LAW-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย เรื่อง "กฎหมายต้นแบบ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 16 ของ 16
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) เลิศ เทือกแสงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง โดยมีวิธีวิทยาการวิจัยในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น การวิเคราะห์ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณณา ผลการวิจัยพบว่า สัตว์พันธุ์พื้นเมืองของไทยมีปัญหาการสูญพันธ์ และกลายพันธุ์ ที่ต้องคุ้มครองเพื่อเป็นสัตว์เอกลักษณ์ของไทย โดยใช้กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง ซึ่งมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย คำนิยามคณะกรรมการคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง การคุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง การขอใช้ประโยชน์จากสัตว์พันธุ์พื้นเมือง การขออนุญาตและให้ใบอนุญาต พนักงานเจ้าหน้าที่คุ้มครองสัตว์พันธุ์พื้นเมือง และ บทกำหนดโทษ การวิจัยเสนอแนะ ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอกฎหมายต้นแบบนี้ต่อรัฐสภาเพื่อตราเป็นกฎหมายใช้บังคับ และให้ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความสำคัญและคุณค่าของสัตว์พันธุ์พื้นเมืองแก่คนไทยเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในสัตว์พันธุ์พื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(Sripatum University, 2563-12-01) มโหสถ เกิดเดชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการหาคำตอบขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น การวิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ - ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น คำตอบที่ได้มานำไปสู่การจัดทำเป็นกฎหมาย ต้นแบบรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดระเบียบที่พักแรมที่ไม่ใช่ โรงแรมและหอพัก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) วรรณชัย พรหมรักษ์วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดระเบียบกิจการที่พักแรมที่ไม่ใช่โรงแรมและหอพักเพื่อให้มีมาตรฐานขั้นต่ำในการดำเนินกิจการ การบริหารจัดการและการให้บริการของผู้ประกอบกิจการเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน สังคม เศรษฐกิจ การป้องกันปัญหาอาชญากรรม การคุ้มครองสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม สิทธิของผู้บริโภค และส่งเสริมภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยว การวิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น เพื่อนำคำตอบไปจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการจัดระเบียบที่พักแรมที่ไม่ใช่โรงแรมและหอพัก ข้อค้นพบของการวิจัยเป็นการจัดทำกฎหมายต้นแบบ เพื่อใช้บังคับในการควบคุมและดูแลการประกอบกิจการที่พักแรม คือ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดระเบียบที่พักแรมที่ไม่ใช่โรงแรมและหอพัก พ.ศ. .... โดยโครงสร้างของกฎหมาย มีบทบัญญัติ 35 มาตรา ประกอบด้วยคำนิยาม องค์กรควบคุม คณะกรรมการส่งเสริมและกํากับธุรกิจที่พักแรม การแจ้งและขออนุญาตประกอบกิจการ การบริหารจัดการ เพื่อป้องกันปัญหา ความรับผิดของผู้ประกอบกิจการ และการมีส่วนร่วมของประชาชน การวิจัยเสนอแนะให้มีการตรากฎหมายนี้เพื่อจัดระเบียบและควบคุมที่พักแรมที่ไม่ใช่โรงแรมและหอพัก และให้ออกกฎหมายลำดับรองเพื่อการบังคับใช้รายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่งทางสิ่งแวดล้อมแบบกลุ่ม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) สุระทิน ชัยทองคำการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่งทางสิ่งแวดล้อมแบบกลุ่ม จากปัญหา ข้อจำกัด อุปสรรค และความไม่เหมาะสมของกระบวนพิจารณาคดีแบบกลุ่มตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หมวด 4 การดำเนินคดีแบบกลุ่ม และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร (Documentary research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสัมมนารับฟังความคิดเห็น (Hearing) ผลการวิจัยพบว่าการดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมแบบกลุ่มตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หมวด 4 การดำเนินคดีแบบกลุ่มมีปัญหาและไม่เหมาะสมที่จะใช้สำหรับการฟ้องคดีสิ่งแวดล้อมแบบกลุ่ม จึงได้จัดทำร่างปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... โดยเพิ่มเติม หมวด 6 ความรับผิดทางแพ่ง เป็นหมวด 6/1 การดำเนินคดีแบบกลุ่ม แยกออกเป็น 6 ส่วน จำนวน 20 มาตรา ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 บททั่วไป ส่วนที่ 2 การฟ้องคดี ส่วนที่ 3 การพิจารณาคดี ส่วนที่ 4 คำพิพากษาหรือคำสั่ง ส่วนที่ 5 อุทธรณ์และฎีกา และส่วนที่ 6 บังคับคดีรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการประกอบธุรกิจดำน้ำ(Sripatum University, 2565) ชัดติยาพร คำแสนงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการประกอบธุรกิจดำน้ำ วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็นรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) สหัส ไพภักดิ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ข้อค้นพบของการวิจัย คือ ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายใช้บังคับอยู่หลายฉบับ ซึ่งการบัญญัติกฎหมายดังกล่าวมีเนื้อหาไม่ชัดเจน ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายมีความสับสน และไม่สามารถนำกฎหมายที่มีอยู่ไปบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นความสำคัญที่จะต้องมีการดำเนินการเพื่อทำให้มีกฎหมายว่าด้วยการก่อการร้ายขึ้นเฉพาะอยู่ในฉบับเดียวกัน เพื่อให้เป็นกฎหมายที่สามารถบังคับใช้ในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับหลักสากล การวิจัยจึงได้จัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย โดยมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย 10 หมวด 43 มาตรา ข้อเสนอแนะของการวิจัย คือ ให้มีนำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายไปตราเป็กฎหมายตามโครงสร้างกฎหมายจากการวิจัยนี้รายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการระงับข้อพิพาทในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) ชญานิศ ภาชีรัตน์การวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการระงับข้อพิพาทในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา สืบเนื่องจากปัญหาข้อพิพาททางอาญาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทั้งระบบ เพื่อทำให้ปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลลดน้อยลง ลดปัญหาความขัดแย้ง เกิดความสมานฉันท์ขึ้นในสังคม ลดงบประมาณแผ่นดิน และเสริมสร้างสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข จึงนำมาสู่การจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการระงับข้อพิพาทในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพื่อกำหนดเป็นกฎหมายกลางให้หน่วยงานของรัฐ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีอาญา รวมทั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนใช้ในการระงับข้อพิพาททางอาญาบางประเภท โดยวิเคราะห์กฎหมายภายใน กฎหมายต่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ และใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ทำให้ได้มาซึ่งวิธีการระงับข้อพิพาทที่สามารถจะทำให้คดีอาญาลดลงไปได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยมีโครงสร้างประกอบด้วย การไกล่เกลี่ย การชะลอฟ้อง การสั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ การเจรจาต่อรอง อันนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562รายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการรับรองสถานะและการคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ของเพศสภาพ(Sripatum University, 2565) พงศกร ถิ่นเขาต่องานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการรับรองสถานะและการคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ของเพศสภาพ การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิทยาการวิจัย เชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็นรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ดนัยณัฐ จิระวัฒนาสมกุลการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาคำตอบในการบริหารจัดการ มาตรการส่งเสริม และสิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมเกษตรกรให้ทำการเกษตรอินทรีย์ การวิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัย เชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น คำตอบที่ได้นำไปสู่การจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ ข้อค้นพบของการวิจัย คือ ปัญหานโยบายการส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ที่ไม่ยั่งยืน ขัดแย้งและซ้ำซ้อนในการจัดการ การส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการระดับชาติ คณะกรรมการระดับจังหวัด และคณะกรรมการระดับพื้นที่โดย มีมาตรการส่งเสริมด้านการจัดหาตลาด และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรอินทรีย์ การกำหนดและตรวจสอบมาตรฐานผลผลิต จัดตั้งเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ และมาตรการทางภาษี โดยมีกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ มีบทบัญญัติ 23 มาตรา แบ่งเป็น หมวด 1 คณะกรรมการ หมวด 2 การบริหารจัดการ หมวด 3 มาตรการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์ และหมวด 4 การเพิกถอนการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์ ข้อเสนอแนะการวิจัย คือให้ตรากฎหมายฉบับนี้เพื่อใช้บังคับกับออกกฎหมายลำดับรองเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การตรวจประเมินแปลง มาตรฐานผลผลิตและการตรวจสอบ การพิจารณาให้และเพิกถอนสิทธิประโยชน์ เพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาทหาร(Sripatum University, 2565) พิมพ์อัปสร สร้างสมวงษ์การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาทหาร เป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็นรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยวินัยทหาร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) กฤตนัย ลิขิตจิตถะการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยวินัยทหารให้มีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกฎหมายมหาชนระหว่างประเทศ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า ขอบเขตหน้าที่และอำนาจของทหารมีกาพัฒนาเพิ่มมากขึ้นจากเดิมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แต่ทหารยังขาดการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิขั้นพื้นฐานตามหลักกฎหมายมหาชนระหว่างประเทศ ทำให้กฎหมายว่าด้วยวินัยทหารฉบับ พ.ศ. 2476 ไม่ทันสมัย การวิจัยได้ยกเลิกกฎหมายฉบับนี้และจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยวินัยทหารใหม่ โดยมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย การรักษาจรรยาบรรณทหาร วินัยและการรักษาวินัยทหาร การดำเนินการทางวินัยทหาร คณะกรรมการวินัยทหาร การอุทธรณ์ การฟ้องคดี และบทเฉพาะกาล การวิจัยเสนอแนะให้นำร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่รัฐสภา เพื่อตราเป็นกฎหมายใช้บังคับ และให้ศาลทหารจัดตั้งแผนกคดีวินัยทหารขึ้นในศาลทหารรายการ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยหลักเกณฑ์ความผิดมูลฐานในการปราบปรามการฟอกเงิน และมาตรการลดผลกระทบจากการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ปัณณวิช ทัพภวิมลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและมาตรการลดผลกระทบจากการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน วิธีวิทยาการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น คำตอบที่ได้มาจะนำไปสู่การจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบ การวิจัยพบว่าหลักเกณฑ์ความผิดมูลฐานที่ใช้เพื่อการกำหนดความผิดฐานฟอกเงินมี 6 ประการ คือความผิดที่มีลักษณะเป็นอาชญากรรมร้ายแรง ความผิดที่มีลักษณะเป็นการกระทำตามประเภทความผิดที่กำหนดไว้ ความผิดที่ได้ทรัพย์สินมาจากกระทำความความผิด ความผิดที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความผิดที่ไม่สามารถนำมาตรการอื่นใดมาบังคับใช้กฎหมายอย่างได้ผล ความผิดที่มีลักษณะจะต้องถูกตัดวงจรการประกอบอาชญากรรม และการผ่อนผันการยึดหรืออายัดทรัพย์สินจากการนำมาตรการยึดหรืออายัดทรัพย์สินมาใช้ โดยมีกฎหมายต้นแบบคือ กฎหมายต้นแบบว่าด้วยหลักเกณฑ์ความผิดมูลฐานในการปราบปรามการฟอกเงินและมาตรการลดผลกระทบจากการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน มีโครงสร้างกฎหมายต้นแบบที่มีบทบัญญัติกำหนดหลักเกณฑ์ความผิดมูลฐาน 6 ประการ และมาตรการผ่อนผันการการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน จะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการปราบปรามการฟอกเงิน การวิจัยนี้ข้อเสนอแนะให้แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เพื่อให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ความผิดมูลฐานเพื่อปราบปรามการฟอกเงินและกำหนดมาตรการผ่อนผันการยึดหรืออายัดเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน และเสนอแนะให้มีการจัดทำกฎหมายลำดับรองเพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพรายการ กฎหมายต้นแบบเพื่อการจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และวิธีพิจารณาคดีสิทธิมนุษยชน(Sripatum University, 2563-11-27) อนันต์ เพียรวัฒนะกุลชัยวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการหาคำตอบปัญหาของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยการจัดตั้งองค์กรศาล และวิธีพิจารณาคดีสิทธิมนุษยชน การวิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบหรือร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น เพื่อนำคำตอบไปจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบรายการ กฎหมายต้นแบบเพื่อการพัฒนาอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ภิญญาพัชญ์ ติบวงษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการหาคำตอบในการพัฒนาการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การวิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ,ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น คำตอบที่ได้มาจะนาไปพัฒนากฎหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน ข้อค้นพบของการวิจัย คือคำตอบของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ไม่มีอำนาจยื่นเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะหรือบริการสาธารณะต่อศาลปกครองสูงสุด และการยื่นเรื่องคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อศาลรัฐธรรมนูญและการไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำวินิจฉัย และการตรวจสอบความล่าช้าของการพิจารณาคดีของศาล และสภาพบังคับทางกฎหมายของคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน และการไม่มีสานักงานผู้ตรวจการแผ่นดินภาคเพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน และรูปแบบการได้มาของผู้ตรวจการแผ่นดิน ข้อค้นพบนี้นาไปสู่การจัดทำกฎหมายต้นแบบเพื่อการพัฒนาอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินรายการ กฎหมายต้นแบบในการรับรองและคุ้มครองสิทธิการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ(นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต.คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม., 2562) ธัญญาภัส ทองมุสิทธิ์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายคุ้มครองสิทธิการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเพื่อจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบ วิธีวิทยาการวิจัยเป็นการวิจัย เชิงคุณภาพประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น การวิจัยพบว่า บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศถือว่ามีสถานภาพความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเหมือนกับบุคคลที่เป็นเพศหญิงและชาย และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศให้มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันด้วยสิทธิการสมรส ส่วนประเทศไทยมีกฎหมายให้การรับรองสิทธิการสมรสเฉพาะเพศชายและหญิงเท่านั้น จึงขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผลการวิจัยได้คำตอบเป็นกฎหมายต้นแบบในการรับรองและคุ้มครองสิทธิการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยมีโครงสร้างกฎหมาย ประกอบด้วย แบบการจดทะเบียนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส ทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ความเป็นโมฆะของการจดทะเบียนสมรส การรับรองบุตรบุญธรรม มรดก และอายุความ การวิจัยเสนอแนะให้นำกฎหมายต้นแบบเสนอการพิจารณากับฝ่ายนิติบัญญัติเพื่ออนุมัติหลักการ นำไปเผยแพร่ต่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ผ่านองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และนำเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเพื่อทำการผลักดันกฎหมายต้นแบบให้เกิดกลไกในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศที่เป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น และหัวข้อวิจัยต่อไปคือกฎหมายต้นแบบว่าด้วยคำนำหน้านามของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศรายการ กฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการเงินต้นแบบ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) สุพัตรา แผนวิชิตการวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการเงิน สืบเนื่องจากปัญหาความรุนแรงและผลกระทบจากอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการเงิน ปัญหากฎหมายสารบัญัญัติที่เป็นกำหนดประเภทความผิดและมาตรการการบังคับใช้กฎหมายมีจำนวนมากและมีเนื้อหาแตกต่างกันและปัญหาการขาดกฎหมายวิธีบัญญัติเฉพาะที่ใช้บังคับกับคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการเงิน