Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3930
Title: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง: ศึกษากรณีบริษัทนายจ้างเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ
Authors: สุธีรา สีมาวงษ์
Keywords: ค่าจ้าง
ลูกจ้าง
การฟื้นฟูกิจการ
Issue Date: 23-August-2555
Abstract: เมื่อลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการย่อมเป็นไปตาม “หลักสภาวะการพักการบังคับ ชำระหนี้” (Automatic stay) ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 ทำให้เจ้าหนี้ ได้รับชำระหนี้ตามลำดับก่อให้เกิดความล่าช้าและเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่ครบถ้วนหรืออาจจะ ไม่ได้รับชำระหนี้เลย นอกจากนั้นในส่วนของการฟื้นฟูกิจการมีขั้นตอนกระบวนการที่ยุ่งยาก ก่อให้เกิดปัญหาการขอรับชำระหนี้โดยเฉพาะในหนี้คดีแรงงานที่จะต้องมีภาระดูแลครอบครัว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 278(3) กำหนดเป็นหนี้บุริมสิทธิลำดับที่สามและ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2551) มาตรา 11 ซึ่งเป็นกฎหมาย เฉพาะกำหนดให้หนี้ที่เกิดจากการไม่ชำระค่าจ้างอยู่ในลำดับเดียวกับหนี้ภาษีอากร จากสภาพปัญหาข้างต้นเห็นว่าควรให้เจ้าหนี้คดีแรงงานได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นคำร้อง ขอรับชำระหนี้และเมื่อลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการควรให้ศาลพิจารณาก่อนว่ามีเหตุอันสมควร ที่จะให้ลูกหนี้ฟื้นฟูกิจการหรือไม่ก่อน เมื่อศาลได้ไต่สวนได้ความจริงแล้วว่าบริษัทลูกหนี้สมควรที่ จะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ จึงจะเข้าสู่สภาวะการพักการบังคับชำระหนี้และควรคุ้มครอง ลูกหนี้ที่สุจริตเท่านั้น ถ้าลูกหนี้ไม่สุจริตหรือเพื่อประวิงเวลาการชำระหนี้ควรมีมาตรการลงโทษ ทางกฎหมายโดยเพิ่มบทบัญญัติให้ศาลสั่งให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายทันที นอกจากนั้นเจ้าหนี้ คดีแรงงานควรได้รับชำระหนี้ก่อนโดยจัดกลุ่มให้เจ้าหนี้คดีแรงงานได้รับชำระหนี้ลำดับแรก ใน ส่วนการที่ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการศาลได้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการต่อมาภายหลังเจา้ หนี้ รายอื่นยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเข้ามาอีกย่อมตกอยู่ในสภาวะการพักการบังคับชำระหนี้เช่นเดิม ก่อให้เกิดปัญหาการชำระหนี้ล่าช้า ดังนั้นถ้าเจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเข้ามาอีกโดยมูลเหตุ เดียวกันให้ศาลยกคำร้องนั้นเสีย แต่ถ้าการที่เจ้าหนี้ยื่นเข้ามาคนละมูลเหตุกันควรมีการกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการในครั้งที่สอง โดยการที่เจ้าหนี้รายอื่นจะยื่นคำร้องขอ ฟื้นฟูกิจเข้ามาหลังจากที่ศาลได้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการไปแล้วในครั้งแรกให้ยื่นภายใน กำหนดระยะเวลาตามสมควร เช่น อาจจะภายใน 1 เดือน นับแต่ที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ในครั้งแรกถ้ายื่นภายหลังกำหนดระยะเวลาดังกล่าวให้เจ้าหนี้หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียหมดสิทธิที่ จะยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3930
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf33.13 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf64.9 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf62.98 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf97.98 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf153.23 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf520.02 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf844.42 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf375.42 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf151.22 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf125.13 kBAdobe PDFView/Open
11profile.pdf62.46 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.