กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/722
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฎหมายในการกำกับดูแลด้านการเงินการคลังของเทศบาล
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จตุพร บุญชอบ
คำสำคัญ: เทศบาล
การเงิน
การคลัง
กฎหมาย
วันที่เผยแพร่: 12-กุมภาพันธ์-2551
บทคัดย่อ: ประเทศไทยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 3 รูปแบบ คือ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่น เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ถือกำเนิดมาตั้งแต่ พ.ศ.2478 เทศบาลได้รับการกระจายอำนาจทางปกครองให้สามารถบริหารกิจการและปกครองตัวเองได้ ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ปัจจุบันเทศบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 1,134 แห่ง เทศบาลทั้งสามรูปแบบกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ภูมิภาคของประเทศไทย ในการบริหารและการปกครองตนเองของเทศบาล ตามกรอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเทศบาลจะบริหารกิจการของตน ภายใต้การกำกับดูแลของราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคตามกฎหมาย ในด้านการบริหารงานการเงินการคลังของเทศบาลในปัจจุบัน พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 กำหนดให้กระทรวงมหาดไทยสามารถออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยเพื่อวางแนวทางการจัดการด้านการเงินการคลัง การงบประมาณ การรักษาทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจัดหาพัสดุและการจ้างเหมาขึ้นไว้ ดังนั้นในการบริหารงานด้านการเงินการคลังของเทศบาลจึงต้องถือปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย 3 ฉบับ คือ 1. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 และ 3) พ.ศ.2543 2. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2535 3. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงินการเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2547 ระเบียบทั้งสามฉบับ มีลักษณะเป็นการควบคุมดูแลเทศบาล โดยกำหนดให้เทศบาลทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการตั้งงบประมาณ วิธีการบริหารพัสดุ การรับเงิน การเบิกจ่าย การเก็บรักษาเงิน ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้วศักยภาพของเทศบาลแต่ละแห่งจะแตกต่างกันเป็นอย่างมากจึงก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ของเทศบาลที่กฎหมายกำหนด ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน กำหนดให้ราชการส่วนกลางมีหน้าที่เพียงการกำกับดูแลราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น ดังนั้น ระเบียบกระทรวงมหาดไทยทั้งสามฉบับ ควรจะได้มีการปรับปรุงให้อิสระแก่เทศบาลในการใช้ดุลยพินิจในการกำหนดแนวทางการบริหารองค์กรของตนเองมากยิ่งขึ้น ให้สอดคล้องกับหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ พ.ศ.2540 และให้สอดคล้องกับขนาดของเทศบาล อันจะทำให้เทศบาลมีความคล่องตัวในการบริหารงานตามภารกิจที่กฎหมายกำหนดได้ดียิ่งขึ้น
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/722
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น