กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7142
ชื่อเรื่อง: ความเป็นผู้เสียหายในคดีสิ่งแวดล้อม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: DAMAGED PERSON IN THE ENVIRONMENTAL CASE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัมภ์รดา แก้วสวี
คำสำคัญ: คดีสิ่งแวดล้อม
ผู้เสียหายโดยตรง
ผู้เสียหายโดยอ้อม
ความรับผิดโดยเคร่งครัด
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: รัมภ์รดา แก้วสวี. 2563. "ความเป็นผู้เสียหายในคดีสิ่งแวดล้อม." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_รัมภ์รดา แก้วสวี_T187219_2563
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิจัยหาคำตอบความเป็นผู้เสียหายในคดีสิ่งแวดล้อม การวิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร การวิเคราะห์แนวคิด หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ข้อค้นพบของงานวิจัย คือ ผู้เสียหายทางสิ่งแวดล้อมมีทั้งที่เป็นผู้เสียหายโดยตรง และผู้เสียหายโดยอ้อม ซึ่งกฎหมายไทยในปัจจุบันยอมรับเฉพาะผู้เสียหายโดยตรง ทั้ง ๆ ที่ความเป็นผู้เสียหายทางสิ่งแวดล้อมนั้น มีได้ทั้งที่เป็นผู้เสียหายโดยตรงที่รับเอามลพิษเข้าสู่ร่างกายจนปรากฏความเสียหายขึ้น แต่ผู้เสียหายโดยอ้อมเป็นผู้ที่สะสมมลพิษเข้าสู่ร่างกาย ความเสียหายจะปรากฏต้องใช้เวลานานเกินกว่า 2 ปี แต่กฎหมายกำหนดไว้ให้เวลาสำหรับความเสียหายที่จะปรากฏภายหลัง ในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ที่สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ จึงเป็นการตัดสิทธิผู้เสียหายโดยอ้อมทางสิ่งแวดล้อม การวิจัยเสนอแนะให้เพิ่มคำนิยามคำว่าผู้เสียหายในคดีสิ่งแวดล้อมไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ให้ชัดเจน โดยกำหนดให้หมายความรวมถึงผู้เสียหายโดยอ้อมด้วย และเพิ่มบทบัญญัติความรับผิดกรณีเป็นผู้เสียหายโดยอ้อมด้วย
รายละเอียด: หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7142
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น