Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7400
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการทบทวนมติชี้มูล ความผิดทางวินัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตในภาครัฐและการอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดโทษทางวินัย
Other Titles: LEGAL PROBLEMS ON THE REVIEW OF RESOLUTION IN DISCIPLINARY OFFENCE OF PUBLIC SECTOR COUNTER CORRUPTION COMMISSION AND APPEAL AGAINST THE DISCRETION IN THE DETERMINATION OF PUNISHMENT DISCIPLINARY OFFENCE
Authors: ดนัย พุทธรักษาไพบูลย์
Keywords: การทบทวนมติชี้มูล
ความผิดทางวินัย
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ/
การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ทางวินัย
การกำหนดโทษทางวินัย
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ดนัย พุทธรักษาไพบูลย์. 2563. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการทบทวนมติชี้มูล ความผิดทางวินัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตในภาครัฐและการอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดโทษทางวินัย." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_ดนัย พุทธรักษาไพบูลย์_T187413_2563
Abstract: สารนิพนธ์นี้เป็นงานนิพนธ์ทางนิติศาสตร์ที่มุ่งศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการทบทวนมติชี้มูลความผิดทางวินัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (National Counter Corruption Commission) เรียกโดยย่อว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (Public Sector Counter Corruption Commission) เรียกโดยย่อว่า คณะกรรมการ ป.ป.ท. ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 จากการศึกษาและวิเคราะห์พบว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 (2017)) ได้กำหนดหน้าที่และอำนาจ (Duty and Power) ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการจัดให้มีมาตรการหรือแนวทางที่จะทำให้ การปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดความรวดเร็ว สุจริต และเที่ยงธรรม จากบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีบทบัญญัติ มาตรา 99 วรรคหนึ่ง กำหนดให้สามารถขอให้พิจารณาทบทวนมติการชี้มูลความผิดทางวินัย(Resolution of Expression to prima facie of Disciplinary Offence) ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ หากมีพยานหลักฐานใหม่อันแสดงได้ว่าไม่ได้มีการกระทำความผิดตามที่กล่าวหา หรือกระทำความผิดในฐานความผิดที่แตกต่างจากที่ถูกกล่าวหา ซึ่งจากบทบัญญัติดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการลดปัญหาการโต้แย้งกรณีที่ว่าจะสามารถตรวจสอบหรือทบทวนการใช้อำนาจวินิจฉัยชี้มูลความผิด ทางวินัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้หรือไม่ และเมื่อศึกษาพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 แล้วจะเห็นได้ว่าไม่ปรากฏหลักเกณฑ์ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีอำนาจในการทบทวนมติในเรื่องการชี้มูลความผิดทางวินัย
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7400
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.