Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9108
Title: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการซากรถยนต์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
Other Titles: LEGAL MEASURES ON GREEN MANAGEMENT OF END-OF-LIFE VEHICLE
Authors: พิมพ์สุดา บุญโนทก
Keywords: การจัดการซากรถยนต์
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: พิมพ์สุดา บุญโนทก. 2566. "มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการซากรถยนต์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการจัดการซากรถยนต์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากปัจจุบันซากรถยนต์ในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มสูงมากขึ้น กฎหมายไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการจัดการซากรถยนต์ให้เหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิชาการ มาตรการที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาให้เกิดการจัดการซากรถยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการซากรถยนต์ พบว่า พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มีการกำหนดคำนิยามของคำว่า ซากยานยนต์ไว้ในมาตรา 4 แต่ยังไม่มีการกำหนดคำนิยามของคำว่าซากรถยนต์ไว้เป็นการเฉพาะ ทำให้เกิดการตีความได้ว่า ต้องมีลักษณะเช่นใดถึงจะเข้าลักษณะของคำว่าซากรถยนต์ ประกอบกับคำนิยามที่ถูกกำหนดไว้นั้นยังไม่ครอบคลุมถึงความหมายของซากรถยนต์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด และไม่มีการกำหนดกลไกการจัดการซากรถยนต์อย่างชัดเจน (2) ปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตรถยนต์ในการจัดการซากรถยนต์ พบว่า ตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 ไม่ได้มีการกำหนดให้ผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตรถยนต์เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการซากรถยนต์ และการออกแบบรถยนต์ใหม่ ผู้ผลิตก็ไม่ได้คำนึงถึงการรีไซเคิลซากรถยนต์หรือของเสียอันตรายที่เกิดจากซากรถยนต์แต่อย่างใด (3) ปัญหาเกี่ยวกับบทกำหนดโทษความผิดในการจัดการซากรถยนต์ พบว่า การจัดการซากรถยนต์และการกำหนดโทษของความผิดเกี่ยวกับการจัดการซากรถยนต์นั้น มีการกำหนดในพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 18 และมาตรา 56 ซึ่งบทกำหนดโทษที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นการกำหนดบทลงโทษสถานเบา เมื่อเทียบกับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หากเกิดการรั่วไหลของสารเคมีที่อยู่ในตัวรถยนต์นั้น และเกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากซากรถยนต์เป็นของเสียอันตรายที่ต้องได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ดังนั้น เพื่อให้การจัดการซากรถยนต์เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 ประกอบด้วย (1) คำนิยามที่กำหนดในมาตรา 4 คำว่า ซากรถยนต์ (2) การกำหนดให้ผู้ผลิตเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการซากรถยนต์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (3) การจัดการซากรถยนต์และบทกำหนดโทษในมาตรา 18 และมาตรา 56 เรื่องบทกำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9108
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.