กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9303
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีบทบาทหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE PROBLEMS OF ENFORCEMENT OF COURT MARSHALLS ACT 2019 : CASE STUDY OF COURT MARSHALL'S DUTIES
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิริยาภรณ์ วิโรจน์รัตน์
คำสำคัญ: การคุ้มครองพยาน
การออกข้อกำหนดเพื่อระงับเหตุ
การริบทรัพย์สิน
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: วิริยาภรณ์ วิโรจน์รัตน์. 2566. "ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีบทบาทหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิดและทฤษฎีที่กำหนดให้มีตำแหน่ง เจ้าพนักงานตำรวจศาลตามพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาลของต่างประเทศเปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศไทย มาตรการพิเศษเพื่อคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญาในบริเวณศาล การออกข้อกำหนดใด ๆ เพื่อระงับเหตุความไม่สงบเรียบร้อยภายในบริเวณศาลและการบังคับริบทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดในบริเวณศาล ทั้งนี้ เพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 เกี่ยวกับการคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญาในบริเวณศาล, การออกข้อกำหนดใด ๆ เพื่อระงับเหตุความไม่สงบเรียบร้อยภายในบริเวณศาล และการบังคับริบทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดในบริเวณศาล จากการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศอังกฤษ นั้น พบว่า บทบาทหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาลในบริเวณศาลของประเทศไทยยังไม่ครอบคลุม ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่าควรเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. 2562 มาตรา 5 (6) ให้เจ้าพนักงานตำรวจศาลมีหน้าที่คุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญาภายในบริเวณศาล มาตรา 5 (7) ให้เจ้าพนักงานตำรวจศาลสามารถออกข้อกำหนดใด ๆ เพื่อระงับเหตุความไม่สงบเรียบร้อยภายในบริเวณศาล และมาตรา 5 (8) ให้เจ้าพนักงานตำรวจศาลมีอำนาจริบทรัพย์สินที่ทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือทรัพย์สินที่ได้ให้เพื่อจูงใจให้กระทำความผิดในบริเวณศาล ซึ่งข้อเสนอแนะทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและป้องกันด้านความปลอดภัยแก่ผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับคู่ความผู้มีอรรถคดีหรือผู้มีส่วนได้เสียในคดี บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งประชาชนผู้มาติดต่อราชการศาล
รายละเอียด: ตารางประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9303
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น