กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6981
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการไม่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: PROBLEM OF NON-CONSIDERATION NON-APPEAL DECISION OF THE MERIT SYSTEM PROTECTION COMMISSION (MSPC) WITHIN PERIOD OF TIME UNDER THE LAW ON CIVILE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุธาศิณี บัวเผียน
คำสำคัญ: กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน
คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.)
โทษทางวินัย
คำสั่งลงโทษทางวินัย
การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย
กำหนดระยะเวลาของการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: สุธาศิณี บัวเผียน. 2563. "ปัญหาการไม่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.)." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_ สุธาศิณี บัวเผียน_T186915_2563
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์นี้เป็นงานนิพนธ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหากรณีที่คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (The Merit System Protection Commission) หรือ ก.พ.ค. ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือน แต่ ก.พ.ค. ไม่ได้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในระยะเวลาตามที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2551 (Civil Service Act B.E. 2551 (2008)) กำหนดไว้ ทำให้ข้าราชการผู้อุทธรณ์ไม่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ และไม่ได้รับแจ้งสิทธิการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เป็นเหตุให้นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาในการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 (Act on Establishment of Administrative Court and Administrative Court Procedure B.E. 2542 (1999)) หรือกรณีที่ได้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้น (Administrative Courts of First Instance) ภายในกำหนดระยะเวลาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว หากต่อมาภายหลังได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. ย่อมเป็นเหตุให้ศาลปกครองชั้นต้นที่รับคำฟ้องไว้ไม่อาจมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งที่เกี่ยวกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. เนื่องจากคดีดังกล่าวต้องอยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด และจะต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ (Case List) โดยผู้ฟ้องคดีจะต้องนำคดีไปฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดใหม่อีกครั้งซึ่งปัญหากรณีแรกจะทำให้ข้าราชการที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งลงโทษทางวินัยดังกล่าวเสียสิทธิในการนำคดีมาฟ้องต่อศาล ส่วนในกรณีที่สองนั้น แม้ผู้ฟ้องคดีจะได้นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นภายในระยะเวลาการฟ้องคดีแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. แล้ว ศาลปกครองชั้นต้นดังกล่าวย่อมไม่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาหรือเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. ได้ ทำให้กระบวนพิจารณาของศาลปกครองดำเนินการไปแล้วเกิดความสูญเปล่าด้านเวลาและการดำเนินคดี รวมทั้งไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใดต่อการแก้ไขปัญหาและ การเยียวยาแก่ผู้ฟ้องคดี
รายละเอียด: นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6981
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1) หน้าปก.pdf58.53 kBAdobe PDFดู/เปิด
2) บทคัดย่อ-Th-En.pdf149.92 kBAdobe PDFดู/เปิด
3) กิตติกรรมประกาศ.pdf71.1 kBAdobe PDFดู/เปิด
4) สารบัญ.pdf134.71 kBAdobe PDFดู/เปิด
5) บทที่ 1.pdf274.27 kBAdobe PDFดู/เปิด
6) บทที่ 2.pdf1.14 MBAdobe PDFดู/เปิด
7) บทที่ 3.pdf1.07 MBAdobe PDFดู/เปิด
8) บทที่ 4.pdf559.44 kBAdobe PDFดู/เปิด
9) บทที่ 5.pdf353.56 kBAdobe PDFดู/เปิด
10) บรรณานุกรม.pdf397.72 kBAdobe PDFดู/เปิด
11) ภาคผนวก ก..pdf525.09 kBAdobe PDFดู/เปิด
11) ภาคผนวก.pdf29.69 kBAdobe PDFดู/เปิด
12) ภาคผนวก ข..pdf664.06 kBAdobe PDFดู/เปิด
13) ภาคผนวก ฃ..pdf470.26 kBAdobe PDFดู/เปิด
14) ภาคผนวก ค..pdf214.02 kBAdobe PDFดู/เปิด
15) ภาคผนวก ฅ..pdf811.13 kBAdobe PDFดู/เปิด
16) ภาคผนวก ฆ..pdf136.13 kBAdobe PDFดู/เปิด
17) ภาคผนวก ง..pdf528.99 kBAdobe PDFดู/เปิด
18) ภาคผนวก จ..pdf39.14 kBAdobe PDFดู/เปิด
19) ภาคผนวก ฉ..pdf87.68 kBAdobe PDFดู/เปิด
20) ภาคผนวก ช..pdf930.3 kBAdobe PDFดู/เปิด
21) ประวัติผู้เขียน.pdf54.51 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น