Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5303
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธนวรรณ เกตุชาญสิริen_US
dc.date.accessioned2017-06-25T06:18:46Z-
dc.date.available2017-06-25T06:18:46Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.citationธนวรรณ เกตุชาญสิริ. 2559. "การส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ ศึกษากรณีกฎหมายกำหนดให้นายจ้าง เจ้าของสถานประกอบการ หรือหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าทำงาน." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5303-
dc.descriptionหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2559en_US
dc.description.abstractสารนิพนธ์นี้เป็นการศึกษาประเด็นปัญหาทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ซึ่งได้บัญญัติให้คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐในด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การให้บริการที่มีมาตรฐาน การคุ้มครองแรงงาน มาตรการเพื่อการมีงานทำ โดยมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันบัญญัติให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าทำงานตามลักษณะของงานในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการหรือหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2554 กำหนดจำนวนที่จะต้องรับคนพิการในสัดส่วนผู้ปฏิบัติงานหรือลูกจ้าง 100 คนต่อคนพิการ 1 คน แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า คนพิการที่มีงานทำหรือได้รับการจ้างงานยังมีน้อย กล่าวคือ คนพิการที่มีงานทำมีเพียงร้อยละ 35.2 เท่านั้น โดยร้อยละ 19.4 ของผู้พิการที่มีงานทำส่วนมากจะอยู่ในภาคเกษตรและประมง งานบริการ และขายแรงงาน หากคนพิการที่มีอยู่เป็นจำนวนมากนี้ได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสมได้ทันการณ์แล้วจะช่วยให้พ้นจากการกลายสภาพเป็นผู้พิการถาวรหรือลดความพิการลงไปได้ และการจะให้คนพิการดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมโดยไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่นหรือสังคมนั้น ควรส่งเสริมให้คนพิการมีงานทำอย่างเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป เพื่อที่จะได้เป็นพลังอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไปได้ จากแนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ การให้ความหมายของคำว่า “คนพิการ” ตามกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิคนพิการ ค.ศ. 2006 (Convention on the Rights of Persons with Disabilities-CRPD) บัญญัติขึ้นเพื่อส่งเสริมคุ้มครองและให้ความมั่นใจให้คนพิการได้ใช้สิทธิมนุษยชนอย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน โดยประเทศสมาชิกมีพันธกรณีที่จะพัฒนานโยบาย กฎหมาย และมาตรการทางบริหารเพื่อให้คนพิการในประเทศของตนได้รับสิทธิตามที่อนุสัญญาฯ รับรองไว้ สำหรับกฎหมายของประเทศไทยนั้น พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองคนพิการเพื่อมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุสภาพทางกายหรือสุขภาพ รวมทั้งให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ตลอดจนให้รัฐต้องสงเคราะห์คนพิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้ เช่น การกำหนดให้รับคนพิการเข้าทำงาน และกำหนดทางเลือกหากสถานประกอบการไม่รับคนพิการเข้าทำงานจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือสนับสนุนการประกอบอาชีพอิสระให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ด้วยการให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือให้การช่วยเหลือคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการอย่างสมเหตุสมผล ส่วนหน่วยงานราชการที่ไม่รับคนพิการเข้าทำงานไม่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนฯ แต่ต้องสนับสนุนการประกอบอาชีพอิสระให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการในลักษณะเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า มีสถานประกอบการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการน้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนคนพิการที่สถานประกอบการจะต้องรับคนพิการเข้าทำงาน จากการวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการจ้างงานคนพิการนั้นมีหลายประการ ทั้งในทางข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเจตคติที่มีต่อคนพิการ และข้อกฎหมาย ซึ่งผู้เขียนได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไว้ แนวทางประการหนึ่งคือ การแก้ไขกฎหมายให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ของสังคมในปัจจุบัน ด้วยการสร้างอาวุธในด้านวิชาความรู้และความสามารถโดยจัดตั้งสถาบันฝึกอาชีพเพื่อการมีงานทำของคนพิการในรูปแบบองค์การมหาชน จะเป็นการเสริมสร้างศักยภาพให้คนพิการมีความพร้อมในการทำงานในสถานประกอบการทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชน หรือการดำเนินการประกอบธุรกิจของตนเองได้ ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐและสถานประกอบการเอกชนได้อย่างยั่งยืนและเพิ่มคุณภาพชีวิตคนพิการให้ดียิ่งขึ้นen_US
dc.description.sponsorshipคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.subjectคนพิการen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตคนพิการen_US
dc.subjectเจ้าของสถานประกอบการen_US
dc.subjectหน่วยงานของรัฐen_US
dc.titleการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ ศึกษากรณีกฎหมายกำหนดให้นายจ้าง เจ้าของสถานประกอบการ หรือหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าทำงานen_US
dc.title.alternativeTHE PROMOTING QUALITY OF LIFE OF PERSONS WITH DISABILITIES: THE CASE STUDY OF THE LAW PROVIDE THE EMPLOYERS, THE ENTREPRENEURS OR THE GOVERNMENT GET THE PERSONS WITH DISABILITIES TO WORKen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.