กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5391
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด: ศึกษาเฉพาะกรณี บทสันนิษฐานเด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
ชื่อเรื่องอื่นๆ: PROBLEMS OF ENFORCING DRUG LAWS: A CASE STUDY OF IRREBUTTABLE PRESUMPTION IN ACCORDANCE WITH NARCOTICS ACT B.E. 2522
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิภา สวาสดิ์เพชร
คำสำคัญ: กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
บทสันนิษฐานเด็ดขาด
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: วรรณวิภา สวาสดิ์เพชร. 2560. "ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด: ศึกษาเฉพาะกรณี บทสันนิษฐานเด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_วรรณวิภา_2560
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาการนำ บทสันนิษฐานเด็ดขาดมาใช้ในคดียาเสพติด เนื่องจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้กาหนด “บทสันนิษฐานเด็ดขาด” เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งแยกความผิดฐานครอบครองและครอบครองเพื่อจำหน่ายออกจากกัน บทสันนิษฐานกฎหมายจึงถือเป็นเครื่องมือช่วยให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นเพื่อการตั้งข้อหาผู้กระทำความผิด แต่อย่างไรก็ดี การนำบทสันนิษฐานเด็ดขาดมาใช้ในคดียาเสพติด นั้นก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาด้วยกันหลายประการ จากการศึกษาพบว่า ตามพันธกรณีของอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 ได้กำหนดให้รัฐภาคีต้องบัญญัติให้การครอบครองยาเสพติดเป็นความผิดอาญาและมีโทษจำคุก แต่สำหรับการเสพยาเสพติดให้โทษนั้นรัฐภาคีสามารถกำหนดให้ผู้เสพเข้ารับการดูแล บำบัดรักษา หรือฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพได้ อันเป็นการแบ่งแยกแนวทางในการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาระหว่างผู้ค้ายาเสพติดและผู้เสพยาเสพติดออกจากกันอย่างชัดเจน แต่เนื่องจากการพิสูจน์เจตนาในความผิดฐานครอบครองระหว่างผู้ค้าและผู้เสพนั้นกระทำได้ยาก องค์การสหประชาชาติจึงได้มีคำแนะนำให้รัฐภาคีนำบทสันนิษฐานกฎหมายมาใช้เป็นเครื่องมือในการแบ่งแยกเจตนาระหว่างผู้ค้าและผู้เสพตามเกณฑ์ปริมาณยาเสพติดที่เห็นว่าเหมาะสม โดยมิได้บังคับว่ารัฐภาคีจะต้องนำบทสันนิษฐานเด็ดขาดมาใช้ แต่อย่างไรก็ดี ประเทศไทยได้นาบทสันนิษฐานเด็ดขาดมาใช้เป็นเครื่องมือในการแบ่งแยกความผิดฐานครอบครองและครอบครองเพื่อจำหน่ายออกจากกัน ทำให้ผู้กระทำความผิดไม่สามารถพิสูจน์หรือโต้แย้งเป็นอย่างอื่นได้ จึงเป็นการบัญญัติกฎหมายที่มุ่งเน้นการข่มขู่และปราบปรามมากกว่าเพื่อแบ่งแยกผู้เสพและผู้ค้าตามวัตถุประสงค์ของคำแนะนำขององค์การสหประชาชาติ ในขณะที่รัฐภาคีอื่น ๆ ได้นาบทสันนิษฐานไม่เด็ดขาดมาใช้โดยเปิดโอกาสให้มีการพิสูจน์โต้แย้งได้ หรือไม่มีการกาหนดปริมาณยาเสพติดไว้ในกฎหมายโดยเป็นดุลพินิจของศาล หรือกำหนดความผิดฐานครอบครองและความรุนแรงของบทลงโทษตามปริมาณการครอบครอง ยาเสพติด อีกทั้งยังพบว่าการนำบทสันนิษฐานเด็ดขาดมาใช้ในคดียาเสพติดนั้นก่อให้เกิดปัญหา ที่ตามมาด้วยกันหลายประการ กล่าวคือ การปิดปากมิให้นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์โต้แย้งถึงเจตนาที่แท้จริงของผู้กระทำความผิดนั้นทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการต่อสู้คดี, การกำหนดความผิด จากปริมาณยาเสพติดโดยไม่คำนึงถึงเจตนาผู้กระทำความผิด ส่งผลต่อการลงโทษที่ไม่ได้สัดส่วน กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด และไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์การลงโทษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นเพียงผู้เสพ และตลอดจนเป็นการจำกัดดุลพินิจของศาล ในการพิจารณาและพิพากษาคดี
รายละเอียด: วรรณวิภา สวาสดิ์เพชร. ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด: ศึกษาเฉพาะกรณี บทสันนิษฐานเด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2560.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5391
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น