Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3928
Title: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการต่อรองคำรับสารภาพในการสอบสวนคดีพิเศษ
Authors: ภัคพล ยุติธรรมดำรง
Keywords: การต่อรองคำรับสารภาพ
การสวบสวน
คดีพิเศษ
Issue Date: 23-August-2555
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของกรมสอบสวนคดี พิเศษในการต่อรองคำรับสารภาพตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 มาตรา 24 ที่ ให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษซึ่งแตกต่างจากที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญาในการที่จะแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิด หรือความบริสุทธิ์ของผู้กระทำความผิดซึ่งอำนาจของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษที่มีความจำเป็น อย่างมากในการค้นหาพยานหลักฐานคืออำนาจในการต่อรองคำรับสารภาพที่พระราชบัญญัติการ สอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 เป็นกฎหมายเฉพาะมิได้บัญญัติไว้เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติยาเสพ ติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 ที่กำหนดว่าถ้าศาลเห็นว่าผู้กระทำความผิดผู้ใดได้ให้ข้อมูลที่ สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือพนักงานสอบสวน ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้น ต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ ผู้ศึกษาวิเคราะห์ว่าเมื่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษทำการสอบสวนคดีเสร็จสิ้นโดยอาศัย อำนาจตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 เพื่อให้อัยการสั่งฟ้องคดีนั้นแล้ว ต่อมา เมื่อถึงขั้นตอนการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานโดยศาลเพื่อพิพากษาคดีศาลต้องนำหลักเกณฑ์ในการ ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญาไม่ว่าจะเป็นการชั่งน้ำหนัก พยานหลักฐานตามมาตรา 226, 226/1-226/5, 227 เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาว่าถ้าเป็น พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่นนั้น ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่ต้องห้ามตามกฎหมาย ซึ่งพยานหลักฐานอันเกิดจากการต่อรองคำรับ สารภาพนั้นก็ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่เป็นการจูงใจหรือให้คำมั่นว่าถ้าผู้กระทำความผิดรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนแล้วตนจะได้รับประโยชน์ในการลดโทษหรือยกเว้นโทษและกรณี ดังกล่าวถือว่าเป็นพยานหลักฐานอันเกิดจากการซัดทอดของผู้กระทำความผิดด้วยกันเองเป็น พยานหลักฐานที่ต้องรับฟังอย่างระมัดระวังมิใช่พยานหลักฐานโดยตรงที่ศาลจะสามารถรับฟังได้จึง อาจจะทำให้คดีมีการยกฟ้องแทนที่จะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการสอบสวนคดี พิเศษ พ.ศ.2547 ที่มุ่งเป้าหมายไปสู่การจับกุมผู้กระทำความผิดรายใหญ่หรือผู้กระทำความผิดต้นตอ ของปัญหาที่จะแก้ไขปัญหาของสังคมได้อย่างยั่งยืนและลดการฆ่าตัดตอนได้เป็นอย่างดี ดังนั้นผู้ศึกษาขอเสนอแนะว่าควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์การต่อรองคำรับสารภาพและ การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานไว้ในประมวลกฎหมายอาญาเป็นการเฉพาะ แม้จะไม่จำเป็นต้อง กำหนดให้เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษก็ตาม เพื่อให้พนักงานสอบสวนท้องที่ก็ สามารถใช้หลักเกณฑ์ของกฎหมายนี้เป็นประโยชน์แก่การแสวงหาพยานหลักฐานไปสู่ผู้กระทำ ความผิดรายใหญ่หรือผู้ใช้ในการกระทำความผิด นอกจากนั้นควรกำหนดด้วยว่าพยานหลักฐานที่ เกิดจากการต่อรองคำรับสารภาพนั้นเป็นพยานหลักฐานโดยตรงที่สามารถรับฟังได้โดยไม่ต้องห้าม เพราะพยานหลักฐานอันเกิดจากการซัดทอดนั้นศาลก็ต้องใช้ดุลยพินิจช่างน้ำหนักพยานหลักฐานอยู่ แล้วจึงไม่กระทบต่อการใช้ดุลยพินิจของศาล
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3928
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf40.71 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf66.09 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf43.77 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf56.17 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf96.67 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf212.33 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf334.9 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf199.71 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf110.12 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf64.35 kBAdobe PDFView/Open
11appen.pdf39.28 kBAdobe PDFView/Open
12profile.pdf49.99 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.