EGI-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 21
  • รายการ
    การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารที่ระดับการพัฒนาต่างกันเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการคำนวณปริมาณวัสดุสำหรับผนังก่ออิฐฉาบปูน
    (คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพฯ, 2567-06) ไพจิตร ผาวัน; วริสรา เลิศไพฑูรย์พันธ์
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและเปรียบเทียบแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) ที่ระดับการ พัฒนา (Level of Development: LOD) LOD300 และ LOD400 ของอาคารพักอาศัยกึ่งสำนักงาน 7 ชั้น โดยใช้โปรแกรม Autodesk Revit และถอดปริมาณวัสดุของผนังก่ออิฐฉาบปูน เพื่อเปรียบเทียบกับปริมาณวัสดุที่ถอดจากแบบก่อสร้าง 2 มิติ ที่ผู้รับเหมาได้คำนวณไว้ ผลการวิจัยพบว่า ค่าความคลาดเคลื่อนของปริมาณวัสดุจาก BOQ (Bill of Quantities) กับแบบจำลอง LOD300 ของปริมาณงานก่อผนังหนา 100 มม. เท่ากับ 3.98% ปริมาณงานก่อผนังหนา 200 มม. เท่ากับ 11.24% ปริมาณงานฉาบผนัง เท่ากับ 38.85% และที่ระดับ LOD400 ของปริมาณงานก่อผนังหนา 100 มม. เท่ากับ 10.54% ปริมาณงานก่อผนังหนา 200 มม. เท่ากับ 19.18% ปริมาณงานฉาบผนัง เท่ากับ 38.85% และปริมาณงานเสาเอ็น-คานทับหลัง เท่ากับ 0.95% นอกจากนี้ยังพบว่าสมการถดถอยเชิงเส้นที่สร้างขึ้นสามารถทำนายปริมาณวัสดุได้อย่างแม่นยำ โดยมี R2 อยู่ระหว่าง 0.9942 ถึง 1 ซึ่งจะช่วยลดความคลาดเคลื่อนในการคำนวณปริมาณวัสดุได้อย่างมีนัยสำคัญ
  • รายการ
    การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารที่ระดับการพัฒนาต่างกันเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการคำนวณปริมาณวัสดุสำหรับผนังก่ออิฐฉาบปูน
    (คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพฯ, 2567-06) ไพจิตร ผาวัน; วริสรา เลิศไพฑูรย์พันธ์
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและเปรียบเทียบแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) ที่ระดับการ พัฒนา (Level of Development: LOD) LOD300 และ LOD400 ของอาคารพักอาศัยกึ่งสำนักงาน 7 ชั้น โดยใช้โปรแกรม Autodesk Revit และถอดปริมาณวัสดุของผนังก่ออิฐฉาบปูน เพื่อเปรียบเทียบกับปริมาณวัสดุที่ถอดจากแบบก่อสร้าง 2 มิติ ที่ผู้รับเหมาได้คำนวณไว้ ผลการวิจัยพบว่า ค่าความคลาดเคลื่อนของปริมาณวัสดุจาก BOQ (Bill of Quantities) กับแบบจำลอง LOD300 ของปริมาณงานก่อผนังหนา 100 มม. เท่ากับ 3.98% ปริมาณงานก่อผนังหนา 200 มม. เท่ากับ 11.24% ปริมาณงานฉาบผนัง เท่ากับ 38.85% และที่ระดับ LOD400 ของปริมาณงานก่อผนังหนา 100 มม. เท่ากับ 10.54% ปริมาณงานก่อผนังหนา 200 มม. เท่ากับ 19.18% ปริมาณงานฉาบผนัง เท่ากับ 38.85% และปริมาณงานเสาเอ็น-คานทับหลัง เท่ากับ 0.95% นอกจากนี้ยังพบว่าสมการถดถอยเชิงเส้นที่สร้างขึ้นสามารถทำนายปริมาณวัสดุได้อย่างแม่นยำ โดยมี R2 อยู่ระหว่าง 0.9942 ถึง 1 ซึ่งจะช่วยลดความคลาดเคลื่อนในการคำนวณปริมาณวัสดุได้อย่างมีนัยสำคัญ
  • รายการ
    Improving the Production Process of Line Gen for Furniture Production
    (2567-06-01) สุพัฒตรา ศรีญาณลักษณ์* และ กิติกลุ ปุณศรี
    เฟอร์นิเจอร์เป็นส่วนสาคัญในการตกแต่งบ้าน และคอนโดมิเนียม โรงงานกรณีศึกษาเป็นโรงงานผลิต เฟอร์นิเจอร์ ซึ่งกระบวนการผลิต Line Gen มีหน้าที่ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ตัวอย่าง รวมถึงจัดการงานซ่อมต่างๆ และงานที่ถูกส่งกลับมาแก้ไข กระบวนการผลิตจะเน้นความรวดเร็วในการผลิต ปัจจุบันในกระบวนการผลิต Line Gen พบปัญหา มีงานส่งคืน (Return) และงานที่ถูกปฏิเสธ (Reject) ที่ผลิตเกิดความผิดพลาดในการกาหนดวันส่ง มอบ และการจัดเตรียมวัตถุดิบให้พร้อมสาหรับการผลิต รวมถึงไม่มีการประสานงานในแต่ละแผนกที่เกี่ยวข้องที่ ชัดเจน ทาให้งานที่ผลิตเสร็จเกินกาหนดส่งมอบ การผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่งถึงมือลูกค้าเกิดความล่าช้า เพื่อการ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น งานวิจัยนี้ได้จัดทาระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน (Work Instructions: WI) การจัดทาใบตรวจสอบ แผนลาดับการผลิต และวิเคราะห์กาลังการผลิต (Capacity) ผลลัพธ์ที่ได้พบว่า ก่อนปรับปรุงมีการผลิตงาน Return 80 งาน โดยมี 38 งานเกินกาหนดวันโอน คิดเป็น 47.5% และวันเกินกาหนดโอนเฉลี่ย 2.42 วัน หลังปรับปรุง งาน Return มี 68 งาน โดยมี 17 งานเกินกาหนดวันโอน คิดเป็น 25% และวันเกินกาหนดโอนลดลงเฉลี่ยเป็น 1.47 วัน ในกรณีของงาน Reject ก่อนปรับปรุงมีทั้งหมด 96 งาน โดยมี 77 งานเกินกาหนดวันโอน 80.2% และวันเกิน กาหนดโอนเฉลี่ย 4.56 วัน หลังปรับปรุง งาน Reject มี 98 งาน โดยมี 49 งานเกินกาหนดวันโอน คิดเป็น 50% และสามารถลดวันเกินกาหนดโอนลดลงเฉลี่ยเป็น 2.24 วัน
  • รายการ
    การลดของเสียในกระบวนการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ไนลอน
    (2567-06-01) สุพัฒตรา ศรีญาณลักษณ์* และ ปัณณาภัสส์ ปุณณภาศศิภัส
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ไนลอน โดย ประยุกต์ใช้ผังก้างปลา (Fishbone Diagram) วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา แผนผังพาเรโต้ (Pareto) จัดลาดับ ความสาคัญของปัญหา ใช้หลักการ ECRS และการออกแบบการทดลองเชิงแฟกทอเรียล (Factorial Design) ปรับปรุงกระบวนการทางาน จากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าของเสียเกิดขึ้นมากที่สุดที่เลือกมาปรับปรุง คือ เส้นด้ายขาดระหว่างการผลิต (Yarn Break) และของเสียจากการเปลี่ยนตัวกรองพอลิเมอร์ (Pack Change) จาก การใช้ผังก้างปลาและการระดมสมอง พบว่า สาเหตุหลักของ Yarn Break เกิดจาก (1) ท่อ Exhaust Monomer ตัน (2) ลูกกลิ้ง (Godet Roller) สกปรก และ (3) ทางผ่านเส้นด้าย (Yarn Path) ชารุด ทาการปรับปรุง ระเบียบวิธี ปฏิบัติงาน (Work Instruction: WI) จัดทาใบตรวจสอบ และกาหนดช่วงเวลา (Interval) ในการตรวจสอบลูกกลิ้ง ส่วนสาเหตุหลักของ Pack Change เกิดจากไม่มีระเบียบวิธีปฏิบัติงาน และประกอบตัวกรองพอลิเมอร์ไม่ถูกต้อง ตามมาตรฐาน ทาการปรับปรุงโดย ปรับลดเวลาในขั้นตอนการทางาน และจัดทาระเบียบวิธีปฏิบัติงาน และ ออกแบบการทดลองเชิงแฟกทอเรียล เพื่อหารอบที่เหมาะสมในการเปลี่ยนตัวกรองพอลิเมอร์ ผลลัพธ์จากการ ปรับปรุงพบว่าเปอร์เซ็นต์ของเสียลดลงจาก 6.51% เป็น 5.84% สามารถลดต้นทุน 199,800 บาทต่อปี และขยาย ผลวิธีการปรับปรุงไปยังแผนกอื่นได้
  • รายการ
    The Learning of the Computer Mechanical Design Course by Flipped Classroom Technique for Faculty of Engineering Students
    (การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 16, 2567-03-22) เกียรติศักดิ์ สกุลพันธ์1* และธนภัทร พรหมวัฒนภักดี1
    เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) ใน รายวิชาปฎิบัติการออกแบบเครื่องจักรกลด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิชาชีพบังคับในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร บัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ในอดีตพบว่า การเรียนการสอนในเนื้อหารายวิชาจะเป็นการใช้โปรแกรม สำเร็จรูปทางวิศวกรรมในการจำลองชิ้นงานสามมิติ, ชิ้นงานประกอบ, และการทำแบบแปลนสั่งงาน โดยจะ เป็นการบรรรยายหน้าห้องเรียนพร้อมกับเอกสารประกอบการสอนเพื่อให้นักศึกษาทำตามทีละขั้นตอน ทำให้ การเรียนรู้เป็นไปอย่างช้าๆ ส่งผลให้เนื้อหาที่สอนไม่สามารถจบในคาบเรียน ต่อเนื่องถึงบรรยากาศในการ เรียนรู้ และไม่เกิดการกระตุ้นจูงใจนักศึกษาได้อย่างเต็มศักยภาพ จึงได้ทำการปรับปรุงแนวทางการเรียนรู้ใหม่ ตามแนวทางการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ด้วยการปรับปรุงรายละเอียดในเอกสาร ประกอบการสอน และจัดทำสื่อวีดิทัศน์ในแต่ละบทเรียนให้นักศึกษาสามารถศึกษาก่อนและหลังคาบเรียน ผล การศึกษาแสดงให้เห็นว่า นักศึกษาจำนวน 182 คน ใน 3 ภาคการศึกษา โดยทั้งหมดมีผู้สอนและใช้ชิ้นงาน เดียวกันกับอดีตที่ผ่านมา นักศึกษาสามารถทำการจำลองชิ้นงานได้เร็วขึ้นกว่าการสอนแบบเดิม 87 เปอร์เซ็นต์ ด้วยคำสั่งที่ใช้ในการขึ้นรูปที่เท่ากัน ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถทำแบบฝึกหัดท้ายบทได้เสร็จภายในคาบเรียน เนื่องจากนักศึกษาสามารถย้อนดูวิดีโอได้ตลอดเวลา ทำให้บรรยากาศในกิจกรรมการเรียนสนุกและไม่ เคร่งเครียดจนเกินไป อีกทั้งนักศึกษายังสามารถทบทวนการเรียนรู้ด้วยการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดการ เรียนรู้และความเข้าใจที่เร็วขึ้น
  • รายการ
    พฤติกรรมผนังคอนกรีตรับน้ำหนักสำเร็จรูปที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่เสริมกำลังด้วย CFRP
    (สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย, 2566-09) ชัชวาลย์ พูนลาภพานิช; ณัฐวัฒน์ จุฑารัตน์; เลิศภพ จันทร์เที่ยง
    งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินกำลังรับน้ำหนักและการเสริมกำลังผนังคอนกรีตที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่ที่มีช่องเปิดที่มีขนาดเกิน 40 การสร้างสมการทำนายกำลังในผนังคอนกรีตรับน้ำหนักสำเร็จรูปที่เจาะช่องเปิดขนาดใหญ่ และผลศึกษาการเสริมกำลังผนังคอนกรีตรับน้ำหนักสําเร็จรูปที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่ด้วย CFRP
  • รายการ
    การประเมินระยะโก่งตัวของคานคอนกรีตช่วงเดียวเสริมแท่งพอลิเมอร์เสริมเส้นใยแก้ว
    (Sripatum University มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566-06-13) ชัชวาลย์ พูนลาภพานิช; ณัฐวัฒน์ จุฑารัตน์.
    งานวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบค่าประเมินระยะโก่งตัวของคานคอนกรีตเสริมแท่ง GFRP ช่วงเดียวซึ่งคำนวณด้วยค่าโมเมนต์อินเนอร์เชียประสิทธิผลต่างกัน 6 สมการ กับผลตรวจวัดพฤติกรรมโก่งตัวของคานทดสอบขนาดเท่าจริงที่ทดสอบด้วยน้ำหนักบรรทุกแบบ third point loading จำนวน 1 ตัวอย่าง ผลวิจัยพบว่าสมการ Bischoff and Gross (2011) ประเมินค่าการโก่งตัวได้แม่นตรงที่สุด มีค่าความเคลื่อนเฉลี่ย (avg. error) เท่ากับ 3.7% ส่วนสมการ ACI 440.1R-06 และ Yost et al. (2003) ให้แนวโน้มค่าผลคำนวณระยะโก่งตัวที่มากกว่าผลวัดเล็กน้อยเหมาะสำหรับใช้เป็นค่าประเมินกรณีเผื่อความปลอดภัย (conservative)
  • รายการ
    พฤติกรรมผนังคอนกรีตรับน้ำหนักสำเร็จรูปที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่เสริมกำลังด้วย CFRP
    (สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย, 2566-09) ชัชวาลย์ พูนลาภพานิช; ณัฐวัฒน์ จุฑารัตน์; เลิศภพ จันทร์เที่ยง
    งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินกำลังรับน้ำหนักและการเสริมกำลังผนังคอนกรีตที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่เกิน 40 เปอร์เซ็นต์ สร้างสมการทำนายกำลังในผนังคอนกรีตรับน้ำหนักสำเร็จรูปที่เจาะช่องเปิดขนาดใหญ่ และผลศึกษาเสริมกำลังผนังคอนกรีตรับน้ำหนักสําเร็จรูปที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่ด้วย CFRP
  • รายการ
    การศึกษาและเปรียบเทียบระบบพลังงานทดแทนเพื่อควบคุมโรงเลี้ยงไก่ไข่ขนาดเล็กชนิดสมดุลอุณหภูมิในระบบควบคุมแบบย้อนกลับและไม่สมดุลอุณหภูมิ
    (การประชุมวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทยครั้งที่ 15, 2565-10-27) สุขใจ พรมประสานสุข; ปริญญา มากสืบมี; พีรัชชัย กระจ่างสด; สุริพงษ์ ไทยเจริญ; อภิรักษ์ สวัสดิ์กิจ
    เกษตรกรรมในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนจากในอดีต เนื่องจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีมีความรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว การเลี้ยงสัตว์หรือการปลูกพืชในพื้นที่จากัด ซึ่งหมายความถึงการทาเกษตรกรรมในระดับครัวเรือน หรือมีพื้นที่ขนาดเล็ก ที่สามารถวางอุปกรณ์โรงเรือนขนาดเล็กที่ทางผู้วิจัยได้ศึกษาขนาดพื้นที่ 0.64 ตารางเมตร ความสูง 1 เมตร อย่างไรก็ตามโรงเรือนขนาดเล็กที่ทางผู้วิจัยได้สร้างยังคงใช้พลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งชุดสอบใช้กระแสไฟ 4.63 แอมแปร์ต่อวัน รวมใช้ปริมาณกระแสไฟฟ้า 70.40 ยูนิตต่อเดือน ซึ่งหากในระหว่างเดือนนั้น หากเกิดข้อผิดพลาดในการทางานของอุปกรณ์ควบคุมจะส่งผลต่อการทดสอบ ดังนั้นจึงได้มีแนวทางในการหาพลังงานสารองหรือพลังงานทดแทนเพื่อเป็นทางเลือกสาหรับการทดสอบโดยใช้แผ่นโซล่าเซลล์ขนาด 550 วัตต์ 48โวลต์, โซล่าชาร์ทเจอร์ รองรับกระแสไม่เกิน 60 แอมป์, อินเวอร์เตอร์ 24 โวลต์ 1500 วัตต์, แบตเตอรี่จานวน 2 ลูก 12 โวลต์ 100 แอมป์-ชั่วโมง ต่ออนุกรมเพื่อให้ได้แรงดันไฟ 24 โวลต์ 100 แอมป์-ชั่วโมง โดยติดตั้งเป็นแบบผสมโดยใช้สวิทซ์สลับแหล่งจ่ายไฟอัตโนมัติ สาหรับการทดสอบนี้ พบว่า ในช่วงเวลากลางวันสามารถใช้พลังงานจากโซล่าเซลล์และพลังงานส่วนที่เหลือยังไปเก็บไว้ที่แหล่งสารองไฟในช่วงเวลากลางคืน จากการคานวณหากต้องการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้ครอบคลุมการทางานต้องเพิ่มแบตเตอรี่จากเดิม 2 ลูกเป็น 4 ลูก โดยต่อแบบขนาน เพื่อให้ได้แรงดัน 24 โวลต์ 200 แอมป์-ชั่วโมง และความคุ้มทุนจากการเปรียบเทียบค่าไฟฟ้าและราคาที่ได้จากไข่หน้าฟาร์ม สาหรับช่วงเวลาการทดสอบ 8 เดือน พบว่า การควบคุมอุณหภูมิชนิดสมดุลอุณหภูมิ (ภายในห้องทดสอบ) และการควบคุมอุณหภูมิชนิดไม่สมดุลอุณหภูมิ (ภายใต้สภาวะแวดล้อม) ได้มูลค่าไข่ตามค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(ไข่เบอร์ 3) คือ 4,963.20 และ 3,164.04 บาท สาหรับไก่ 4 ตัว ตามลาดับ และจากการคานวณจุดคุ้มทุนสามารถทาโดยการเพิ่มปริมาณไก่ไข่ จากเดิม 1 ตัว เป็น 8 ตัว จะทาให้ได้ทุนคืนภายในระยะเวลา 8 เดือน โดยงานวิจัยนี้ไม่ได้มีเจตนาในการทรมานสัตว์แต่อย่างใด
  • รายการ
    การศึกษาเทคนิคการตรวจจับแบบไม่ทำลายด้วยหัววัดกระแส ไหลวน
    (วารสารงานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์โดยสมาคม ECTI ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (2021), 2564-04-29) สัญญา คูณขาว1 อภิชฎา ทองรักษ์ และ ภรชัย จูอนุวัฒนกุล
    งานวิจัยนี้เพื่อการตรวจสอบความไม่ต่อเนื่องของกระแสไฟฟ้าที่ไหลบนตัวนำอันเนื่องจากรอยร้าวบนแผ่นโลหะ ตัวนำที่ไม่สามารถมองเห็นได้ กระแสเอ็ดดี้เป็นกระแสไฟฟ้าที่ไหลวนเป็นวงกลมที่มีการเหนี่ยวนำในตัวนำด้วย สนามแม่เหล็กสลับ วิธีการดังกล่าวเป็นการทดสอบแบบไม่ทำลายชิ้นงาน โดยอาศัยหลักการของไฟฟ้า สนามแม่เหล็กที่กระทำกับพื้นผิวโลหะ โดยกระแสไหลวนก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กที่อยู่ในทิศทางตรงกันข้ามกับ สนามแม่เหล็กที่มากระทำ ด้วยวิธีการดังกล่าวจึงทำการออกแบบหัววัดที่มีโครงสร้างของขดลวดเหนี่ยวนำเพื่อ กระตุ้นสนามแม่เหล็กและขดลวดตรวจจับ เมื่อกระแสไหลวนได้ไหลผ่านรอยร้าวบนพื้นผิวของแผ่นโลหะจะทำ ให้เกิดการเหนี่ยวนำกับขดลวดเหนี่ยวนำที่ประกอบเข้ากับวงจรแมกซ์เวลบริดจ์ในการตรวจจับสัญญาณการ เปลี่ยนแปลงกระแสสลับที่ส่งผลต่อค่าการอิมพิแดนซ์ของขดลวดเหนี่ยวนำ ยิ่งไปกว่านั้นการตรวจจับสัญญาณ กระแสสลับด้วยการใช้ขดลวดหัววัดสนามแม่เหล็กที่ออกแบบวัดขนานใกล้กับผิวหน้าของแผ่นโลหะที่มีช่องเปิด
  • รายการ
    การวิเคราะห์ทางเลือกในการจัดการพลังงานของระบบส่องสว่างในอาคารที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง กรณีศึกษา รถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน
    (วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย (Thai Industrial Engineering Network Journal), 2563-07-02) จีรพรรณ โพธิ์ปาน และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัฒตรา ศรีญาณลักษณ์
    บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ทางเลือกในการจัดการพลังงานของระบบแสงสว่างสาหรับ อาคารสานักงานปฏิบัติการของโครงการก่อสร้างที่มีระยะเวลานาน กรณีศึกษารถไฟฟ้ามหานครสายสีน้าเงิน ช่วง หัวลาโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ โดยใช้หลักการวิเคราะห์ต้นทุนสัมฤทธิภาพ (Cost Effectiveness Analysis) ในการประเมินมูลค่าตัง้ ต้น และใช้หลักเกณฑ์คานวณผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อประเมินมูลค่า ปัจจุบันสุทธิ ระยะเวลาคืนทุนของโครงการ และอัตราผลตอบแทนของโครงการ เพื่อเปรียบเทียบทางเลือกระหว่าง การเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าเป็นชนิดประหยัดพลังงานหรือหลอด LED กับคงใช้หลอดไฟฟ้าชนิดเดิม หรือหลอดฟลูออ เรสเซนต์ชนิด T8 โดยการวิเคราะห์ครอบคลุมพื้นที่ 3 บริเวณ คือ พื้นที่สานักงาน พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ ภายนอก ผลการวิเคราะห์พบว่าการเปลี่ยนเป็นหลอด LED มีระยะเวลาการคืนทุนที่ 2.47 ปี สา หรับพื้นที่สา นักงาน 1.39 ปี สาหรับพื้นที่ส่วนกลาง และ 1.59 ปี สาหรับพื้นที่ภายนอก โดยที่ผลตอบแทนโครงการเมื่อคิดมูลค่าตาม ระยะเวลา 8 ปี ที่อัตราคิดลดร้อยละ 6.99 คิดเป็นจานวนเงิน 60,822.48 บาท และอัตราผลตอบแทนภายในอยู่ที่ 35.99% ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่ามีความคุ้มค่าต่อการลงทุนระบบแสงสว่างสานักงานปฏิบัติการสา หรับโครงการ ก่อสร้างที่มีระยะเวลานาน ทัง้ ยังเป็นการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลในการอนุรักษ์พลังงานอีกด้วย
  • รายการ
    การทดสอบการตอบสนองต่ออิมพัลส์ฟ้าผ่าของระบบรากสายดิน
    (2563-10-28) สำเริง ฮินท่าไม้
    ในบทความนี้เป็นการทดสอบการตอบสนองต่ออิมพัลส์ฟ้าผ่าของระบบรากสายดินด้วยการพิจารณาชนิดของดิน โดยทำการตรวจวัดค่าความต้านทานดินที่ความถี่กำลังด้วยเครื่องวัดความต้านทานดินโดยวิธีการวัดแบบ 3 จุดและทำการทดสอบการตรวจวัดค่าความต้านทานดินอิมพัลส์ด้วยเครื่องจำลองกระแสฟ้าผ่า จากผลการทดสอบพบว่ากรณีค่าความต้านทานจำเพาะของดิน, น้อยกว่า 100 โอห์ม-เมตร ค่าความต้านทานดินที่ความถี่กำลังจะมีค่าน้อยกว่าค่าความต้านทานดินอิมพัลส์, และสัมประสิทธิ์อิมพัลส์ของดิน, จะมีค่ามากกว่า 1 และเมื่อค่าความต้านทานจำเพาะของดิน มีค่ามากกว่า 100 โอห์ม-เมตร ค่าความต้านทานดินที่ความถี่กำลังจะมีค่ามากกว่าค่าความต้านทานดินอิมพัลส์, และสัมประสิทธิ์อิมพัลส์ของดิน, จะมีค่าน้อยกว่า 1 ดังนั้นในการออกแบบระบบรากสายดิน เมื่อทราบค่าความต้านทานจำเพาะของดิน, ทำให้ได้ค่าสัมประสิทธิ์อิมพัลส์ของดิน, หรือความสัมพันธ์ระหว่างค่าความต้านทานดินที่ความถี่กำลัง, และความต้านทานดินอิมพัลส์, หากค่าความต้านทานใดมีค่ามากกว่าก็นำค่าความต้านทานดินนั้นไปทำการออกแบบระบบรากสายดินต่อไป
  • รายการ
    การควบคุมระดับการถือครองวัตถุดิบสำหรับโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก
    (คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2563-05-01) ชวลิต มณีศรี; จิรัญญา มานะสกุลวงศ์; กิติกุล ปุณศรี
    บริษัทกรณีศึกษา ต้องการควบคุมระดับการถือครองวัตถุดิบ ให้มีวัตถุดิบจัดเก็บในคลังได้อย่างเพียงพอ เพื่อตอบสนองความต้องการการผลิต และการลดต้นทุนของวัตถุดิบได้ เนื่องจากพบว่ามีปัญหาวัตถุดิบล้นคลัง ทำให้การปฏิบัติงานในคลังทำได้ไม่สะดวกและมีต้นทุนการจัดการคลังวัตถุดิบสูง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงดำเนินการศึกษา วิเคราะห์สาเหตุ และเสนอแนวทางในการควบคุมระดับการถือครองวัตถุดิบ โดยประยุกต์ใช้แผ่นตรวจสอบในการเก็บข้อมูลความต้องการ ระดับการถือครอง และราคาของวัตถุดิบทั้งหมด 7 กลุ่ม ใช้แผนผังก้างปลาในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ใช้หลักการเอบีซีในการแบ่งกลุ่มวัตถุดิบและเลือกกลุ่มวัตถุดิบ AC ที่มีมูลค่าและปริมาณสูงที่สุดมาทำการวิจัยนำร่อง ซึ่งประกอบด้วยวัตถุดิบในกลุ่ม 30 ชนิด โดยเสนอแนวทางในการควบคุมระดับการถือครองวัตถุดิบ เริ่มจากการกำหนดค่าสต๊อกเพื่อความปลอดภัย กำหนดระดับการให้บริการที่ 95% และกำหนดนโยบายการสั่งซื้อโดยใช้สารสนเทศเชิงสถิติ ซึ่งทำให้สามารถลดระดับการถือครองของวัตถุดิบเฉลี่ยเหลือ 459 พาเลท/เดือน จากเดิม 484 พาเลท/เดือน หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 5.17 และลดต้นทุนการจัดการคลังวัตถุดิบเหลือ 506,209,469.25 บาท จากเดิม 533,837,765.50 บาท หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 5.18
  • รายการ
    การลดของเสียในกระบวนการผลิตเสื้อสูบของคอมเพรสเซอร์ระบบปรับอากาศรถยนต์
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12-19) ชวลิต มณีศรี; จิราวรรณ จินดาอ่อน; วรพจน์ พันธุ์คง
    กระบวนการผลิตคอมเพรสเซอร์ของระบบปรับอากาศรถยนต์ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วน เช่น คลัช พูเล่ย์ คอลย์คลัชแม่เหล็ก สวอชเพลต กระบอกสูบ และเสื้อสูบ เป็นต้น ซึ่งเสื้อสูบที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญพบปัญหาของเสีย คือ รอยกดทับของเศษชิ้นงานบริเวณขอบ Diameter105 และปัญหา Port NG (Remain) ทำให้ต้องนำชิ้นงานกลับมาทำใหม่หรือทิ้งชิ้นงานนั้นไปหากไม่สามารถแก้ไขได้ คิดเป็นร้อยละ 25 และ 13 ของของเสียรวมตามลำดับ ส่งผลต่อต้นทุน เวลาในการส่งมอบ และความน่าเชื่อถือต่อผลิตภัณฑ์ของบริษัท งานวิจัยนี้ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อลดปริมาณของเสียในการผลิตเสื้อสูบ โดยประยุกต์ใช้ใบตรวจสอบ แผนภูมิ พาเรโต แผนผังสาเหตุและผล ในการวิเคราะห์ปัญหา และใช้เทคนิคการระดมสมองในการหาแนวทางแก้ไข ซึ่งเสนอให้เพิ่มจุดตรวจสอบก่อนกระบวนการล้างชิ้นงานที่เน้นการตรวจสอบในจุดที่เป็นปัญหาหลัก โดยสร้างเอกสารวิธีปฏิบัติงานพร้อมใบตรวจสอบขึ้นใหม่เพื่อให้เกิดมาตรฐานในการทำงาน การทดลองใช้งานพบว่า สามารถลดจำนวนชิ้นงานกลับมาทำใหม่ และจำนวนทิ้งชิ้นงานเหลือ 525 ชิ้น จากเดิม 789 ชิ้น หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 33.5 ลดต้นทุนลง 60,720 บาทต่อเดือน และลดต้นทุนค่าทำงานล่วงเวลาในการนำชิ้นงานกลับมาทำใหม่ได้ 1,600 บาทต่อเดือน รวมลดต้นทุนทั้งหมด 62,320 บาทต่อเดือน
  • รายการ
    การลดข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตตู้แช่อาหารด้วยเทคนิคซิกซ์ ซิกม่า
    (วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 2562-08) ประภาพรรณ เกษราพงศ์; สุพัฒตรา ศรีญาณลักษณ์
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตตู้แช่อาหารโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคซิกซ์ ซิกม่า เพื่อที่จะแก้ไขปรับปรุงกระบวนการ ด้วยขั้นตอนทั้งสิ้น 5 ขั้นตอน คือ การกำหนดปัญหา (Define) การประเมินวิธีการวัดผล (Measure) การวิเคราะห์ปัญหา (Analyze) การดำเนินการปรับปรุง (Improve) และการควบคุม (Control) ควบคู่กับเครื่องมือคุณภาพ และการวิเคราะห์ผลกระทบอันเนื่องมาจากความผิดพลาดในกระบวนการ (Failure mode and effect analyze process: FMEA) สำหรับวิเคราะห์สาเหตุของข้อบกพร่อง อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีความเสี่ยงชี้นำ (RPN) ถูกใช้ในการพิจารณาปรับปรุงเพื่อระบุสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อข้อบกพร่อง โดยบริษัทกรณีศึกษามีการผลิตตู้แช่อาหารเฉลี่ย 161 ตูู้ต่อเดือน ซึ่งพบข้อบกพร่องเฉลี่ยเท่ากับ 93,168 PPM หลังจากดำเนินการปรับปรุง ข้อบกพร่องเฉลี่ยลดลงเหลือ 26,666.67 PPM ซึ่งลดลงจากก่อนปรับปรุงร้อยละ 28.62
  • รายการ
    The Enhanced System Performance of Solar Cells by Diffused Reflection
    (International Symposium on Engineering and Natural Sciences, 2558-08) Apirak Sawatkit; Varunyou Bunyaopas
    This study aims to investigate efficiency enhancement of solar cells by using the mirror reflector to increase the intensity of sunlight. In conducting the study, 2 sets of 40-watt solar cells with the dimension of 470 mm. width x 676 mm. length x 2 mm. thickness, and a mirror reflector which was 235 mm. wide and 676 mm. long were used. The reflector was tilted at 67 degrees horizontal to one solar cell and the cell was faced southward at 14 degrees horizontal, the perfect angle for maximum sun exposure in the area of Pachee district, PhraNakhon Si Ayutthaya province, where the study was carried out. During the experiment, temperature, electricity current, voltage, and sunlight intensity were observed and recorded. The data was collected between April 9-15, 2014, from 6 a.m. to 6 p.m., the period when sunlight intensity reached the maximum point. Generally, the sky was clear and the temperature was high during that period, so it was expected that the efficiency of solar cells would drop. However, the study found that the solar cell with more focused sunlight due to the mirror reflector produced the power at the rate of 17.02% on the day when the temperature of the solar cell was 67.4 degrees Celsius. The data suggested the likeliness of higher efficiency and the average rate of 27.13% increase in energy output of the solar cell, compared to the typical efficiency of solar cells when no mirror reflectors were used.
  • รายการ
    ศักยภาพการใช้เครื่องทำความเย็นแบบดูดกลืนในโรงงานผลิตอาหาร
    (สมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย, 2561-09) อภิรักษ์ สวัสดิ์กิจ
    งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงศักยภาพการใช้ระบบทำน้ำเย็นแบบดูดกลืนในโรงงานแปรรูปอาหารประเภท ไส้กรอก และเบคอน ซึ่งมีกำลังการผลิตเฉลี่ย 5,500 ตันต่อปี ชั่วโมงการทำงาน 7,680 ชั่วโมงต่อปี ขั้นตอนกาศึกษาเริ่มจากการหาศักยภาพทางเทคนิคของระบบการผลิต เพื่อหาแนวทางในการใช้ไอน้ำอย่างเหมาะสมพบว่าการปรับปรุงกระบวนการต้มน้ำจากการใช้ไอน้ำผสมโดยตรง สามารถเปลี่ยนเป็นการคายความร้อนผ่านขดท่อจะทำให้มีคอนเดนเสทเหลือพอที่จะนำไปใช้ในเครื่องทำน้ำเย็นแบบดูดกลืนโดยไม่ส่งผลผลกระทบกับกระบวนการผลิต ผลการประเมินทางเศรษฐศาสตร์พบว่าเมื่อเปลี่ยนเครื่องทำน้ำเย็นเป็นแบบดูดกลืนทดแทนระบบอัดไอเดิมและใช้ความร้อนทิ้งจากกระบวนการผลิตจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ปีละ 8,711,408 บาท มีระยะเวลาคืนทุน 0.43 ปี อัตราผลตอบแทนการลงทุนร้อยละ 38 ซึ่งผลตอบแทนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เป็นเพราะใช้ความร้อนมือสองจากกระบวนการผลิต และโรงงานมีชั่วโมงการทำงาน 24 ชั่วโมงต่อวัน อีกทั้งค่าไฟฟ้าเฉลี่ยสูงถึง 4.11 บาทต่อหน่วย จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมกับโรงงาน และเป็นกรณีศึกษาที่ดีสำหรับนำไปใช้ในโรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นที่มีการใช้พลังงานในลักษณะเดียวกัน ผลของการศึกษานี้จะเหมาะกับโรงงานที่มีความร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและในปัจจุบันภาครัฐฯ มีเงินสนับสนุนในรูปแบบต่าง ๆ เช่นอัตราส่วนลดด้านภาษีอากรสำหรับอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เงินช่วยเหลือให้เปล่าร้อยละ 20 หรือ 30 สำหรับโครงการอนุรักษ์พลังงานที่ผลตอบแทนดีซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการให้ความสนใจในการอนุรักษ์พลังงานมากขึ้น
  • รายการ
    การศึกษาระบบไฟส่องสว่างบนทางวิ่งและทางขับของสนามบินพานิชย์
    (sripatum university, 2561-12-20) นิมิต บุญภิรมย์; กษิเดช ทิพย์อมรวิวัฒน์; ฐาภพ จันทรสุข; ภาดา เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
    บทความนี้เป็นการนำเสนอการศึกษาระบบไฟส่องสว่างทางวิ่งและทางขับของสนามบินพานิชย์ โดยมีรายละเอียดหลักคือระบบแสงสว่างเพื่อให้สัญญาณของทางวิ่งและทางขับของสนามบินพานิชย์ข นาดใหญ่เนื้อหาจะกล่าวถึงระบบแสงสว่าง โคมไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ โดยแบ่งแยกตามฟังก์ชันตามกระบวนการในส่วนต่าง ๆของการขึ้นลงของอากาศยานหรือเครื่องบิน ความเข้มของการส่องสว่างของโคมไฟฟ้าทั้งในระบบทางวิ่งและทางขับ อ้างอิงตามมาตรฐาน ICAO ANNEX 14 VOLUME 1-9 ระบบการควบคุมการจ่ายกำลังไฟฟ้าด้วยแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าแบบกระแสคงที่ วงจรการทำงานของตัวควบคุม และวงจรการควบคุมโคมไฟฟ้าแบบอนุกรม เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานเผยแพร่ต่อผู้ปฏิบัติงานด้านไฟส่องสว่างของทางวิ่งและทางขับของงานไฟฟ้าสนามบิน
  • รายการ
    พฤติกรรมทางความร้อนของผนังเบาเปลือกอาคาร แบบโลหะแผ่นร่วมกับวัสดุเปลี่ยนสถานะ
    (วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2561-12-25) ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล; ชวลิต มณีศรี; ณัฐวัฒน์ จุฑารัตน์
    Heat Transfer behaviour through light building envelope wall can be managed using Phase Change Material (PCM) to enhance latent thermal mass with minimal burden on wall structure. By absorbing heat during the day and releasing it at night, PCM incorporated wall can reduce diurnal maximum inner wall surface temperature and decrease cooling load for air conditioning system. The research numerically investigated thermal behaviour daily cycle of a lightweight metal-sheet building envelope with fiberglass insulator incorporated with varied amount of PCM layer under Bangkok weather condition. Implicit Finite Difference Method using Crank-Nicolson scheme was applied for numerical calculation. The result indicates that the amount of PCM used influents the effectiveness of wall temperature reduction and how latent heat storage is activated per weight of implemented PCM.
  • รายการ
    แนวทางการคำนวณดัชนีพลังงำนจำเพาะเพื่อการชี้วัดสมรรถนะ ด้านพลังงานในกระบวนการขนส่ง
    (วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2560-01) ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล; ชวลิต มณีศรี; ธนภัทร พรหมวัฒนภักดี; วัฒนำ เจนกำร
    Transportation in Thailand is the economic sector that dominate more than one third of the nation energy consumption annually. Typically, the cost of fuel is the largest portion among total transportation operation cost. Accordingly, transportation sector becomes the focus for Thailand to achieve better energy performance according to the Nation’s 20-Years Energy Conservation Plan. Energy management strategy is a key factor to promote energy effciency in transportation process in which energy saving target and performance indicator are needed to be defned and monitor properly. Similar to industrial processes, Specifc Energy Consumption (SEC) can be used as energy performance indicator of transportation operation. Since SEC indicates the amount of energy usage per unit of activity (i.e. product or service), it can help to explain status of energy and operation performance of transportation processes. This can lead to effective problem fnding and evaluation of energy saving potential. This report explains a guideline of how to evaluate SEC for transportation operation. SEC is evaluated based on a proportion between amount of energy used per product of transportation activity which is travel distance (e.g. kilometer) or the value of travel distance – average load carried (e.g. kilometer-ton). According to limitation for most transportation service providers found in Thailand to gather detail data, a practical means to estimate SEC value is recommended.