กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8493
ชื่อเรื่อง: สิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญา : ศึกษากรณีการออกหมายเรียกผู้ต้องหาอันนำไปสู่เหตุแห่งการออกหมายจับ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE RIGHTS OF THE ALLEGED OFFENDER IN CRIMINAL CASE: CASE STUDY ON ISSULING A SUMMONS FOR THE ALLEGED OFFENDER LEADING TO THE CAUSE OF ISSUE AN ARREST WARRANT
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิลักษณ์ ภัสสัตยางกูร
คำสำคัญ: สิทธิผู้ต้องหา
หมายจับ
หมายเรียก
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: อภิลักษณ์ ภัสสัตยางกูร. 2565. "สิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญา : ศึกษากรณีการออกหมายเรียกผู้ต้องหาอันนำไปสู่เหตุแห่งการออกหมายจับ." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพของบุคคลโดยเฉพาะสิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญาทั้งหลักการในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงเหตุจำเป็นในการออกหมายจับผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน ตลอดถึงการออกหมายเรียกผู้ต้องหาซึ่งในปัจจุบันถูกนำไปใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการร้องขอให้ศาลออกหมายจับในเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนีด้วย ผลการศึกษาพบว่า ในคดีความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่า 3 ปี ขึ้นไป พนักงานสอบสวนจะใช้ดุลพินิจในการออกหมายเรียกก่อน หรือจะร้องขอให้ศาลออกหมายจับผู้ต้องหาทันทีก็ได้ ทำให้ผู้ต้องหาได้รับการปฏิบัติไม่เหมือนกัน ผู้ต้องหาบางรายไม่มีพฤติการณ์หลบหนี หรือพฤติการณ์อันตรายอื่นใด แต่กลับถูกออกหมายจับทันทีโดยมิได้มีการออกหมายเรียกก่อน ทำให้ผู้ต้องหานั้นไม่ได้รับความเป็นธรรม และยังพบปัญหาในเรื่องของวิธีการส่งหมายเรียกผู้ต้องหา ที่เป็นกรณีถกเถียงกันมายาวนานว่าพนักงานสอบสวนสามารถส่งหมายเรียกผู้ต้องหาทางไปรษณีย์ได้หรือไม่ ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะในเรื่องของเหตุแห่งการออกหมายจับ ซึ่งเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 โดยกำหนดให้มีมาตรฐานการออกหมายจับที่สมเหตุสมผลคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนมากขึ้น และเพิ่มเติมวิธีการส่งหมายเรียกผู้ต้องหาให้มีความชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งเพิ่มเติมเหตุในการเพิกถอนหมายจับไว้ในมาตรา 68 ในกรณีที่หมายจับนั้นออกโดยอาศัยเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี ให้สามารถร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนหมายจับโดยแสดงพยานหลักฐานหักล้างข้อสันนิษฐานให้เห็นว่าตนมิได้เจตนาหลบหนี เพื่อให้ศาลเพิกถอนหมายจับนั้นเสีย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8493
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น