กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3413
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและอุปสรรคทางกฏหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อารญา เพียรวัฒนะกุลชัย
คำสำคัญ: ภาพยนตร์
วีดิทัศน์
ผู้กระทำความผิด
ผู้ประกอบการ
วันที่เผยแพร่: 15-มีนาคม-2555
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงมาตรการทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 เกี่ยวกับปัญหาการกำหนดคำนิยามไม่ชัดเจนก่อให้เกิดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจจะทำให้ประชาชนได้รับความเสียหาย เช่นการจับกุมผู้ค้าที่มิได้เป็นลักษณะของผู้ประกอบการอย่างแท้จริง และในส่วนของอำนาจคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดอำนาจในการเข้าตรวจค้นจับกุมผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม ย่อมก่อให้เกิดปัญหาว่าการที่จะเข้าจับกุมหรือค้นนั้นต้องมีพฤติการณ์หรือการกระทำความผิดซึ่งหน้าจึงจะสามารถจับกุมหรือค้นได้ แม้จะมีอำนาจในการขอออกหมายจับหรือหมายค้นต่อศาลก็ตาม แต่ก็อาจจะทำให้พยานหลักฐานถูกซ่อนเร้นทำลาย นอกจากนั้นปัญหาการเปรียบเทียบปรับของคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อนกับการเปรียบเทียบปรับของพนักงานสอบสวน ซึ่งแทนที่จะให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับหรือสอบสวนทำสำนวนฟ้องคดีกลับให้คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์เป็นผู้เปรียบเทียบปรับแล้วส่งสำนวนให้พนักงานสอบสวนเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน และก่อให้เกิดความยุ่งยากและการบังคับใช้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ดังนั้นแม้กฎหมายจะมีมาตรการที่ดีแต่ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการที่จะจำแนกประชาชน ผู้ประกอบการ ผู้ค้ารายย่อย หรือผู้กระทำความผิดโดยตรง นอกจากนั้นปัญหาการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ในการควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี ในการขออนุญาตผลิตก่อให้เกิดปัญหาการไม่ปฏิบัติตามคำขออนุญาตที่กำหนดไว้ หรืออาจผลิตเกินกว่าที่ยื่นคำขอไว้ จากสภาพปัญหาข้างต้น ผู้ศึกษาขอเสนอแนะว่าในส่วนของคำนิยามผู้ประกอบกิจการของพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 4 ควรจำแนกผู้ประกอบกิจการ ผู้ค้ารายย่อย หรือผู้กระทำความผิดโดยตรงแยกจากกันให้ชัดเจนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจในการจับกุมผู้กระทำความผิดโดยตรงปราศจากการใช้ดุลยพินิจจับกุม ผู้ที่มิได้กระทำความผิดแต่เป็นผู้ค้ารายย่อยซึ่งเก็บซีดีจากการใช้แล้วมาขายในรูปแบบของสินค้ามือสอง นอกจากนั้นอำนาจในการตรวจค้นของพนักงานเจ้าหน้าที่ในมาตรา 61 ก็ควรต้องบัญญัติถึงพฤติการณ์พิเศษเป็นเฉพาะกรณีไปแยกต่างหากจากหลักเกณฑ์ว่าด้วยการค้นโดยไม่มีหมายค้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและอำนาจในการเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์วีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ให้เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนแทนคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เพราะพนักงานสอบสวนมีอำนาจในการทำสำนวนสอบสวนและสั่งฟ้องโดยตรงโดยไม่ต้องให้คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์เป็นผู้ปรับแล้วส่งให้พนักงานสอบสวนทำความเห็นในการสอบสวนซึ่งเป็นการทำงานซ้ำซ้อนก่อให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการกำหนดให้การผลิตผลิตภัณฑ์ซีดีเป็นอำนาจรัฐที่จะเข้าไปควบคุมการผลิตได้อย่างเต็มที่
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3413
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1title.pdf65.33 kBAdobe PDFดู/เปิด
2abstract.pdf112.53 kBAdobe PDFดู/เปิด
3acknow.pdf54.5 kBAdobe PDFดู/เปิด
4content.pdf116.27 kBAdobe PDFดู/เปิด
5chap1.pdf144.43 kBAdobe PDFดู/เปิด
6chap2.pdf679.17 kBAdobe PDFดู/เปิด
7chap3.pdf554.54 kBAdobe PDFดู/เปิด
8chap4.pdf291.03 kBAdobe PDFดู/เปิด
9chap5.pdf145.74 kBAdobe PDFดู/เปิด
10bib.pdf103.2 kBAdobe PDFดู/เปิด
11profile.pdf61.2 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น