Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6213
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorน้ำฝน โพธิ์ปลอดen_US
dc.date.accessioned2019-05-22T09:28:28Z-
dc.date.accessioned2019-05-22T09:28:32Z-
dc.date.available2019-05-22T09:28:28Z-
dc.date.available2019-05-22T09:28:32Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.citationน้ำฝน โพธิ์ปลอด. 2562. "มาตรการทางกฎหมายอาญาในกรณีการโฆษณาสินค้าที่เกินความจริง." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6213-
dc.descriptionน้ำฝน โพธิ์ปลอด. มาตรการทางกฎหมายอาญาในกรณีการโฆษณาสินค้าที่เกินความจริง. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2562.en_US
dc.description.abstractปัจจุบันระบบเศรษฐกิจและระบบการสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงและขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว การส่งเสริมการขายสินค้าของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการแต่ละรายมีการแข่งขันกันสูง ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมการขายสินค้าหรือบริการอยู่ที่การโฆษณา ยิ่งการโฆษณามีการนำเสนอที่น่าสนใจมากเท่าไรยิ่งส่งผลต่อการตลาดของสินค้าชนิดนั้นมากขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายจะมีกลยุทธ์ทางการโฆษณาที่หลากหลายเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค ปัญหาที่สำคัญในโฆษณาสินค้า คือ การโฆษณาที่เป็นเท็จหรือเกินความเป็นจริงซึ่งถือเป็นการหลอกลวงผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคและระบบเศรษฐกิจของประเทศได้รับความเสียหาย การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาและมาตรการทางกฎหมายอาญาเกี่ยวกับสินค้าที่มีการโฆษณาเกินจริง และการลงโทษปรับในการโฆษณาสินค้าที่เกินจริง เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบันและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จากการศึกษาค้นคว้าพบว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มีการบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณาไว้ แต่ในพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้มีการบัญญัติมาตรการทางกฎหมายอาญาเกี่ยวกับสินค้าที่มีการโฆษณาเกินจริงรวมทั้งการลงโทษปรับในกรณีที่มีการโฆษณาสินค้าที่เกินความเป็นจริง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ที่กำหนดไว้ในมาตรา 49 ยังไม่มีความเหมาะสมต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ทั้งนี้ จากการศึกษาค้นคว้ากฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวข้องได้แก่สหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่น และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พบว่าประเทศเหล่านี้มีมาตรการทางกฎหมายอาญาเกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าที่เกินความจริงที่ครอบคลุมและมีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_น้ำฝน โพธิ์ปลอด_T183603en_US
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณาen_US
dc.subjectการโฆษณาen_US
dc.subjectจรรยาบรรณของการโฆษณาen_US
dc.titleมาตรการทางกฎหมายอาญาในกรณีการโฆษณาสินค้าที่เกินความจริงen_US
dc.title.alternativeLEGAL MEASURES IN CRIMINAL SANCTIONS AGAINST EXAGGERATIVE STATEMENT ADVERTISING OF PRODUCTSen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.