Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9370
Title: ปัญหากฎหมายว่าด้วยการควบคุม จำกัดสิทธิ หรือระงับสิทธิ ของประชาชนในการใช้ทรัพยากรน้ำ
Other Titles: LEGAL PROBLEMS ON CONTROLLING, RESTRICTING OR SUSPENDING OF PEOPLE’S RIGHTS TO USE WATER RESOURCES
Authors: พัชราภรณ์ เกิดสิน
Keywords: ควบคุม
จำกัดสิทธิ
ระงับสิทธิ
ทรัพยากรน้ำ
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: พัชราภรณ์ เกิดสิน. 2566. "ปัญหากฎหมายว่าด้วยการควบคุม จำกัดสิทธิ หรือระงับสิทธิ ของประชาชนในการใช้ทรัพยากรน้ำ." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการควบคุม จำกัดสิทธิ หรือระงับสิทธิของประชาชนในการใช้ทรัพยากรน้ำ โดยมุ่งศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการควบคุม จำกัดสิทธิ หรือระงับสิทธิของประชาชนในการใช้ทรัพยากรน้ำในประเทศไทย ศึกษาพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 พร้อมทั้งศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบหลักการและหลักเกณฑ์ของกฎหมายทรัพยากรน้ำในกฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทย เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการควบคุม จำกัดสิทธิ หรือระงับสิทธิของประชาชนในการใช้ทรัพยากรน้ำในประเทศไทยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป ปัจจุบันการบริหารจัดการน้ำในประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับและมีหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาและบริหารจัดการน้ำหลายหน่วยงาน อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์ในมิติของสิทธิในทรัพยากรน้ำแล้วพบว่า มาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 นั้น มีสภาพการใช้บังคับในลักษณะเป็นการควบคุม จำกัดสิทธิ หรือระงับสิทธิของประชาชนในการใช้ทรัพยากรน้ำ แต่กฎหมายดังกล่าวยังมีความเคลือบคลุม ขาดหลักเกณฑ์และขาดความชัดเจนเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐที่จะต้องรับผิดชอบ อีกทั้ง การใช้ดุลพินิจทางปกครองของฝ่ายปกครองในการพิจารณาตีความกฎหมายก็ยังไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน ส่งผลให้เกิดปัญหาในการใช้บังคับกฎหมาย ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการใช้บังคับกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการควบคุมจำกัดสิทธิ หรือระงับสิทธิของประชาชน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีข้อเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมาย โดยเห็นควรให้มีการออกกฎกระทรวงร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เนื่องจากเป็นรูปแบบที่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ง่าย และสามารถกระทำได้หลายฉบับ นอกจากนี้ ในส่วนของการชดใช้ค่าเสียหายและค่าทดแทนแก่ประชาชนนั้น เห็นควรให้มีการออกกฎกระทรวงที่มีรายละเอียดของหลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดสิทธิ หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าเสียหายและค่าทดแทน หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับกฎหมายการเวนคืนที่ดินริมน้ำที่จะได้รับผลกระทบจากการบริหารจัดการน้ำและการดำเนินการทางปกครองของเจ้าหน้าที่ที่ชัดเจน ตรวจสอบได้ อีกทั้ง รัฐควรจัดให้มีการจ่ายเงินค่าชดเชยแก่ประชาชนผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินริมน้ำที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำทางปกครองของรัฐด้วย ตลอดจนเห็นควรให้มีองค์กรอื่นๆ เช่น สมาคมคุ้มครองผู้บริโภค หรือองค์กรสิทธิมนุษยชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกระบวนการตามกฎหมายที่มีสภาพการใช้บังคับในลักษณะเป็นการควบคุม จำกัดสิทธิของประชาชน เพื่อให้สัดส่วนการได้ใช้ประโยชน์ในทรัพยากรน้ำของประชาชนกับรัฐมีความสมดุลและเป็นธรรมต่อทุกภาคส่วนอีกด้วย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9370
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.