กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6652
ชื่อเรื่อง: แนวทางการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเมืองรอง กรณีศึกษา : จังหวัดนครนายก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A PROPOSED MANAGEMENT FOR TOURISM LOGISTICS OF SECONDARY CITY CASE STUDY IN NAKHON NAYOK PROVINCE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยาพัชร วัฒนแสงประเสริฐ
คำสำคัญ: โลจิสติกส์การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว
นครนายก
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ปิยาพัชร วัฒนแสงประเสริฐ. 2562. "แนวทางการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเมืองรอง กรณีศึกษา : จังหวัดนครนายก." การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิชาจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_ปิยาพัชร วัฒนแสงประเสริฐ_T185859_2561
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเมืองรอง กรณีศึกษาจังหวัดนครนายก เพื่อหาแนวทางการพัฒนาปรับปรุงยกระดับความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวให้ดียิ่งขึ้น และ เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายก รวมทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามทำการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในภาพรวมมีอายุ 25-34 ปี ทางด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวนครนายก 2-3 ครั้ง เพื่อความเพลิดเพลิน/พักผ่อนหย่อน และ มีรูปแบบการเดินทางมาเที่ยวจังหวัดนครนายกในลักษณะวางแผนการเดินทางโดยการปรึกษาเพื่อน/คนรู้จัก มีระยะเวลาการท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายก 2 วัน 1 คืน เลือกใช้พาหนะในการเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดนครนายกโดยใช้ รถยนต์ ได้รับทราบข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต/Social Media เลือกพักรีสอร์ท ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการมาท่องเที่ยวจังหวัดนครนายก มากกว่า 2,000 บาท นักท่องเที่ยวโดยภาพรวมอยู่ในในระดับความพึงพอใจมาก ต่อองค์ประกอบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในภาพรวม โดยสรุป ผลการวิจัยเกี่ยวกับระดับศักยภาพโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเมืองรอง กรณีศึกษาจังหวัดนครนายก สามารถนําไปเป็นแนวทางในการปรับปรุง พัฒนาการจัดการระบบการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายก เพื่อใหเกิดประสิทธิภาพใน การดำเนินงานและมีศักยภาพทางการแข่งขันในตลาดต่อไป เพื่อทำหน้าที่และบทบาทดังกล่าวร่วมกัน
รายละเอียด: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิชาจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6652
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:CLS-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น