Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9101
Title: ปัญหากฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ศึกษากรณีการลงโทษการโฆษณาแฝงโดยใช้เครื่องหมายการค้าเสมือน
Other Titles: PROBLEMS IN THE ENFORCEMENT OF THE ALCOHOL CONTROL ACT B.E. 2551(2008): STUDY THE CASE OF PENALTIES OF HIDDEN ADVERTISING USING VIRTUAL TRADEMARKS
Authors: ปนัดดา รอดแสดง
Keywords: เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การลงโทษ
เครื่องหมายการค้าเสมือน
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ปนัดดา รอดแสดง. 2565. "ปัญหากฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ศึกษากรณีการลงโทษการโฆษณาแฝงโดยใช้เครื่องหมายการค้าเสมือน." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้าปัญหากฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 : ศึกษากรณีการลงโทษการโฆษณาแฝงโดยใช้เครื่องหมายการค้าเสมือน โดยศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ด้วยเหตุว่าสภาพสังคมและวิธีการสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้การควบคุมการโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นไปด้วยความลำบากและพบผู้กระทำความผิดเป็นจำนวนมาก จากการศึกษาพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้องพบว่ามิได้มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามชัดเจนมิให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเครื่องหมายการค้าของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือที่มีลักษณะส่วนหนึ่งส่วนใดคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของผลิตภัณฑ์หรือบริการอื่น ดังนั้นแม้มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ผู้ประกอบธุรกิจยังสามารถโฆษณาและสร้างการรับรู้ในเครื่องดื่มแอลกฮอล์ผ่านเครื่องหมายการค้าเสมือนหรือ BRAND DNA นอกจากนี้ยังพบปัญหาในด้านคำจำกัดความของคำว่า “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” และพบว่าผู้ประกอบธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของภาครัฐและเอกชน ส่งผลกระทบต่อการควบคุมการโฆษณาและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ อีกทั้งยังพบว่าบทกำหนดโทษไม่เหมาะสม เป็นผลให้การควบคุมการโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้นผู้วิจัยจึงขอเสนอมาตรการเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยกำหนดคำนิยามเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มีความชัดเจน, แก้ไขห้ามมิให้ผู้ใดนำชื่อหรือเครื่องหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดไปแสดงบนผลิตภัณฑ์อื่น, เพิ่มเติมบทบัญญัติควบคุมกรณีทุนอุปถัมภ์และปรับบทกำหนดโทษให้เหมาะสมโดยเปลี่ยนเป็นโทษทางปกครอง เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Description: ตารางและรูปภาพประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9101
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.