Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7399
Title: การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ศึกษากรณีบุคคลภายนอกที่ทำหน้าที่เป็น ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง
Other Titles: MEDIATION ON DISPUTE: STUDY IN CASE OF THE THIRD PARTY MEDIATOR OF DISPUTE IN THE ADMINISTRATIVE CASE
Authors: วิสสุดา คชกฤษ
Keywords: ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: วิสสุดา คชกฤษ. 2563. "การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ศึกษากรณีบุคคลภายนอกที่ทำหน้าที่เป็น ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_วิสสุดา คชกฤษ_T187350_2563
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการศึกษามาตรการทางกฎหมายในการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทของศาลปกครอง (Mediation of Dispute of the Administrative Court) โดยศึกษากรณี บุคคลภายนอกที่ทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง เมื่อได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 (Act on Establishment of Administrative Court and Administrative Court Procedure B.E. 2542 (1999)) และมีการออกระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง พ.ศ. 2562 (Rule of the General Meeting of Judges of the Supreme Administrative Court on the Mediation of Disputes in Administrative Case B.E. 2562 (2019)) โดยกำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการไกล่เกลี่ยคดีปกครองได้ ในส่วนของผู้ไกล่เกลี่ย (Mediator) นั้น ได้มีการกำ หนดให้ตุลาการศาลปกครอง (Administrative Judge) ที่ไม่ได้รับผิดชอบสำนวนคดีทำหน้าที่เป็น ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แต่การกำหนดตัวผู้ไกล่เกลี่ยดังกล่าวเป็นการเพิ่มภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ ให้แก่ตุลาการศาลปกครอง ซึ่งอาจทำให้การบริหารจัดการคดีของศาลปกครองไม่มีประสิทธิภาพ เท่าที่ควร ดังนั้น จึงเห็นควรกำหนดให้บุคคลภายนอก (Third Person) ทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทในคดีปกครองได้ อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. 2542 และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง พ.ศ. 2562 ยังไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ (Power and Duty)หลักเกณฑ์ (Rule) ขั้นตอน (Process) และคุณสมบัติ (Qualification) ของการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยที่เป็นบุคคลภายนอกII จากการศึกษาพบว่าสาธารณรัฐฝรั่งเศส (French Republic) และสหพันธ์สาธารณรัฐ เยอรมนี (Federal Republic of Germany) ซึ่งเป็นต้นแบบของวิธีพิจารณาคดีปกครองของประเทศ ไทย มีการกำหนดให้มีบุคคลภายนอกทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองได้ โดย สาธารณรัฐฝรั่งเศสกำหนดให้บุคคลภายนอกสามารถเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยการคัดเลือกของ ศาลปกครอง (Mediator of Dispute by the Selection of the Administrative Court) และมีการกำหนดคุณสมบัติในการคัดเลือก (Qualification of Selection) ผู้ไกล่เกลี่ย รวมทั้งยังมีการกำหนด ค่าตอบแทน (Remuneration) โดยบัญญัติไว้เป็นกฎหมายอย่างชัดเจน
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7399
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.