กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2602
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับเงินทดแทนอันเกิดจากการทำงานของคนต่างด้าวซึ่งเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในประเทศไทย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพรรณ โสภี
คำสำคัญ: ปัญหากฎหมาย
เงินทดแทน
คนต่างด้าว
การทำงาน
วันที่เผยแพร่: 28-สิงหาคม-2554
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจ่ายเงินทดแทนเนื่องจากประสบอันตรายจากการทำงานเป็นลูกจ้างให้คนต่างด้าวซึ่งเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในประเทศไทย บทบัญญัติมาตรา 18 และมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 บัญญัติให้นายจ้างหรือกองทุนเงินทดแทน จ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือสูญหาย เนื่องจากการทำงาน สำนักงานประกันสังคมจึงอยู่ภายใต้เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้โดย มีกองทุนเงินทดแทนที่นายจ้างจ่ายเงินสมทบเป็นหลักประกันในการคุ้มครองเยียวยาลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงานโดยเร็วที่สุดโดยสำนักงานประกันสังคม ทำหน้าที่จ่ายเงินทดแทนให้ลูกจ้างแทนนายจ้างหลังจากลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน โดยมีประเด็นปัญหาว่ากรณีคนต่างด้าว ซึ่งเข้าเมืองโดยไม่ชอบกฎหมายไม่มีใบอนุญาตให้ทำงานเมื่อทำงานเป็นลูกจ้างย่อมได้รับการคุ้มครองสิทธิตามมาตรฐานแรงงานตามกฎหมายของประเทศไทยและกฎหมายระหว่างประเทศด้วยหรือไม่ แต่ปรากฏว่าตามบทบัญญัติกฎหมายเงินทดแทนการคุ้มครองลูกจ้าง และการบังคับใช้กฎหมายที่ปฏิบัติต่อคนต่างด้าวในประเทศไทย ยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานและสิทธิของลูกจ้างที่เป็นคนต่างด้าว โดยเฉพาะเงินทดแทนจากที่ลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงานตามสิทธิที่บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศไทยและกฎหมายระหว่างประเทศ นอกจากนี้ในกฎหมายบางฉบับและประกาศระเบียบของทางราชการบางเรื่อง รวมทั้งนโยบายตลอดจนการดำเนินงานระดับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็ยังพบว่ามีปัญหาการได้สิทธิในเงินทดแทนจากการทำงานของคนต่างด้าวในประเทศไทย ซึ่งเป็นการขัดเจตนารมณ์ของกฎหมายเงินทดแทนอันเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่สอดคล้องกัน จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีการพัฒนาประเทศทางด้านเศรษฐกิจแรงงานจากภาคเกษตรกรรมจึงอพยพเข้าสู่แรงงานภาคอุตสาหกรรมทำให้แรงงานระดับล่างในประเทศไทยขาดแคลน ประกอบกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทยยังไม่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจบางประเทศเกิดปัญหาภายในคนต่างด้าวจึงอพยพเข้ามาเป็นผู้ใช้แรงงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในระยะเริ่มแรก เพื่อความมั่นคงรัฐบาลประเทศไทยมีนโยบายผลักดันให้คนต่างด้าวกลับประเทศ แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหา จึงใช้นโยบายให้การคุ้มครองสิทธิ ด้วยการออกเป็นมติคณะรัฐมนตรีให้กรมการปกครองจัดระเบียบสำรวจและบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรออกเอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลคือแบบรับรองรายการทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษหรือ (ทร.38/1) ส่งผลให้คนต่างด้าวเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายที่มีสถานะของบุคคลได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิอาศัยชั่วคราวและมีสิทธิทำงานชั่วคราวในประเทศไทย อันเป็นการรับรองแรงงานต่างด้าวให้ทำงานในประเทศไทยโดยมีกฎหมายคุ้มครองเมื่อประสบอันตรายจากการทำงานตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 18 กล่าวคือ เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย หรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตาม มาตรา 20 ซึ่งเป็นการรับรองสิทธิของแรงงานอย่างเท่าเทียมกันของแรงงานต่างด้าวและแรงงานสัญชาติไทย โดยไม่คำนึงว่าแรงงานต่างด้าวเหล่านั้นจะเข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เมื่อประสบอันตรายจากการทำงานเป็นลูกจ้างให้นายจ้างจึงควรได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน แต่ปรากฏว่าสำนักงานประกันสังคมไม่จ่ายเงินทดแทนคนต่างด้าว จึงตกเป็นผู้ไร้สิทธิอันเป็นสิทธิพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ซึ่งขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม หลัก-ความเสมอภาคตามบทบัญญัติกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และกฎหมายระหว่างประเทศ และละเมิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันและผูกพันประเทศไทยในฐานะรัฐภาคี คืออนุสัญญาว่าด้วย การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ พ.ศ.2508 อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 19 ว่าด้วยการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันในเรื่องค่าทดแทนคนในชาติบังคับและคนต่างชาติ พ.ศ. 2468 รวมถึงปฏิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและการส่งเสริมสิทธิของแรงงานข้ามชาติ ทั้งนี้ เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหากฎหมายเงินทดแทนอันเกิดจากการทำงานของคนต่างด้าวจึงเสนอแนวทางให้ออกกฎกระทรวงโดยจัดตั้งกองทุนเงินทดแทนสำหรับแรงงานต่างด้าวซึ่งเข้าเมืองไม่ชอบด้วยกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 เพื่อให้สอดคล้องกับ หลักสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม หลักความเสมอภาค ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติและการปฏิบัติเท่าเทียมกันในเรื่องค่าทดแทนอันเป็นหลักการแนวคิดการเยียวยาคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่ประสบอันตรายหรือสูญหายเนื่องจากการทำงานต่อไป
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2602
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1title.pdf37.88 kBAdobe PDFดู/เปิด
2abstract.pdf91.06 kBAdobe PDFดู/เปิด
3acknow.pdf58.12 kBAdobe PDFดู/เปิด
4content.pdf95.42 kBAdobe PDFดู/เปิด
5chap1.pdf101.04 kBAdobe PDFดู/เปิด
6chap2.pdf371.49 kBAdobe PDFดู/เปิด
7chap3.pdf216.58 kBAdobe PDFดู/เปิด
8chap4.pdf156.92 kBAdobe PDFดู/เปิด
9chap5.pdf134.86 kBAdobe PDFดู/เปิด
10bib.pdf123.87 kBAdobe PDFดู/เปิด
11appen.pdf200.09 kBAdobe PDFดู/เปิด
12profile.pdf49.41 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น