Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/778
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวลีรัตน์, เงินชัย-
dc.date.accessioned2551-02-16T08:02:20Z-
dc.date.available2551-02-16T08:02:20Z-
dc.date.issued2551-02-16T08:02:20Z-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/778-
dc.description.abstractแฟรนไชส์เป็นการร่วมประกอบธุรกิจโดยเจ้าของธุรกิจ คือผู้ให้แฟรนไชส์ยินยอมให้ผู้รับแฟรนไชส์ใช้วิธีการดำเนินธุรกิจ ระบบการตลาดและการกระจายสินค้าในรูปแบบของตนภายใต้เครื่องหมายการค้าเดียวกันที่ได้รับการรับรองแล้วว่าประสบความสำเร็จซึ่งผู้รับแฟรนไชส์ต้องปฏิบัติภายใต้เงื่อนไข รูปแบบและข้อจำกัดตามที่ได้ตกลงกันไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญา โดยหลักกฎหมายสัญญาแฟรนไชส์เกิดขึ้นตามหลักเสรีภาพของการแสดงเจตนาของคู่สัญญา แต่เนื่องจากสัญญาเป็นสัญญาแฟรนไชส์ที่ใช้กันทั่วไปเป็นสัญญาสำเร็จรูปทำให้ผู้รับแฟรนไชส์ถูกเอารัดเอาเปรียบ รวมทั้งมาตรการหรือบทบัญญัติทางกฎหมายเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลแฟรนไชส์ยังไม่มี ในทางปฏิบัติจึงส่งผลให้ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิดและทฤษฎีของธุรกิจ แฟรนไชส์ วิเคราะห์หามาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองการเปิดเผยข้อมูลแฟรนไชส์ รวมทั้งศึกษากฎหมายแม่แบบยูนิดัวร์ กฎหมายแฟรนไชส์ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลแฟรนไชส์และกฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้องกับสัญญาแฟรนไชส์เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อปรับปรุงให้มีการตรากฎหมายแฟรนไชส์ของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่าข้อกำหนดในการเปิดเผยข้อมูลแฟรนไชส์ของกฎหมายแม่แบบยูนิดัวร์และกฎหมายแฟรนไชส์ของประเทศสหรัฐอเมริกานั้นเป็นการเปิดเผยถึงข้อมูลในเบื้องต้นที่จะเข้าทำธุรกิจแฟรนไชส์และข้อมูลในส่วนของการได้รับสิทธิเป็นส่วนใหญ่ เมื่อนำบทบัญญัติกฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายว่าด้วยเรื่องนิติกรรมสัญญา กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและกฎหมายจำกัดการแข่งขันทางการค้ามาปรับใช้ บทบัญญัติของกฎหมายไม่สามารถที่จะครอบคลุมได้ในเรื่องของการแสดงเจตนาของคู่สัญญา การปกปิดข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญ การบังคับใช้ของกฎหมายนิติกรรมสัญญาที่ไม่ตรงกับสาระสำคัญของสัญญา การเก็บรักษาความลับทางการค้าที่เป็นการขัดกับการอนุญาตให้ใช้สิทธิภายใต้ลิขสิทธิ์ในส่วนของการเผยแพร่ต่อสาธารณชนและการกำหนดถึงแหล่งที่มาของสินค้าที่เป็นสิ่งควบคุมถึงมาตรฐานของแฟรนไชส์ แต่ขัดกับกฎหมายการแข่งขันทางการค้า อีกทั้งไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่แท้จริงเพราะสัญญาแฟรนไชส์นั้นเป็นสัญญาที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งนี้เสนอแนะให้มีการร่างกฎหมายแฟรนไชส์ขึ้นมาเพื่อลดช่องว่างของข้อกฎหมายและมีการคุ้มครองการเปิดเผยข้อมูลแฟรนไชส์และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจ แฟรนไชส์ โดยต้องคำนึงถึงข้อมูลที่ต้องการให้มีการเปิดเผยในสัญญาแฟรนไชส์ว่าควรจะครอบคลุมถึงการแสดงเจตนาของคู่สัญญา การปกปิดข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญ การบังคับใช้ของกฎหมายนิติกรรมสัญญา การอนุญาตให้ใช้สิทธิภายใต้ลิขสิทธิ์และการกำหนดถึงแหล่งที่มาของสินค้า อย่างไรก็ตามการมีกฎหมายเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ที่จะเข้ารับแฟรนไชส์ได้ทราบถึงข้อมูลโดยเท่าเทียมกับผู้ให้แฟรนไชส์และทำให้คู่สัญญาทราบสถานะของตัวเองที่แน่นอนเท่านั้น อันจะส่งผลให้ความเสี่ยงในการตัดสินใจเลือกทำแฟรนไชส์ลดลงen_US
dc.language.isootheren_US
dc.subjectแฟรนไชส์en_US
dc.subjectการคุ้มครองen_US
dc.titleมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองการเปิดเผยข้อมูลแฟรนไชส์en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.