Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9247
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกัญญาพัชร กล่อมจิตต์th_TH
dc.date.accessioned2023-07-22T03:31:07Z-
dc.date.available2023-07-22T03:31:07Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.citationกัญญาพัชร กล่อมจิตต์. 2566. "มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมเกมออนไลน์: ศึกษากรณีเกมออนไลน์บนแอปพลิเคชันมือถือ." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9247-
dc.description.abstractสารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมเกมออนไลน์: ศึกษากรณีเกมออนไลน์บนแอปพลิเคชันมือถือ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวกับการควบคุมเกมออนไลน์กรณีเกมออนไลน์บนแอปพลิเคชันมือถือ (2) มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมเกมออนไลน์กรณีเกมออนไลน์บนแอปพลิเคชันมือถือของต่างประเทศ และประเทศไทย (3) ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมเกมออนไลน์กรณีเกมออนไลน์บนแอปพลิเคชันมือถือ และ (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมเกมออนไลน์กรณีเกมออนไลน์บนแอปพลิเคชันมือถือได้อย่างเหมาะสม ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับคำนิยามของเกมออนไลน์บนแอปพลิเคชันมือถือ และคำนิยามของเยาวชน พบว่า พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 4 คำนิยามของคำว่า “วีดิทัศน์” มีการให้ความหมายไว้ไม่ครอบคลุมถึงเกมออนไลน์บนแอปพลิเคชันมือถือ และมิได้มีการกำหนดคำนิยามของคำว่าเยาวชนเอาไว้ซึ่งควรมีคำนิยามของ “เยาวชน” ไว้เพื่อกำหนดอายุของเยาวชนให้ชัดเจนเพื่อให้ความคุ้มครองแก่เยาวชนที่เล่นเกมออนไลน์บนแอปพลิเคชันมือถือได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) ปัญหาเกี่ยวกับการจัดประเภทและเรตติ้งของเกมออนไลน์บนแอปพลิเคชันมือถือ พบว่า พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 47 มิได้มีการจัดจำแนกประเภทของเกมออกเป็นประเภทต่าง ๆ หรือที่เรียกว่าการจัดเรตติ้ง การที่ประเทศไทยไม่มีการจัดเรตติ้งเกมนั้นอาจทำให้เยาวชนบางคนเล่นเกมที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมกับช่วงอายุของตนได้ (3) ปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมและกำหนดระยะเวลาการเล่นเกมออนไลน์บนแอปพลิเคชันมือถือ พบว่าพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 59 มิได้มีการควบคุมและกำหนดระยะเวลาการเล่นเกมออนไลน์บนแอปพลิเคชันมือถือของเยาวชนเอาไว้ จึงส่งผลให้เยาวชนมีการเล่นเกมได้อย่างเสรี โดยไม่มีการจำกัดเวลาเอาไว้ สามารถเล่นได้ทุกที่ทุกเวลา ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมาย โดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 โดยกำหนดให้ (1) แก้ไขคำนิยามของวีดิทัศน์ และบัญญัติคำนิยามของเยาวชนเพิ่ม (2) แก้ไขมาตรา 47 และบัญญัติให้มีการจัดประเภทและเรตติ้งของเกมออนไลน์บนแอปพลิเคชันมือถือโดยบัญญัติไว้เป็นกฎกระทรวง (3) บัญญัติมาตราใหม่ให้มีการควบคุมและกำหนดระยะเวลาการเล่นเกมออนไลน์บนแอปพลิเคชันมือถือของเยาวชนเอาไว้th_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectเกมออนไลน์th_TH
dc.subjectแอปพลิเคชันมือถือth_TH
dc.titleมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมเกมออนไลน์: ศึกษากรณีเกมออนไลน์บนแอปพลิเคชันมือถือth_TH
dc.title.alternativeLEGAL MEASURES TO REGULATE ONLINE GAMES: A CASE STUDY OF ONLINE GAMES ON MOBILE APPLICATIONth_TH
dc.typeThesisth_TH
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.