Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5405
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนุสรา น่วมดำริห์en_US
dc.date.accessioned2017-09-28T08:10:30Z-
dc.date.available2017-09-28T08:10:30Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.citationนุสรา น่วมดำริห์. 2560. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการอุทธรณ์หรือฟ้องคดีของ ข้าราชการพลเรือนต่อคำวินิจฉัยชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5405-
dc.descriptionนุสรา น่วมดำริห์. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการอุทธรณ์หรือฟ้องคดีของ ข้าราชการพลเรือนต่อคำวินิจฉัยชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2560.en_US
dc.description.abstractสารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงการอุทธรณ์หรือฟ้องคดีของข้าราชการพลเรือน ต่อคำวินิจฉัยชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. เพื่อศึกษาแนวทางในการตรวจสอบหรือถ่วงดุลคำวินิจฉัยชี้มูลความผิด ของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นธรรมให้แก่ข้าราชการพลเรือนต่อไป จากการศึกษาพบว่า สิทธิในการอุทธรณ์หรือฟ้องคดีของข้าราชการพลเรือนต่อคำวินิจฉัยชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ยังไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเพียงพอ เนื่องจากบทบัญญัติของพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 กำหนดให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษ โดยมติชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ให้มีสิทธิอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดโทษของผู้บังคับบัญชาเท่านั้น แต่องค์กรผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ไม่อาจเปลี่ยนแปลงฐานความผิดตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ชี้มูลความผิดได้ และศาลปกครองไม่อาจตรวจสอบมติชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการ ป.ป.ท.ในขั้นตอนก่อนที่ผู้บังคับบัญชา ออกคำสั่งลงโทษทางวินัยได้ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีมติคณะรัฐมนตรีที่จำกัดอำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้ 2 กรณี คือ 1. ความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และ 2. ความผิดฐานละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกัน เป็นเวลาเกิน 15 วันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และไม่กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยกำหนดที่ให้ต้องลงโทษไล่ออกสถานเดียวสำหรับความผิดสองฐานนี้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ที่บัญญัติ ให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจดุลพินิจที่จะลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการก็ได้ ตามความร้ายแรง แล้วแต่กรณีen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_นุสรา_2560en_US
dc.subjectการอุทธรณ์หรือฟ้องคดีen_US
dc.subjectข้าราชการพลเรือนen_US
dc.subjectคำวินิจฉัยชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐen_US
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการอุทธรณ์หรือฟ้องคดีของ ข้าราชการพลเรือนต่อคำวินิจฉัยชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐen_US
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS RELATED TO APPEAL OR FILE A LAWSUIT OF CIVIL OFFICER AGAINST THE NATIONAL COUNTER CORRUPTION COMMISSION IN GOVERNMENT SECTOR EXPRESSING PRIMA FACIE CASEen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.