Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3704
Title: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการเปรียบเทียบปรับของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
Authors: ยศพัทธ์ เวชมุข
Keywords: การเปรียบเทียบปรับ
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่น
พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
Issue Date: 13-July-2555
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ในการเปรียบเทียบปรับของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวระบุให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอานาจจับกุมผู้กระทาความผิดได้ แต่ไม่ได้บัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและเมื่อเปรียบเทียบปรับแล้วเงินค่าปรับไม่ตกเป็นของราชการส่วนท้องถิ่น ปัญหาการใช้อานาจหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ และปัญหาการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการเปรียบเทียบปรับที่ไม่มีหลักเกณฑ์ไม่มีอัตราการเปรียบเทียบปรับเป็นแนวปฏิบัติการทางานที่ชัดเจน นอกจากนั้นบทบัญญัติของกฎหมายยังขัดต่อหลักความเชื่อทางศาสนาโดยเฉพาะคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามและผู้กระทาความผิดหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคาสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น จากการศึกษาพบว่า การที่พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ไม่ได้บัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายอาญาย่อมก่อให้เกิดปัญหา ถ้ามีการเปรียบเทียบปรับแล้วเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ฟ้องคดีก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นอย่างมากที่ไม่มีอานาจให้คุณหรือให้โทษต่อผู้กระทาความผิดได้ นอกจากนั้นในส่วนของค่าปรับไม่ได้เป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบปรับให้แบ่งแก่ผู้แจ้งกึ่งหนึ่งและพนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานจราจร หรือตารวจที่ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร ผู้จับกุมอีกกึ่งหนึ่ง และมาตรา 49 ระบุว่าภายใต้บังคับมาตรา 48 วรรคสามค่าธรรมเนียมและค่าปรับที่เปรียบเทียบตามพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า ถ้าไม่มีผู้แจ้งตามมาตรา 48 เงินส่วนของผู้แจ้งกึ่งหนึ่งจะตกเป็นของราชการส่วนท้องถิ่น แต่ถ้ามีผู้แจ้งและมีผู้จับกุมแล้วราชการส่วนท้องถิ่นจะไม่ได้รับเงินค่าเปรียบเทียบปรับจากปัญหาข้างต้นก่อให้เกิดปัญหาการทางานของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเปรียบเสมือนเป็นเพียงตัวแทนตามกฎหมายเท่านั้นมิได้เป็นเจ้าของเรื่องทั้ง ๆ ที่ถ้าพิจารณาตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วย่อมเป็นอานาจโดยตรงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการที่จะดูแลรักษาความสะอาดภายในพื้นที่ของตน เมื่อกฎหมายได้กาหนดไม่ชัดเจนเช่นนี้ย่อมเป็นแนวทางให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแสวงหาประโยชน์จากการเปรียบเทียบปรับ จากการศึกษาผู้ศึกษาของเสนอแนะว่าเห็นควรแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 กาหนดให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอาเภอ และข้าราชการตารวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตารวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตารวจตรีขึ้นไป หรือผู้มีอานาจในการสอบสวนตามกฎหมายอื่นมีอานาจสอบสวนในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีและควรให้รายได้จากการเปรียบเทียบปรับเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการที่จะนาไปใช้ประโยชน์เพื่อรักษาความสะอาดภายในพื้นที่ของตนและให้กระทรวงมหาดไทยออกระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานสอบสวนให้ชัดเจนเพื่อให้การใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพไม่ให้เจ้าหน้าที่แสวงหาประโยชน์จากการเปรียบเทียบปรับ และออกระเบียบกาหนดอัตราเปรียบเทียบปรับในแต่ละฐานความผิดเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการปฏิบัติงานอันเป็นการป้องกันการใช้ดุลพินิจที่ไม่ถูกต้องของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3704
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf66.04 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf121.73 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf62.99 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf149.27 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf140.22 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf919.74 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf498.71 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf384.67 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf195.93 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf132.81 kBAdobe PDFView/Open
11appen1.pdf171.1 kBAdobe PDFView/Open
12appen2.pdf560.77 kBAdobe PDFView/Open
13appen3.pdf452.06 kBAdobe PDFView/Open
14profile.pdf99.05 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.