีอายุระหว่าง 30 – 39 ปี จำนวน 18 คน เป็นผู้ที่จบการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 41 คน ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความอยู่รอดของผู้รับเหมาก่อสร้าง ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก ซึ่งพิจารณาแยกตามขนาดขององค์กร 3 ขนาด คือทุนจดทะเบียนน้อยกว่า 5,000,000 บาท ผู้รับเหมาก่สร้างที่มีทุนจดทะเบียน 5,000,000 – 49,000,000 บาท ผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50,000,000 บาท ขึ้นไป พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ให้ความสำคัญต่อปัจจัยการเงินการบัญชีและเศรษฐกิจ เป็นลำดับแรก ปัจจัยด้านการบริหารและการจัดการทำงาน รองลงมา และปัจจัยด้านการตลาด เป็นลำดับสุดท้าย การทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ทุนจดทะเบียนต่างกันมีผลต่อปัจจัยความอยู่รอดของผู้รับเหมาก่อสร้าง ด้านการบริหารและการจัดการ ด้านการตลาดแตกต่างกัน ด้านการเงินการบัญชีและเศรษฐกิจ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8287
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ARC-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น