Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8754
Title: ปัญหาความรับผิดของแพทย์ในคดีทางการแพทย์
Other Titles: PHYSICIAN LIABILITY PROBLEMS IN MEDICAL CASE
Authors: วนิชา สุขไมตรี
Keywords: ความรับผิดของแพทย์
คดีทางการแพทย์
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: วนิชา สุขไมตรี. 2564. "ปัญหาความรับผิดของแพทย์ในคดีทางการแพทย์." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาเรื่องของปัญหาความรับผิดของแพทย์ในคดีทางการแพทย์ เนื่องด้วยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 กำหนดให้การฟ้องคดีผู้บริโภค โจทก์จะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ ในกรณีที่โจทก์ประสงค์จะฟ้องด้วยวาจา ให้เจ้าพนักงานคดีจัดให้มีการบันทึกรายละเอียดแห่งคำฟ้องแล้วให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ แต่ยังมีปัญหาเรื่องการบังคับใช้ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่แพทย์ ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ทำหน้าที่ในการรักษาคนไข้ ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับภาระการพิสูจน์ในคดีทางการแพทย์ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 4 กำหนดให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีในชั้นของการรวบรวมข้อเท็จจริงและการพิจารณาสืบพยานในชั้นสืบพยานจะช่วยให้ศาลเข้าใจข้อเท็จจริงและประเด็นชัดเจนยิ่งขึ้น อันจะช่วยเหลือให้ศาลมีบทบาทในเชิงรุกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เจ้าพนักงานคดียังมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคในการให้คำปรึกษา คำแนะนำ และการบันทึกคำฟ้องด้วยวาจา ซึ่งกฎหมายต้องการผลักดันและช่วยเหลือให้ผู้บริโภคสามารถดำเนินคดีด้วยตนเองได้ (2) ปัญหาเรื่องอายุความในการฟ้องร้องคดี พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 14 ได้อุดช่องว่างดังกล่าว โดยกำหนดว่า หากมีการเจรจาไกล่เกลี่ยเรื่องค่าเสียหายระหว่างผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้บริโภค ให้ถือว่าอายุความสะดุดหยุดลงระหว่างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกการเจรจา โดยวางหลักไว้ว่า “มีการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหายที่พึงจ่ายระหว่างผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค ให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ไม่นับในระหว่างนั้น จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้บอกเลิกการเจรจา ในประเด็นนี้จะเห็นได้ว่ากฎหมายให้ความคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอย่างมาก แต่ไม่ได้ให้ความคุ้มครองแพทย์ซึ่งเป็นเจ้าของคลีนิคเท่าที่ควร จึงส่งผลให้ในทางปฏิบัติแพทย์ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ เพราะเกรงกลัวต่อกฎหมายและกลัวมีความผิด (3) การจัดตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือในคดีทางการแพทย์ หากพิจารณาถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นในคดีทางการแพทย์นั้น จะเห็นได้ว่า ในช่วงเวลาที่เกิดความเสียจนกระทั่งถึงกระบวนการตัดสินคดีของศาลเพื่อให้ฝ่ายใดเป็นฝ่ายชนะหรือแพ้คดีนั้น สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ทั้งสองฝ่ายต่างได้รับความเสียหาย ฉะนั้น การมีกองทุนคุ้มครองในคดีทางการแพทย์ โดยกำหนดขึ้นมาให้เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองและให้ความช่วยเหลือในคดีทางการแพทย์จึงถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อเป็นทุนสำหรับการเยียวยาความเสียหายในเบื้องต้น และเพื่อเป็นการกำหนดรูปแบบของกองทุนให้เข้าถึงภาระหน้าที่ตรงตามที่กฎหมายกำหนดให้ชัดเจนในการปกป้องคุ้มครองผู้บริโภค ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาทางกฎหมาย โดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ในส่วนของคดีบริการทางการแพทย์ที่ผู้เสียหาย ทั้งในเรื่องของภาระการพิสูจน์ในคดีทางการแพทย์ อายุความในการฟ้องร้องคดี และการจัดตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือในคดีทางการแพทย์
Description: ตารางและรูปภาพประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8754
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.